การพัฒนาแอปพลิเคชันนับลูกดิ้นบนโทรศัพท์มือถือ

ผู้แต่ง

  • ณัฐรินทร์ สกุลนิธิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุนันทา ศรีมาคำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จงลักษณ์ ทวีแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ลูกดิ้น, การนับลูกดิ้น, แอปพลิเคชันนับลูกดิ้น

บทคัดย่อ

การดิ้นของทารกเป็นสิ่งที่บ่งบอกการมีชีวิตอยู่ของทารกในครรภ์  หากทารกดิ้นน้อยลงอาจนำมาซึ่งสัญญานเตือนของการเสียชีวิต ดังนั้น การรับรู้การดิ้นของทารกในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์จึงเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยตรวจสอบการมีชีวิตอยู่ของทารก ซึ่งแอปพลิเคชันนับลูกดิ้นเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ได้ติดตามการดิ้นของทารกได้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้อุบัติการณ์การเสียชีวิตของทารกในครรภ์ลดลงได้ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันนับลูกดิ้นบนโทรศัพท์มือถือ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพแผนกฝากครรภ์ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 39 คน  และหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการในแผนกฝากครรภ์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แอปพลิเคชันนับลูกดิ้นบนโทรศัพท์มือถือ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อใช้แอปพลิเคชันนับลูกดิ้นบนโทรศัพท์มือถือ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิเคชันนับลูกดิ้นบนโทรศัพท์มือถือที่ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .92 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: พบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันนับลูกดิ้นบนมือถือที่สร้างจากโปรแกรมสำเร็จรูป React Native ภายใต้ชื่อแอปพลิเคชัน “Din Duk Dik”  มีระดับความคิดเห็นต่อการใช้แอปพลิเคชันนับลูกดิ้นของพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.20, S.D. = ±0.72) โดยด้านประโยชน์ต่อผู้ใช้งานแอปพลิเคชันมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ในการใช้นับลูกดิ้นมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (Mean = 4.36, S.D. = ±0.84) ความพึงพอใจของหญิงตั้งครรภ์ต่อการใช้แอปพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.66, S.D. = ±0.71) ดังนั้น การนำแอปพลิเคชันการนับลูกดิ้นบนมือถือมาใช้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่หน่วยฝากครรภ์มีความเหมาะสมสามารถใช้งานได้จริง

References

World Health Organization (WHO). Never forgotten the situation of stillbirth around the globe [Internet]. 2022 [cited 2024 Mar 29]. Available from: https://childmortality. org/wp-content/uploads/2023/03/UN-IGME-Stillbirth-Report-2022.pdf

Gregory EC, Valenzuela CP, Hoyert DL. Fetal mortality: United States, 2021. National Vital Statistics Reports 2023;72:1-21.

Tiruneh D, Assefa N, Mengiste B. Perinatal mortality and its determinants in Sub Saharan African countries: systematic review and meta-analysis. Matern Health Neonatol Perinatol 2021;7:1-17. doi: 10.1186/s40748-020-00120-4.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. อัตราส่วนทารกแรกเกิดไร้ชีพ [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 29 มี.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/stillbirth?year =2023

Saastad E, Winje BA, Stray Pedersen B, Frøen JF. Fetal movement counting improved identification of fetal growth restriction and perinatal outcomes-a multi-centre, randomized, controlled trial. PLoS One 2011;6:e28482. doi: 10.1371/journal.pone.0028482.

กัลยา วิริยะ, อรพิน เกตุแก้วมณี. ประสบการณ์ความทุกข์ทางจิตใจของมารดาที่มีบุตรเสียชีวิตในครรภ์. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2557;12:1-12.

ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์. ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2560.

อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล. สาระหลักการทางการพยาบาลมารดา ทารกแรกเกิดและการผดุงครรภ์ เล่ม 1 (ระยะตั้งครรภ์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.

Moore TR, Piacquadio K. A Prospective evaluation of fetal movement screening to reduce the incident of antepartum fetal death. American Journal of Obstetric and Gynecology 1989;160:1075-80.

บุญมี ภูด่านงัว. บทบาทการพยาบาลในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ต่อการนับลูกดิ้น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2557;37:1-12.

Amila. Kick Counter Application [Internet]. 2018 [cited 2022 Oct 21]. Available from: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.amila.kickcounter&hl=en_US

Watwiriyasakun W. Research & Development [Internet]. 2017 [cited 2022 Oct 21]. Available from: https://slideplayer.in.th/slide/16169343/

Hanrahan C, Aungst T, Cole S. Evaluating Mobile Applications. Maryland: American Society of Health-System Pharmacist; 2014.

ยศพล เหลืองโสมนภา, พีระเดช สำรวมรัมย์, ผกามาศ พิมพ์ธารา, ธันวา มิคอ, ดวงประเสริฐ ประสงค์ธิดาพร กลางใจ และคณะ. ผลของการใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือต่อการเพิ่มทักษะการบริหารยาโดปามีนตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศูนย์การศึกษา แพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2563;37:134-43.

สุธิดา นครเรียบ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ, สงคราม โชติกอนุชิต, วชิรศักดิ์ วานิชชา. ประสิทธิผลของโมบายแอปพลิเคชันต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;35:58-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-29