การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการนำเสนอตัวแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกเสพยาในผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน

ผู้แต่ง

  • ธีราภา ธานี โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • หทัยรัตน์ ดิษฐอั๊ง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • น้ำผึ้ง คุ้มครอง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ปาลิดา พละศักดิ์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน, พฤติกรรมในการเลิกเสพยา, โปรแกรมการนำเสนอตัวแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการนำเสนอตัวแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกเสพยาในผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา 9 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) ประชุมวางแผนและจัดทำร่างต้นแบบของโปรแกรมเบื้องต้น 3) ทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาของร่างโปรแกรม  4) ทดสอบต้นแบบโปรแกรมเบื้องต้นในผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน จำนวน 10 คน 5) ปรับปรุงเบื้องต้นของโปรแกรมต้นแบบ 6) ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงกึ่งทดลองในผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีนที่มารับบริการแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จำนวน 28 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 14 คน และกลุ่มควบคุม 14 คน 7) พัฒนาโปรแกรมขั้นสุดท้าย 8) พัฒนาวิธีถ่ายทอดและขยายผล เพื่อการนำไปใช้ในระบบบริการ และ 9) ติดตามประเมินผลในภาพรวมหลังการนำไปใช้ในระบบบริการของโรงพยาบาล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด 3) แบบคัดกรองประสบการณ์การใช้สารเสพติดประเภทแอมเฟตามีน (ASSIST-ATS) และ 4) โปรแกรมการนำเสนอตัวแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกเสพยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi-Square test Fisher’s exact test Independent t-test และสถิติ Mann-Whitney U-test

ผลการวิจัย: โปรแกรมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 6 กิจกรรม ครั้งละ 60 - 90 นาที จำนวน 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ผลของโปรแกรมขั้นตอนที่ 6 พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการเลิกเสพยา หลังสิ้นสุดการทดลองทันที และระยะติดตาม 3 เดือน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมความเสี่ยงในการใช้สารแอมเฟตามีนในระยะติดตาม 3 เดือนลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และลดอัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลใน 28 วัน และ 90 วัน โปรแกรมนี้ช่วยให้ผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน มีความตั้งใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกเสพยาได้ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดผู้ป่วยติดสาร  แอมเฟตามีน

References

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บุญศิริ จันศิริมงคล. คู่มือผู้อบรม หลักสูตรการดูแลผู้มีปัญหาสารเสพติดกลุ่มแอมเฟตามีน สำหรับบุคลากรสุขภาพปฐมภูมิ. พิมพ์ครั้งที่ 2. แผนงานวิชาการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน; 2555.

สำเนา นิลบรรพ์, รัตนา ดีปัญญา. กระบวนการเสพติด ผลกระทบต่อสุขภาพและครอบครัวของผู้เสพไอซ์. วารสารวิชาการเสพติด 2556;1:15-31.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัด รักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ncmc.moph.go.th/home/upload/web_download/rptk5fmp8q8sk0soko.pdf

พรทิพย์ โชครุ่ง, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, เวทิส ประทุมศรี. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถแห่งตนในการเลิกเสพยาต่อความตั้งใจในการเลิกเสพยาของผู้เสพติดสารแอมเฟตามีน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2559;32:37-50.

United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). World Drug Report 2021 (United Nations publication, Sales No. E.21.XI.8). Vienna: UNODC; 2021.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สำนักยุทธศาสตร์; 2564.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ 2564 - 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://antidrugnew.moph.go.th/

Baker TB, Schuster CR. Neurobiology of stimulant addiction: A review of behavioral and neurobiological studies. Neuropsychopharmacol. 2021;46:17-27.

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. ผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์; 2566.

De Crescenzo F, Ciabattini M, D’Alò GL, De Giorgi R, Del Giovane C, Cassar C, et al. Comparative efficacy and acceptability of psychosocial interventions for individuals with cocaine and amphetamine addiction: A systematic review and network meta-analysis. PLoS Med 2018;15:1-24.

กิตต์กวี โพธิ์โน, วรท ลำไย, ปราณี ฉันทพจน์, สุพัตรา สุขาวห. ประสิทธิผลของโปรแกรม Co-occurring disorder (COD) Intervention ในการหยุดเสพเมทแอมเฟตามีน. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63:127-40.

ก้องเกียรติ อุเต็น, จารุณี รัศมีสุวิวัฒน์, วิชชุดา ยะสินธุ์, วิมลวรรณ คำลือ, พุทธชาด ศรีสุวรรณ. การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดแบบบูรณาการต่อการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำในผู้ที่เป็นโรคจิตจากแอมเฟตามีน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2565;36:46-70.

Bandura A. Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall; 1986.

Beck J. Cognitive therapy: basics and beyond. New York: Guilford; 1995.

Miller WR, Rollnick S. Motivational interviewing. 2nd Ed. New York: Gilford; 2002.

อมาวสี กลั่นสุวรรณ, นิตยา ตากวิริยะนันท์, ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างแรงจูงใจร่วมกับการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อพฤติกรรมร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงตนเองของผู้ป่วยเสพติดแอมเฟตามีนในสถานบำบัดรักษาแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารกรมการแพทย์ 2561;43:90-5.

ปาลิดา พละศักดิ์. ผลของการเสนอตัวแบบจริงต่อพฤติกรรมการใช้สารแอมเฟตามีนในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สารแอมเฟตามีน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2566.

Kieser M, Wassmer G. On the use of the upper confidence limit for the variance from a pilot sample for sample size determination. Biometrical J 1996;38:941-9.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์ ; 2558.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002). กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2545.

นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์, อรพินทร์ ชูชม, ณัฐสุดา เต้พันธ์. การพัฒนาแบบวัดความตั้งใจในการเลิกใช้ยาเสพติดในผู้ติดยาเสพติดหญิง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33:144-51.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. แบบคัดกรองประสบการณ์ดื่มสุรา สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด (ASSIST): คู่มือเพื่อใช้ในสถานพยาบาลปฐมภูมิ. นนทบุรี: แผนงานพัฒนาวิชาการการดูแลผู้เสพสารเสพติดในชุมชน; 2554.

Smith JA, Doe RB. Cognitive distortions and decision-making processes in amphetamine addiction. J Subst Abuse Treat 2020;58:234-45.

Johnson MR, Williams TH. The role of motivation in long-term substance abuse treatment outcomes. Addict Res Theory 2021;29:412-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-31

How to Cite

1.
ธานี ธ, ดิษฐอั๊ง ห, คุ้มครอง น, พละศักดิ์ ป. การพัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมการนำเสนอตัวแบบ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเลิกเสพยาในผู้ป่วยติดสารแอมเฟตามีน. J Health Sci BCNSP [อินเทอร์เน็ต]. 31 มกราคม 2025 [อ้างถึง 3 เมษายน 2025];9(1):e273959. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnsp/article/view/273959