ปัจจัยทำนายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วย ของพยาบาลวิชาชีพ ณ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
คำสำคัญ:
แผลกดทับ , แนวปฏิบัติ , การพยาบาล , ปัจจัยทำนายบทคัดย่อ
แผลกดทับเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาล และเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถป้องกันได้ด้วยการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับ การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 5 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย จำนวน 165 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยทำนายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วย และแบบสอบถามการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย: พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ชั่วโมงการปฏิบัติงาน/ สัปดาห์ (Beta= -0.446, p < 0.001) ความตระหนักในป้องกันการเกิดแผลกดทับ (Beta=0.283, p < 0.001) การรับรู้คุณค่าวิชาชีพ (Beta=0.199, p < 0.001) และภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย (Beta = 0.147, p < 0.05) โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันแผลกดทับได้ร้อยละ 76.8 (R2=0.768, p < 0.05) สรุปได้ว่าชั่วโมงการปฏิบัติงาน/ สัปดาห์ ความตระหนักในป้องกันการเกิดแผลกดทับ การรับรู้คุณค่าวิชาชีพ และภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพ ผู้บริหารสามารถนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการทางการพยาบาล เพื่อทำให้การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพเพิ่มขึ้น
References
ยุวดี เกตุสัมพันธ์, อัญชนา ท้วมเพิ่มผล, นภาพร อภิรดีวลีเศรษฐ์, จุฬาพร ประสังสิต. การดูแลแผลกด ทับ: ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ไทยเอฟเฟคท์ สตูดิโอ; 2552.
Zhang X, Zhu N, Li Z, Xie X, Liu T and Ouyang G. The global burden of decubitus ulcers from 1990 to 2019. Scientific reports 2021;11:21750.
ยุวดี เกื้อกูลวงศ์ชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลสมุทรปราการ. มหิดล R2R e-Journal 2564;8:1-11.
ศิริกัญญา อุสาหพิริยกุล, ศากุล ช่างไม้. การป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะพึ่งพาโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแล. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2021;3:1-15.
Etafal AZ, Gemechu E, Melese B. Nurse’s attitude and perceived barriers to pressure ulcer prevention. BMC Nursing 2018;17:1-8.
Jennifer L, Guzman, Rachel MC & Stephanie V. Development of Guidelines for pressure ulcer prevention. Wounds Middle East 2019;6:12-6.
Worsley PR, Rebolledo D, Webb S, Caggiari S, Bader LD. Monitoring the biomechanical and physiological effects of postural change during leisure chair sitting. J Tissue Viability 2018;27:16-22.
Lyder CH, Preston J, Grady JN, Scinto J, Allman R, Bergstrom N, & Rodeheaver G. Quality of care for hospitalized Medicare patients at risk for pressure ulcers. Arch Intern Med 2001; 161:1549–54. doi: 10.1001/archinte.161.12.1549.
อรนุช มกราภิรมย์, อันธิกา คะระวานิช. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับใน โรงพยาบาลตราด.วารสารกองการพยาบาล 2563;47:139-52.
Getie A, Baylie A, Bante A, Geda B, Mesfin F. Pressure ulcer prevention practices and associated factors among nurses in public hospitals of Harari regional state and Dire Dawa city administration, Eastern Ethiopia. PLoS ONE 2020;15:e0243875. doi: 10.1371/journal.pone.0243875.
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, อรอนงค์ วิชัยคำ, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างชั่วโมงการปฏิบัติงานเกินเวลาของพยาบาลและผลลัพธ์ด้านผู้ป่วย พยาบาลและองค์การในโรงพยาบาลทั่วไป.วารสารพยาบาลสาร 2557;41:58-69.
เรณู รุ่งพันธุ์, วิภา แซ่เซี้ย. ความตระหนัก และการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.
Bass BM. Transformational Leadership: Industrial, Military, and Educational Impact. Mahwah (NJ): Lawrence Erlbaum Associates; 1998.
European Pressure Ulcer Advisory Panel, National Pressure Injury Advisory Panel and Pan Pacific Pressure Injury Alliance. Prevention and Treatment of Pressure Ulcers/Injuries: Quick Reference Guide. In: Emily Haesler, editor. n.p.: EPUAP/NPIAP/PPPIA; 2019.
มณีนุช สุทธสนธิ์, กาญจนา ปัญญาธร. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการป้องกันการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยอาการหนัก โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37:80-89.
สุรีรักษ์ อจลพงศ์. ระเบียบปฏิบัติเรื่องการป้องกันการเกิดแผลกดทับ [อินเตอร์เน็ต] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.crhospital.org/web_nurse/การป้องกันการเกิดแผลกดทับ.pdf.
อัญชลี มูลวงษ์, ชิสาพัชร์ วงษ์จินดา, ธนะวัฒน์ รวมสุก. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรู้ และ พฤติกรรมการป้องกันแผลกดทับ ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงแก่ญาติผู้ดูแลในโรงพยาบาลคลองเขื่อน. วารสารพยาบาลและการศึกษา 2564;14:1-14
Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis. 7th ed. New York: Pearson; 2010.
กัญญาณัฐ สิทธิภา, ฉวี เบาทรวง, นันทพร แสนศิริพันธ์. ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของผู้เป็นมารดาครั้งแรก. พยาบาลสาร 2560;44:30-40.
เพทาย สำรวยผล, สุชาดา รัชชูกุล. ผลของการใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต่อความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วยและการรับรู้คุณค่าวิชาชีพของพยาบาลประจำการ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2558;27:95-109.
สุชีรา ภัทรายุตวรรตน์. คู่มือการวัดทางจิตวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เมดิคัล มีเดีย; 2551.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น; 2556.
บุญธรรม จิตต์อนันต์. การวิจัยทางสังคมศาสตร์ (การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น; 2540.
วรกัญญ์ เถาหมอ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลทั่วไป. พุทธชินราชเวชสาร 2563;37:49-59.
ฉัตรวลัย ใจอารีย์, สุภาพ ลิ้มเจริญ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39:684-96.
Basurto Hoyuelos S, Fraile CL, Weis D, Urien EdeL, Elsden CA, and Schank MJ. Nursing professional values: validation of a scale in a Spanish context. Nurse Educ Today 2010;30:107–12. doi: 10.1016/j.nedt.2009.05.010
ปรีย์กมล รัชนกุล. พยาบาลเวชปฏิบัติ: จากตำนานสู่ก้าวย่างที่ท้าทายของวิชาชีพการพยาบาล. วารสารสภาการพยาบาล 2551;23:5-9.
นุชศรินทร์ แพงมา, พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย. ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการบริหารความเสี่ยงในโรงพยาบาลไปสู่การปฏิบัติของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 7 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37:16.
Cho I, Park HA, & Chung E. Exploring practice variation in preventive pressure-ulcer care using data from a clinical data repository. Int J Med Inform 2011;80:47-55.
ปนัสยา หนูริง. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพยาบาลโรงพยาบาลวิภาวดี: รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง