การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการปรับปรุงคุณภาพ การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่10

ผู้แต่ง

  • วนิดา เสนามนต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

บทบาทการจัดการรายกรณี, พยาบาลผู้จัดการรายกรณี, คุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ในการปรับปรุงคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน หน่วยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน เขตสุขภาพที่ 10 ทั้งหมด 68 แห่ง จำนวน 92 คน และเพื่อ 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติบทบาทการจัดการรายกรณีระหว่างพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณี โรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) หลักสูตร 4 เดือน กับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 46 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและการปฏิบัติบทบาทการจัดรายกรณี ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.96 ทดสอบความเที่ยงโดยวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที Independent t- test

ผลการวิจัย: พบว่า พยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) ปฏิบัติบทบาทโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง (Mean = 3.83, S.D. = 0.53) ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน ปฏิบัติบทบาทโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.30, S.D.= 0.69) ผลเปรียบเทียบ 2 กลุ่มมีความแตกต่างกัน พยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) มีการปฏิบัติบทบาทในระดับสูงกว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในคลินิกเบาหวาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t90= 4.07, p< .001) ดังนั้น  ควรสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน เข้ารับการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง) หลักสูตร 4 เดือน เพื่อให้มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน นำไปสู่ผลลัพธ์ของการจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2566. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2566.

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf

กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. การเข้าถึงการดูแลโรคเบาหวาน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

ปัฐยาวัชร ปรากฏผล. การศึกษาสมรรถนะและทักษะการจัดการรายกรณีของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2560;28:14-25.

สำนักงานสาธารณสุขอุบลราชธานี. Health Data Center Report [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

ปัฐยาวัชร ปรากฎผล. ผลของการฝึกอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรังต่อผลลัพธ์การจัดการรายกรณี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2560;23:59-72.

ราตรี โกศลจิตร. ประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปากพลีจังหวัดนครนายก. พยาบาลสาร 2560;44:26-38.

ละอองดาว ขุราศี. ผลการใช้การพัฒนาโปรแกรมผู้จัดการรายกรณี สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลเมืองสรวง. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2564;2:143-8.

วรนารถ เล้าอติมาน, ธิติสุดา สมเวที, ประภาพร มุทุมล, เดชา ทำดี. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยรูปแบบการจัดการรายกรณีโรงพยาบาลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560;25:283-93.

อนุศร การะเกษ, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. ผลของรูปแบบการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์ที่คัดสรร ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด ณ แผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:119-27.

ศิริอร สินธุ, พิเชต วงรอต. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วัฒนาการพิมพ์; 2557.

พรรณทิพย์ ชับขุนทด,ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, รัชนี พจนา.ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองต่อความรู้ความมั่นใจและความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลมารดาและทารกในระยะคลอดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29:1062-72.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13