ผลของรูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มโดยปฏิรูปการดูแล ผู้ป่วยข้างเตียง (Transforming Care at the Bedside : TCAB) ในผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • นุชจรี ไสยสมบัติ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • นภดล คำเติม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี จ.อุบลราชธานี
  • ปรียาวดี เทพมุสิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • ทัศนีย์ กลิ่นหอม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การป้องกันพลัดตกหกล้ม, การพยาบาล , ปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มโดยปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียงในผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุกรรมสามัญ จำนวน 186 คน และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 60 คน กระบวนการพัฒนามี 3 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาสถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการพยาบาล เพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มโดยปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) นำรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นไปใช้ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ประเมินอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มและความพึงพอใจของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้ม แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย/ญาติ และพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบ ตรวจสอบหาค่าความตรงของเนื้อหา (CVI) เท่ากับ 0.84 0.80 และ 0.82 ตามลำดับ หาค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.85 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ Paired t- test, Independent t- test และ Chi square test วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา: พบว่า รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มโดยปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง ประกอบด้วย 1) ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ 2) การทำงานเป็นทีม 3) การยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และ 4) การเพิ่มคุณค่าในกระบวนการดูแล หลังใช้รูปแบบการพยาบาลอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มลดลง (จากร้อยละ 3.23 เป็นร้อยละ 0.00 p = .081) และการปฏิบัติเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มเพิ่มมากขึ้น (จากร้อยละ 36.56 เป็น 70.97, p = .000) ความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลของผู้ป่วย/ญาติ และพยาบาลวิชาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังนั้น การใช้รูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มโดยปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียงสามารถลดอุบัติการณ์พลัดตกหกล้มในผู้ป่วยอายุรกรรมได้ ส่งผลต่อคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยมากขึ้น

References

World Health Organization (WHO). Fall [Internet]. 2021 [cited 2021 April 26]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/falls/

กรมควบคุมโรค. การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/doe/journal_detail.php?publish=5996

ศศิกานต์ หนูเอก. ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2561.

Fadda J. Quality of healthcare: a review of the impact of the hospital physical environment on improving quality of care. In: Sayigh A, editor. Sustainable building for a cleaner environment. Innovative renewable energy. Cham: Springer; 2019.

Martin SC, Greenhouse PK, Merryman T, Shovel J, Liberi CA, Konzier J. Transforming care at the bedside: implementation and spread model for single-hospital and multihospital systems. J Nurs Adm 2007;37:444–51.

doi: 10.1097/01.NNA.0000285152.79988.f3

Blok AC, Alexander CC, Tschannen D, Milner KA. Quality improvement engagement: barriers and facilitators. Nurs Manage 2022;53:16-24.

นิษฐ์อร วชิรสวัสดิ์, สุชาดา รัชชุกูล. ผลของโปรแกรมการปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียงต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพและอัตราการเกิดความผิดพลาดทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท. วารสารพยาบาลทหารบก 2553;11:30-36.

กาญจนา อรรถาชิต, อำไพ ใจดี, ปัญญา เถื่อนด้วง, นาตยา คำสว่าง. ผลการปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียงต่ออุบัติการณ์การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนจำหน่าย. พุทธชินราชเวชสาร. 2020;37:128-35.

ศันสนีย์ ชัยบุตร, กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์, พิศมัย สุนาโท, สุดใจ แจ่มจำรัส. ปฏิรูปการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง: เพื่อส่งเสริมความร่วมมือของพยาบาลในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา. ชัยภูมิเวชสาร 2565;42:18-30.

Rutherford P, Moen R, Taylor J. TCAB: the 'how' and the 'what'. Am J Nurs 2009;109: 5-17.

Soukup SM. Evidence-based practice model promoting the scholarship of practice. In SM Soukup &CF Beason Eds. Nursing Clinic of North America. Philadelphia: WB Saunders; 2000.

Benner P. Form novice to expert: Excellence and power in clinical nursing practice. Menlo Park, CA: Addison-Wesley; 1984.

Morse JM, Morse R, Tylko S. Development of a scale to identify the fall-prone patient. Canadian Journal on Aging/ La Revue Canadienne Du Vieillissement 1989;8:366-77. doi: 10.1017/S0714980800008576

Ministry of Public HealthDepartment of Medical Services. Appraisal of Guideline for Research & Evaluation II; AGREE II[Internet]. 2013 [cited 2023 Jan 9]. Available from: https://tinyurl.com/z9m5ecbf.

ศศิกานต์ หนูเอก, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, สุรัสวดี เที่ยงวิบูลย์วงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2563; 13:45-58.

Khan A, Spector ND, Baird JD, Ashland M, Starmer AJ, Rosenbluth G, et al. Patient safety after implementation of a coproduced family centered communication programme: multicenter before and after intervention study. BMJ 2018;363:k4764. doi: 10.1136/bmj.k4764

เสาวภาคย์ สุขเกษม. ผลของการใช้แนวทางป้องกันการพลัดตกหกล้ม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566;8:478-87.

ลาวัลย์ เชยชม, ชญานันท์ ทิพย์ละมัย, ศรัณยา ทัดทอง. ผลของการใช้แนวทางปฏิบัติในการป้องกันการเกิดพลัดตกหกล้ม ในหอผู้ป่วยสามัญหญิง 1 โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2562;44:54-61.

John ME, Samson-Akpan PE, Nsemo AD. Transforming nursing care at patients' bedside in low resource settings: a study of four hospitals in southern Nigeria. Nur Primary Care 2021;5:1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-25

How to Cite

1.
ไสยสมบัติ น, คำเติม น, เทพมุสิก ป, กลิ่นหอม ท. ผลของรูปแบบการพยาบาลเพื่อป้องกันพลัดตกหกล้มโดยปฏิรูปการดูแล ผู้ป่วยข้างเตียง (Transforming Care at the Bedside : TCAB) ในผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. J Health Sci BCNSP [อินเทอร์เน็ต]. 25 กุมภาพันธ์ 2025 [อ้างถึง 19 เมษายน 2025];9(1):e276784. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/276784