ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และสอนทักษะการปฏิบัติเพื่อบรรเทาและป้องกัน อาการออฟฟิศซินโดรมของพนักงานในสถานประกอบการ จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
โปรแกรมให้ความรู้ , พนักงาน, ออฟฟิศซินโดรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เพื่อบรรเทาและป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาการปวดคอ บ่าไหล่ และหลังส่วนล่าง ของพนักงานในสถานประกอบการ จังหวัดยโสธร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบ Two group pretest-posttest design กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานในสถานประกอบการจังหวัดยโสธร จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้เพื่อบรรเทาและป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม (โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พิชิตออฟฟิศซินโดรม) กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำปกติ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความรู้เรื่องออฟฟิศซินโดรม 3) แบบวัดความถูกต้องของทักษะการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาและป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม และ 4) แบบวัดระดับความรุนแรงของอาการปวดที่เกิดขึ้น ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา 3 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t-test และ paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา: หลังการทดลอง 3 เดือน กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหว การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนท่าทางขณะทำงาน และการพักสายตาแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีคะแนนปวดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ ไหล่ และหลังช่วงล่างน้อยกว่ากลุ่มควบคุม โดยพบว่าคะแนนปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไหล่แตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าโปรแกรมการให้ความรู้เพื่อบรรเทาและป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางด้านการเคลื่อนไหว และช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณ คอ ไหล่ และหลังช่วงล่างได้
References
สุนีย์ แซ่หว่อง, สิริวัฒน์ ศรีเครือดง, วิชชุดา ฐิติโชติรัตนา. โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพตามแนวพุทธจิตวิทยาเพื่อบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมของบุคลากรสายเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ ปริทรรศน์ 2565;8:17-35.
ทัศนีย์ เทียมถนอม. วิถีชีวิตใหม่กับสื่อสารการตลาดดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 2565;13:297-304.
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 8 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1017120200525043015.pdf
กลุ่มงานพัฒนาองค์กรและขับเคลื่อนกำลังคน. รายงานสรุปผลการดำเนินงานกลุ่มงานพัฒนาองค์กรและขับเคลื่อนกำลังคน. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานพัฒนาองค์กรและขับเคลื่อนกำลังคน; 2565. สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ธนพล ชอบเป็นไทย, ณัทกิจพัฒน์ หอมวิจิตรกุล. ประสิทธิผล ความพึงพอใจและพฤติกรรมการใช้เซรั่มกะหล่ำปลี (OK Cooling Serum) บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ในกลุ่มโรคออฟฟิตซินโดรม. วารสารรัชตภาคย์ 2563;14:35-46.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจแรงงานนอกระบบ ปี พ.ศ. 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/survey_detail/Jb
ธันยวงศ์ เศรษฐ์พิทักษ์. ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานออฟฟิศทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและเป็นโรคคอมพิวเตอร์ซินโดรม [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ. พฤติกรรมการป้องกันและการรับรู้ความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการคอมพิวเตอร์ซินโดรมของบุคลากรสายสนับสนุน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2561;10:69-83.
สำนักงานแรงงานจังหวัดยโสธร. รายงานสถานการณ์แรงงานและดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดยโสธร ไตรมาสที่ 3 ปี 2566 (กรกฎาคม-กันยายน2566) [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 8 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://yasothon.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/91/2023/11/รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานและดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดยโสธร-ไตรมาส-3-ปี-2566-กรกฎาคม-กันยายน-2566-1.pdf
สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานสถานประกอบการปลอดโรคปลอดภัยกายใจเป็นสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พุทธศาสนาแห่งชาติ; 2556.
Page N, Czuba CE. Empowerment: What is it?. J Extension 1999;37:24-32.
วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (เปลี่ยนน้อยนิด พิชิตออฟฟิศซินโดรม) ต่ออาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่าไหล่ และหลังส่วนล่าง ของบุคลากรที่ทำงานในสำนักงาน โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์ เขต 4-5 2565;41:465-77.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39:175-91. doi: 10.3758/bf03193146.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 10 PACKAGES. กรุงเทพ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2562. หน้า 1-3.
Nunnally JC, Bernstein IH. Psychometric theory. 3rd ed. New York: McGraw-Hill; 1994.
นภมณ ยารวง, โสภาพรรณ อินต๊ะเผือก. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในเกษตรกรชาวนา. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2559.
Meis J, Kashima Y. Signage as a tool for behavioral change: Direct and indirect routes to understanding the meaning of a sign. PLoS One. 2017;12:e0182975. doi: 10.1371/journal.pone.0182975.
Rebro SM, Patterson RE, Kristal AR, Cheney CL. The effect of keeping food records on eating patterns. J Am Diet Assoc 1998;98:1163-5. doi:10.1016/S0002-8223(98)00269-7.
Karatrantou K, Gerodimos V. A comprehensive workplace exercise intervention to reduce musculoskeletal pain and improve functional capacity in office workers: A randomized controlled study. Healthcare (Basel) 2024;12:915. doi: 10.3390/healthcare12090915.
Hoe VC, Urquhart DM, Kelsall HL, Sim MR. Ergonomic design and training for preventing work-related musculoskeletal disorders of the upper limb and neck in adults. Cochrane Database Syst Rev 2012;CD008570. doi: 10.1002/14651858.CD008570.pub2.
Wong SW, Parkes A, Crowe P. Ergonomic interventions to reduce upper limb musculoskeletal pain during robotic surgery: a narrative review. J Robot Surg 2024;18:224. doi:10.1007/s11701-024-01992-w.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง