ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • กฤตพร เมืองพร้อม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
  • ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
  • สมฤดี ชัชเวช โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

คำสำคัญ:

พยาบาลวิชาชีพ, เป้าหมายชีวิต, ความตั้งใจคงอยู่ในงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 60 คน ที่มีอายุงาน 1-3 ปีปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กลุ่มละ 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงาน นาน 6 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ เครื่องมือที่ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามเป้าหมายชีวิต 3) แบบสอบถามความตั้งใจ  คงอยู่ในงาน และ 4) โปรแกรมสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงาน ที่ตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าเฉลี่ยความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (IOC) =.97 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า   ครอนบาค = .97 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติอ้างอิง ได้แก่ Independent t-test และ paired t-test

ผลการวิจัย: หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้เป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมฯ มีประสิทธิผลต่อการสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ ข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนำโปรแกรมนี้ไปสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ ในการช่วยเสริมสร้างให้พยาบาลได้กำหนดและรับรู้เป้าหมายในชีวิตของตนเอง และเดินตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งการทำงานเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในชีวิตของบุคคล ที่จะทำให้บุคคลนั้นๆ รู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง นับได้ว่าเป็นการสร้างพลังให้แก่ตนได้อีกทางหนึ่ง อาจช่วยให้บุคคลนั้นสามารถเผชิญความเครียดอย่างเหมาะสมช่วยสร้างเสริมแรงจูงใจในการทำงานทางอ้อมได้ อาจเป็นวิธีหนึ่งที่อาจช่วยธำรงรักษาบุคลากรพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญไว้ในองค์กร

References

International Council of Nurses. The global nursing shortage and nurse retention [Internet]. 2020 [cited 2020 Dec 1]. Available from: https://www.icn.ch/sites/default/files/inline-files/ICN%20Policy%20Brief_Nurse%20Shortage%20and%20Retention_0.pdf

Failla KR, Ecoff L, Stichler JF, Pelletier LR. A 1-year accredited nurse residency program's effect on intent to leave. J Nurs Adm 2021;51:606-13. doi: 10.1097/NNA.0000000000001082.

สภาการพยาบาล. โครงการขยายระยะเวลาการเพิ่มการผลิตและพัฒนาการจัดการศึกษาสาขาวิชาการพยาบาลศาสตร์ (ปีการศึกษา 2561-2565) เพื่อพัฒนาสุขภาวะของประชาชนและตอบสนองยุทธศาสตร์ประเทศระยะที่ 1 (2561-2565) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 พ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://nurse.sru.ac.th/wp-content/uploads/2019/05/1โครงการพยาบาลรวม.pdf

กัญญาณัฎฐ์ สาธกธรณ์ธันย์, อนุชา กอนพ่วง. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการคงอยู่ของพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561;12(ฉบับพิเศษ):58-74.

คนึงนิตย์ พงษ์สุวรรณ์, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดนครราชสีมา.วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2562;25:123-41.

jobthai. ปัจจัยที่ทำให้คน-gen-z-อยากเปลี่ยนงาน-และปัจจัยที่คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญ[อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 1 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://blog.jobthai.com/hr/ปัจจัยที่ทำให้คน-gen-z-อยากเปลี่ยนงาน-และปัจจัยที่คนกลุ่มนี้ให้ความสำคัญ.

วิภา ตุนาค. การเปลี่ยนงานของพยาบาลวิชาชีพจากกลุ่มภารกิจด้านการพยาบาลสู่กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์นี้ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2564.

ชญานี จุลบล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพ: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2563.

รตา ศรีสอาด. ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย: การศึกษาภาคตัดขวาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

ศักดิ์กฤษณ์ ประสิทธิ์ศุภการ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพรุ่นอายุวาย โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

สิริพิมพ์ ชูปาน, อารีรัตน์ ขำอยู่, ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2560;25:1-10.

Bronk KC, Hill PL, Lapsley DK, Talib TL, Finch H. Purpose, hope, and life satisfaction in three age groups. J Posit Psychol 2009;4:500-10. doi: 10.1080/17439760903271439.

ผลิดา หนุดหละ, กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, พิมพ์พนิต ภาศรี. การรับรู้เป้าหมายชีวิตของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4. วารสารพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2565;42:1-10.

ปรียานันท์ ช่วยบุดดา, ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. ปัจจัยกำหนดพฤติกรรมการลงทุนที่นำไปสู่เป้าหมายชีวิตของประชากร Generation Y ในเขตจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2565.

Park J, Baumeister RF. Meaning in life and adjustment to daily stressors. J Posit Psychol 2017;12:333–41. doi: 10.1080/17439760.2016.1209542.

Rahiminezhad A, Kazemi Z, Farahani HA, Aghamohamadi S. Purpose in life and identity dimensions as predictors of maladaptive psychological aspects: a path analysis study. J Soc Behav Sci 2011;30:1009–13. doi: 10.1016/j.sbspro.2011.10.196.

Kim YH, Lee BJ. Factors influencing the intention to stay among hospital nurses: A systematic review and meta-analysis. J Nurs Manag 2022;30:715-30.

Chen H, Chen J, Zhang J. The impact of psychological empowerment on nurses’ intention to stay: The mediating role of job satisfaction. Int J Nurs Stud 2020;108:103610.

กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. ฐานข้อมูลทรัพยากรบุคลากรพยาบาล. ภูเก็ต: กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต; 2566.

กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. ฐานข้อมูลบุคลากรโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. ภูเก็ต: โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต; 2567.

กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์. การสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตสำหรับวัยรุ่น: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สยาม พริ้นติ้ง; 2566.

Cowden TL, Cummings GG. Nursing theory and concept development: A theoretical model of clinical nurses’ intentions to stay in their current positions. J Adv Nurs 2012;68:1646–57. doi: 10.1111/j.1365-2648.2011.05927.x.

Myint LL, Akkadechanunt T, Sirakamon S, Chitpakdee B. Predictors of intent to stay among nursing faculty members: a cross-sectional study. Pac Rim Int J Nurs Res 2023;27:230–43. doi: 10.60099/prijnr.2023.262009.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์, ญาดา นภาอารักษ์. การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*Power. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ 2562;5:496–507.

กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, จุฑารัตน์ สถิรปัญญา, ณภัควรรต บัวทอง, ศิริมาศ ภูมิไชยา, สรณ สุวรรณเรืองศรี, ผลิดา หนุดหละ, และคณะ. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตแก่เยาวชนที่กระทำผิดและมีประวัติการดื่มสุรา ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. สำนักงบประมาณแผ่นดิน; 2565.

กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, พิมพ์พนิต ภาศรี, บุณโรม สุวรรณพาหุ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมเป้าหมายชีวิตต่อสุขภาวะองค์รวมของวัยรุ่นตอนต้นไทย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

พรพิมล ชัยสา และสายชล จันทร์วิจิตร. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยการส่งเสริมทักษะการสะท้อนคิดต่อพฤติกรรมการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2563;48:224–38.

โชคธำรงค์ จงจอหอ, ยศยาดา สิทธิวงษ์. การใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศ. PULINET Journal 2557;1:91–101.

Laschinger HKS, Finegan J, Wilk P. The impact of structural and psychological empowerment on job strain in nursing work settings. JONE 2001;31:233-42.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-17

How to Cite

1.
เมืองพร้อม ก, เที่ยงจรรยา ป, ชัชเวช ส. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมเป้าหมายชีวิตและความตั้งใจคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ. J Health Sci BCNSP [อินเทอร์เน็ต]. 17 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 3 เมษายน 2025];9(1):e276021. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/276021