ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการค้นหาและรายงานความเสี่ยง ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของบันดูรา , การค้นหาความเสี่ยง , การบริหารความเสี่ยง , ความปลอดภัยในผู้ป่วยและบุคลากรบทคัดย่อ
การศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการค้นหาและรายงานความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลัง เพื่อศึกษาระดับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการค้นหาและรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง สมรรถนะการรายงานความเสี่ยง และความพึงพอใจต่อโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จำนวน 32 คน ระยะเวลาศึกษา 8 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนตามแนวคิดของบันดูรา แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการค้นหาและรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง สมรรถนะการรายงานความเสี่ยง และความพึงพอใจต่อโปรแกรม ค่า CVI เท่ากับ 0.99 ค่าความเที่ยงแบบประเมินสมรรถนะการรายงานความเสี่ยงองค์ประกอบด้านความรู้มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.8 องค์ประกอบด้านทัศนคติและการปฏิบัติมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการค้นหาและรายงานความเสี่ยง แบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรม เท่ากับ 0.96 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Pair t- test
ผลการวิจัย: พบว่า พยาบาลวิชาชีพรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการค้นหาและรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (ก่อน Mean = 3.16, S.D.= 0.56) (หลัง Mean = 3.68, S.D. = 0.36, p<0.001) มีสมรรถนะการรายงานความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (ก่อน Mean = 3.14, S.D. = 0.39) (หลัง Mean =3.70, S.D.= 0.28, p<0.001) มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมในระดับมาก (Mean = 3.45, S.D.=0.21) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนด้านการค้นหาและรายงานความเสี่ยงตามแนวคิดของบันดูราสามารถส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและสมรรถนะการรายงานความเสี่ยงของพยาบาลวิชาชีพได้ ซึ่งจะนำไปสู่การรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงที่ครอบคลุม เป็นประโยชน์ในการหาแนวทางป้องกันการเกิดความเสี่ยงซ้ำ ลดความรุนแรงจากผลกระทบ ส่งผลให้เกิดความปลอดภัยทั้งต่อผู้ป่วย บุคลากร และองค์กร
References
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยประเทศไทย พ.ศ. 2561 Patient safety goals: SIMPLE Thailand 2018. นนทบุรี: หนังสือดีวัน; 2561.
สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. ข่าวประชาสัมพันธ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/news/3640.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). ยุทธศาสตร์ความปลอดภัยของ ผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข Patient and Personnel Safety (2P Safety) ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2561-2564). นนทบุรี: หนังสือดีวัน; 2560.
เกวลิน ชื่นสุข, พงษ์พจน์ ธีรานันตชัย, ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์, ภูวเดช สุระโคตร, ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร, ธานินทร์ โตจีน, และคณะ. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) พ.ศ. 2561-2565. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
Southwick FS, Cranley NM, & Hallisy JA. A patient-initiated voluntary online survey of adverse medical events: the perspective of 696 injured patients and families. BMJ Quality & Safety 2015;24:620-29.
รุ้งเพชร อรุณรัชฎารมย์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะการทำงาน บรรยากาศความเชื่อใจในองค์กรกับการบริหารความเสี่ยงของพยาบาลห้องคลอดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขต 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริส-เตียน: 2555.
ศันสนีย์ รุ่งรัตน์ธวัชชัย. การบริหารความเสี่ยงสำหรับพยาบาล. กรงเทพฯ: วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2554.
วีณา จีระแพทย์, เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย: แนวคิดกระบวนการและแนวปฏิบัติความปลอดภัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์. 2550.
Wilson J, & Tingle J. Clinical risk modification: a route to clinical governance. Oxford: Butterworth-Heinemann; 1999.
วัชรีย์ แสงมณี, ยุพิณ วัฒนสิทธิ์, น้ำทิพย์ แก้ววิชิต. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลต่อการรายงานอุบัติการณ์ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2561:94-102.
เชาวรัตน์ ศรีวสุธา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความเสี่ยงด้านคลินิกของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนนทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน: 2558.
พจนา รุ่งรัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติเรื่องการบริหารความเสี่ยงกับการปฏิบัติตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงของบุคลากรทางการพยาบาล โรงพยาบาลบ้านค่าย จังหวัดระยอง. จันทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี; 2557.
Waters NF, Hall WA, Brown H, Espezel H, & Palmer L. Perceptions of Canadian labour and delivery nurses about incident reporting: A qualitative descriptive focus group study. Int J Nurs Stud 2012;49:811-21.
พัฒธิดา สุภีสุทธิ์. การบริหารความเสี่ยงในองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลชุมชนที่เลือกสรร [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา; 2548.
Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freema; 1997.
เมธิณี เกตวาธิมาตร, นัยนา ภูลม, ปัทมา ผาติภัทรกุล. ผลขอโปรแกรมการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี. สระบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสระบุรี. 2559.
ชุติมา ไทยยิ้ม, เนตรชนก ศรีทุมมา, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้านความปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของหัวหน้าเวรหอผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2564;29:22-33.
วรรณดี ภู่ภิรมย์, อุราภรณ์ เชยกาญจน์, นิสากร จันทวี. ผลของการใช้กลวิธีหลากหลายต่อการปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพในการเก็บตัวอย่างเลือดเพาะเชื้อ และอัตราการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพในเลือดที่ส่งตรวจเพาะเชื้อ. วารสารวิชาการทางคลินิกวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;38:1-12.
นิกร จันภิลม. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561;12:24-34.
Cohen J. Statistical power for the behavioral sciences. 2nd ed. New York: Academic Press; 1977.
Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.
แพรวพรรณ ปราโมช ณ อยุธยา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะในตนเองของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2554;32:141-56.
Mcclelland DC. Testing for competence rather than for “intelligence”. American Psychologist 1993;28:1-14.
ชลลดา ทานาลาด, วิพร เสนารักษ์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2557;32:123-30.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง