ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ภาวะซึมเศร้า, นักเรียนมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษา เขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จำนวน 250 คน โดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชากร และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความผูกพันในครอบครัว แบบประเมินความผูกพันกับเพื่อน แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นฉบับภาษาไทย (PHQ-A) นำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ chi-square test crude odds ratio และ multiple binary logistic กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัย: พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 เป็นเพศหญิง ช่วงอายุ 12-19 ปี (Mean = 14.9, S.D.=1.8) ความชุกของภาวะซึมเศร้า(PHQ-A≥10) ร้อยละ 43.6 (109 คน) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ โรคประจำตัวของคนในครอบครัว (ORadj = 3.4, 95%CI 1.2-9.4, p=0.021), เคยถูกใช้ความรุนแรงโดยเพื่อน (ORadj = 2.4, 95%CI 1.3-4.5, p=0.008) และ โดยคนในครอบครัว (ORadj = 2.4, 95%CI 1.2-4.8, p = 0.012) และระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง โดยผู้ที่มีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่ามีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองปานกลาง (ORadj = 57.3, 95%CI 12.4-265.8, p< 0.001) และผู้ที่มีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่ามีระดับความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูงเช่นกัน (ORadj = 5.1, 95%CI 2.0-13.4, p = 0.001) และนักเรียนที่มีภาวะซึมเศร้ามีความเสี่ยงที่มีโอกาสจะฆ่าตัวตายสูง 10.8 เท่า (ORadj = 10.8, 95%CI 5.9-19.9, p< 0.001) สรุปผลการศึกษาเสนอแนะให้มีการเฝ้าระวังและหาแนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นจากทุกภาคส่วนทั้งทางโรงเรียน ครอบครัว ทีมสาธารณสุขและชุมชน
References
Laura O, Roberto L, Maurizio P, Gianluca S, Umberto V, Federica V, Michele F, et al. Understanding the complex of suicide in depression: from research to clinics. Psychiatry Investig 2020;17:207-21.
World Health Organization. Depressive disorder (depression) [Internet]. 2023 [cited 2024 Mar 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression
World Health Organization. Suicide [Internet]. 2023 [cited 2024 Mar 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/suicide
ศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า กรมสุขภาพจิต. รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2567 เดือนกุมภาพันธ์ 2567 [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidepression.com/www/report/main_report/
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 2 กรมสุขภาพจิต. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mhc2.go.th/newweb/files/docs/OperationResults2023.pdf
Lewandowski R, Acri M, Hoagwood K, Olfson M, Clarke G, Gardner W, et al. Evidence for the management of adolescent depression. Pediatrics 2013;132:e996-e1009.
วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตายในวัยรุ่นไทย:การสำรวจโรงเรียนใน 13 เขตสุขภาพ. วารสารสุขภาพจิตแห่ง ประเทศไทย 2563;28:136-49.
กรมสุขภาพจิต. ข้อมูลการประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น อายุไม่เกิน 18 ปี [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 16 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://checkin.dmh.go.th/dashboards/dash07
World Health Organization. Global health estimates: Leading causes of death 2000-2019 [Internet]. 2020 [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://www.who.int/data/gho/data/themes/mortality-and-global-health-estimates/ghe-leading-causes-of-death
วิลาสินี สุราวรรณ์. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2564;66:403-16.
ธนัฏฐา อนันตเสรีวิทยา. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อภาวะซึมเศร้าของเด็กนักเรียนโรงเรียนประจำในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. เชียงใหม่วารสาร 2564;60:575-85.
จรรยพร เจียมเจริญกุล, นิดา ลิ้มสุวรรณ. ภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2558;60:253-63.
ประภัสสร จันดี, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564;37:252-64
Nourhan ME, Kristina MF, Rene LO, Douglas EW. The role of familial risk, parental psychopathology, and stress for first-onset depression during adolescence. Journal of Affective Disorders 2019;253:232-9.
รัตนา มาฆะสวัสดิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปทุมธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564;15:528-40.
พิสมัย นพรัตน์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2543.
มัณฑนา นทีธาร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของเด็กวัยรุ่นในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.
ผ่องศรี ศรีมรกต. ผลของการให้คำปรึกษาแบบประคับประคองต่อการรับรู้ภาวะความเจ็บปวด ระดับความรู้สึกมีคุณค่าแห่งตน และขวัญกำลังใจในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสี [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.
วิมลวรรณ ปัญญาว่อง, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, รัตนศักดิ์ สันติธาดากุล. คุณภาพของแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นฉบับภาษาไทย ในบริบทโรงเรียน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2565;30:38-48.
สุพัตรา สุขาวห, เกษราภรณ์ เคนบุปผา, กมลทิพย์ สงวนรัมย์, กุณฑ์ชลี เพียรทอง, สุภาภรณ์ ทองเบ็ญจมาศ, พลับพลึง หาสุข. ความชุกและความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2563;65:15-24.
Diogo B, Helena M, Marta A, Alice L, Carla M, Francisca V. Depression in adolescence: a review. Middle East Current Psychiatry 2020;27:50.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เข้าใจ ‘ซึมเศร้า’ ในวัยรุ่น หยุดกดดันด้วยความรักแบบมีเงื่อนไข [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 16 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://tu.ac.th/thammasat-270266-tu-expert-talk-understanding-teen-depression
อุษณี อินทสุวรรณ, สาริณีย์ จินดาวุฒิพันธ์. ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนต้น: ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2564;15:64-74.
National Institute of Mental Health. Chronic illness and mental health: recognizing and treating depression [Internet]. 2021 [cited 2024 Apr 17]. Available from: https://www.nimh.nih.gov/health/publications/chronic-illness-mental-health
Lotte WK, Susan JR, Dounya S, Witte JG, Nina HG. The association between parental chronic physical illness and adolescent functional somatic symptoms. Journal of Affective Disorders 2023;338:262-9.
Eisman AB, Stoddard SA, Heinze J, Caldwell CH, Zimmerman MA. Depressive symptoms, social support, and violence exposure among urban youth: A longitudinal study of resilience. Developmental Psychology 2015:51;1307–16.
สุพัตรา สุขาวห, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น: การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560;62:359-78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง