รูปแบบการติดตามและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้า ด้วยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ , ครอบครัวบำบัด, ผู้มีภาวะซึมเศร้า, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบครอบครัวบำบัด สำหรับติดตามและดูแลผู้มีภาวะซึมเศร้าด้วยเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข และศึกษาประสิทธิผล ของรูปแบบดังกล่าว ในอำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 227 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 14 คน และตัวแทนครอบครัวผู้ป่วยซึมเศร้า 54 คน ใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุข ค่าความเชื่อมั่น .84 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า ค่าความเชื่อมั่น .86 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครสาธารณสุข (ค่าความเชื่อมั่น .73) และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยซึมเศร้า ค่าความเชื่อมั่น .87 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย: พบว่า 1) รูปแบบครอบครัวบำบัดมี 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสนับสนุนด้านอารมณ์ (2) การสนับสนุนด้านการประเมินค่า (3) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และ (4) การสนับสนุนด้านเครื่องมือและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 2) ประสิทธิผลของรูปแบบครอบครัวบำบัดพบว่า หลังการทดลองใช้ อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้เกี่ยวกับการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พฤติกรรมการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความพึงพอใจ ของอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่ในระดับมากและเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของครอบครัวผู้ป่วยซึมเศร้าต่อการติดตามและดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าอยู่ในระดับมาก
References
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidepression.com/www/report/main_report/pdf/ahb-11-21-mix_HDC.pdf
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2566. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidepression.com/www/report/main_report/pdf/ahb-11-22-mix_HDC.pdf
Conley RR, Ascher-Svanum H, Zhu B, Faries DE, & Kinon BJ. The burden of depressive symptoms in the long-term treatment of patients with schizophrenia. Schizophr Res 2007;90:186–97.
อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.
Buchanan J. Social support and schizophrenia: A review of the literature. Arch Psychiatr Nurs 1995;9:68–76.
House JS, & Kahn RL. Chapter 5: Measures and Concepts of Social Support. New York: Academic press; 1985.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนภาคประชาชน. ประเด็นยุทธศาสตร์ข้อ 7 สร้างแรงจูงใจและพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครสาธารณสุขตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข. หลักสูตรการอบรม อสม. เชี่ยวชาญ พ.ศ. 2554 ในโครงการอบรมฟื้นฟู อสม. พ.ศ. 2555. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2555.
กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน รายงาน อสม.อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/osm/tambon.php?id=9207
กรมสุขภาพจิต. ระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช ข้อมูลจากระบบศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชของประเทศไทย กรมสุขภาพจิต จังหวัด: ตรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/report/datacenter/dmh/host.asp?id=92&nyear=2560
Yamane T. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row; 1973.
Ayre C, & Scally J. Critical values for Lawshe’s content validity ratio: Revesting the original methods of calculation. Meas Eval Couns Dev 2014;47:79-86.
Kuder GF, & Richardson MW. The theory of estimation of test reliability. psychometrika 1937;2:151-60. doi: 10.1007/BF02288391
อรพิน พรรคโยภณ. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยผู้สูงอายุ. ฉะเชิงเทรา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา; 2561.
กนกภรณ์ ทองคุ้ม. รูปแบบการสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าโดยบูรณาการทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายและแนวคิดการแทรกแซงทางจิตวิทยาเชิงบวก [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564.
ศิริลักษณ์ ช่วยดี, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์. การศึกษาการปฏิบัติงานด้านจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560;31:41-59.
กรมสุขภาพจิต. บทบาท อสม. เชี่ยวชาญสาขาสุขภาพจิตชุมชน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
ทรงศักดิ์ เทเสนา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในทีมหมอครอบครัว. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2563;23:70-82.
พัชรชิตา บัวอินทร์. ความคิดเห็นของ อสม.ที่มีต่อกระบวนการอบรม พัฒนา อสม.หมอประจำบ้านจังหวัดพะเยาและระดับความมั่นใจในตนเองต่อการปฏิบัติบทบาท อสม. หมอประจำบ้าน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2567] เข้าถึงได้จาก: http://203.209.96.243/ phealth/web/images/บทความวิจัย%20พัชรชิตา.pdf
อธิชญา สุขธรรมรัตน์. ประสบการณ์ทางจิตใจของสมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุนดูแลผู้ป่วยวัยรุ่นโรคซึมเศร้า [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565
เพ็ญพิมล เปียงแก้ว, วรางคณา จันทร์คง. ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ 2566;6:1-14.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง