การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยโทรเวชกรรม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน , โทรเวชกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยเทคโนโลยีโทรเวชกรรม (Telemedicine) ภายใต้กรอบแนวคิดระบบสุขภาพขององค์การอนามัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) บุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 30 คน 2) ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีโทรเวชกรรมระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566-เมษายน 2567 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วย แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบวัดประสิทธิผลของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติทดสอบ Paired sample t-test
ผลการศึกษา: พบว่าด้านบุคลากรสุขภาพหลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย มีระดับบริหารจัดการ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นเรื่องระบบการเงินอยู่ในระดับปานกลาง ด้านผู้ป่วยเบาหวานมีค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (FBS) และน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p <.001 ภาพรวมระดับการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยโทรเวชกรรม มีการรับรู้ประโยชน์อยู่ในระดับดีมาก (Mean = 4.60, S.D. = 0.58) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ความง่ายในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยโทรเวชกรรมอยู่ในระดับดี (Mean = 4.05, S.D. = 0.54) ผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 4.07, S.D. = 0.69) หลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น บุคลากรสุขภาพได้รับการสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยระบบเทคโนโลยีโทรเวชกรรมครอบคลุมกรอบแนวคิดระบบสุขภาพ อยู่ในระดับดี ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวก ประสิทธิผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ต้นทุนในการบริการลดลง ลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ยา โดยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเพิ่มประสิทธิผลในการจัดการโรคเบาหวานทำให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) [อินเตอร์เน็ต].2566 [สืบค้นเมื่อ 20 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf
Ryu S. Telemedicine: Opportunities and Developments in Member States: Report on the Second Global Survey on eHealth 2009 (Global Observatory for eHealth Series, Volume 2). Healthc Inform Res 2012;18:153–5. doi: 10.4258/hir.2012.18.2.153.
ธนพร ทองจูด. การศึกษาปัจจัยของการตรวจรักษาด้วยโทรเวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจเลือกใช้บรริการโทรเวชกรรมของผู้รับบริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี [สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต] 2564. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
วีระชณ ทวีศักดิ์. การพัฒนารูปแบบการรับและส่งต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยใช้เครือข่ายสุขภาพร่วมกับระบบการแพทย์ทางไกล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2566;9:148-59.
วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวังควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประเทศไทย:นโยบายสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2555.
World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: WHO Document Production Services; 2010.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ(HDC)สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี[อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 21 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdc.moph.go.th/ubn/public/standard-report-detail.
บุษยมาส บุศยารัศมี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารการแพทย์เขต 4-5 2566;42:63-77.
Davis RM, Hitch AD, Salaam MM, Herman WH, Zimmer-Galler E, Mayer-Davis EJ. Tele health improves diabetes self-management in an underserved community. Diabetes Care 2010;33:1712-7.
สุทธิดา คำมะภา. สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ตำบลนาดี อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15:1-15.
ศิริลักษณ์ บุญชัย. การพัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงด้วย ระบบการแพทย์ทางไกลอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://bkpho.moph.go.th/ssjweb/bkresearch/require/files/post-doc/20240402113 .pdf
ศิโรรัตน์ วงค์ประไพ. โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อติดตามรักษาอาการ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมสุขภาพ 2567;7:e267293
ประเสริฐ บินตะคุ. การจัดบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีผ่านระบบการแพทย์ทางไกล. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566;16:127-40
พวงเพชร เหล่าประสิทธิ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ของโรงพยาบาลชุมชน และเครือข่าย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2566;37:29-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง