การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้ เครื่องปอดและหัวใจเทียม โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ทิพย์สุคนธ์ อารยวงศ์ โรงพยาบาลอุดรธานี
  • กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง วิทยาลัยพยาบาบาลบรมราชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วีกุญญา ลือเลื่อง โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ภัทราพรรณ อาษานาม โรงพยาบาลอุดรธานี
  • ประเสริฐศักดิ์ เหมะธุลิน โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบพยาบาล , การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม , ห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นการผ่าตัดที่มีความยุ่งยากซับซ้อนและอาจเกิดภาวะวิกฤตถึงแก่ชีวิต การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาและประเมินผลลัพธ์ของระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม โรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพ 23 คน ผู้ป่วย 30 คน และญาติ 30 คน ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบบริการพยาบาล และ 3) ประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน  1) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด โดยใช้กระบวนการพยาบาล ใบรายการเครื่องมือ/อุปกรณ์ผ่าตัด การให้ความรู้ และนาฬิกาจับเวลา และ 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบประเมินความพึงพอใจ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย ได้เท่ากับ 0.88, 0.97, และ 0.92 ตามลำดับ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon matched pairs signed rank test

ผลการศึกษา: ปี 2561-2565 พบอัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 4.62, 9.35, 5.08, 5.00 และ 8.44 ตามลำดับ และพบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่ อัตราการติดเชื้อ อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ และผู้ป่วยถูกเลื่อนคิวผ่าตัดจากสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ เตียง ICU เต็ม และเตรียมเลือดไม่พร้อม หลังการพัฒนาระบบบริการพยาบาลทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ โครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ พบว่า เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเตรียมเครื่องมือผ่าตัดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) จำนวนการเลื่อนคิวผ่าตัดลดลง ความพึงพอใจต่อระบบของพยาบาล ผู้ป่วย และญาติอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยเสนอแนะระบบบริการพยาบาลควรมีการประสานความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพ มีการใช้ใบรายการเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ผ่าตัด และใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลทั้งก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560 - 2579 นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี. สถิติผู้ป่วยผ่าตัดแผนกหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก ประจำปี 2565. อุดรธานี: โรงพยาบาลอุดรธานี; 2566. กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลอุดรธานี.

กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคไม่ติดต่อ. สถานการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Disease (CAD) ปี พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวเวชปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง พ.ศ. 2564. สมุทรปราการ: เนคสเตป ดีไซน์; 2564.

จีรนช สมโชค ไวท์, ศรัญญา จุฬารี, จันทร์ทิรา เจียรณัย. บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางช่องท้อง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2563;26:231-50.

Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003.

Likert R. The Method of Constructing and Attitude Scale, In Reading in Fishbeic M (Ed.), Attitude. Theory and Measurement. New York: Wiley & Son; 1967. p. 90-5.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยสาส์น; 2553.

ณาตยา โสนน้อย, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, ประภาพรรณ ปุ่นอุดม, นงนุช เตชะวีรากร, ถนัดกิจ เสรีสิงห์. ผลของการบูรณาการสหสาขาวิชาชีพติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจด้วยโปรแกรม Telehealth ต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การกลับเข้านอนโรงพยาบาลซ้ำ และความพึงพอใจของทีมสหสาชาวิชาชีพ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2566;33:84-100.

วีระนุช ไตรรัตโนภาส. ดูแลอย่างไร ให้ปลอดภัยหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2564;27:110-20.

รัชฎา พูนปริญญา, อำพล อรพิน, ณัฐนันท์ วิโย. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2565;23:521-30.

วรรณิภา เสนุภัย, พนิดา เตชะโต, สิริพร ดำน้อย. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2562;11:104-16.

ทิพย์สุคนธ์ อารยวงศ์, วรวิทย์ อินทนู, วีกุญญา ลือเลื่อง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลทหารบก 2564;22:86-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-21