การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลนครพนม

ผู้แต่ง

  • ณัฎฐ์ฎาพร ศรีประดิษฐ์ โรงพยาบาลนครพนม
  • เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์ โรงพยาบาลนครพนม
  • อรรจจิมา ศรีชนม์ โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, รูปแบบการพยาบาล

บทคัดย่อ

อุบัติการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดยังพบเพิ่มสูงขึ้นถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีความก้าวหน้าในการรักษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) การนำแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นไปใช้ในหน่วยบริการพื้นที่ศึกษา และ 3) การประเมินผลการพัฒนาจากการประเมินความรู้และการปฏิบัติติของพยาบาลก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพยาบาล  และประเมินผลลัพธ์การดูแล กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ 180 คน ผู้ป่วยจำนวน 108 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด 2) แบบประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจของพยาบาลหลังการใช้รูปแบบการพยาบาล 3) แบบประเมินความรู้และแบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางของพยาบาล และ 4) แบบบันทึกผลลัพธ์การดูแล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง Wilcoxon Signed-Rank Test ในกรประเมินความรู้และการปฏิบัติ และไคสแควร์ในการประเมินผลลัพธ์การดูแล

ผลการวิจัย: พบว่า 1) ได้รูปแบบการพยาบาลที่ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) คู่มือแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระบุขอบเขตจุดประสงค์และการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล (2) กิจกรรมการพยาบาล 7 ด้าน 55 ข้อกิจกรรม และ (3) นโยบายและคำสั่งบทบาทหน้าที่ของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการปรับปรุงและพัฒนาระบบบริการ 2) ด้านผลลัพธ์ ความรู้ของพยาบาลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58 เป็น 68 การปฏิบัติตามแนวทาง ร้อยละ 98 และความพึงพอใจการใช้รูปแบบการพยาบาล ร้อยละ 86 ผลลัพธ์การดูแล พบว่า การเกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อลดจากร้อยละ 33 เป็น 5.6 การเจาะเลือดเพาะเชื้อเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 22 เป็น 91 การได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 37 เป็น 83 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<. 00) การประเมินอาการเตือนล่วงหน้าเพิ่มจากร้อยละ 22 เป็น 52 และอัตราการเสียชีวิตลดลงจากร้อยละ 16.7 เป็น 11.1 นอกจากนี้ ร้อยละ 99 ของพยาบาลเห็นว่าในรูปแบบการพยาบาลที่พัฒนาสามารถนำไปใช้ได้จริง และร้อยละ 86 มีความพึงพอใจในรูปแบบฯ  สรุปว่ารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่พัฒนาขึ้นนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยลดการเกิดภาวะช็อกในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเป็นผลลัพธ์ทางการพยาบาลได้ พยาบาลมีแนวทางหรือระเบียบปฏิบัติในการให้การพยาบาลผู้ป่วย

References

ทิฏฐิ ศรีวิสัย, วิมล อ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2560;9:152-62.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.uckkpho.com/other/3099/

รัฐภูมิ ชามพูนท, ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล, บุญส่ง พัจนสุนทร. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf

รินนิภา สวนสุข, เยาวภา เพียรพานิช, สาวิตรี รนที. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2565;12:170-88.

ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลนครพนม. ข้อมูลสถิติการให้บริการโรงพยาบาลนครพนมปี 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ict.nkphospital.go.th/nkph/index.php/component/users/?view=reset&Itemid.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. รายการตัวชี้วัด ปีงบประมาณ 2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th/r8way/view_boardDoc.php?id=34

พัชรีภรณ์ สุรนาทชยานันท์, วนิดา เคนทองดี, สุพัตรา กมลรัตน์. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36:207-15.

ยุวดี เทียมสุวรรณ, อรชร มาลาหอม, ธีรนุช ยินดีสุข, ประภัสสร ควาญช้าง, นุสรา ประเสริฐศรี. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยหนักที่ติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้การจัดการรายกรณีในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:184-93.

ดวงกมล สุวรรณ์, วิภา แซ่เซี้ย, ประณีต ส่งวัฒนา. ผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบการจัดการรายกรณีต่อผลลัพธ์การดูแลในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33:33-45.

ปรเมษฐ์ อินทร์สุข, เชษฐาฤทธิ์ บริบูรณ์. บทบาทของพยาบาลในการจัดการภาวะพิษเหตุติดเชื้อตามแนวปฏิบัติภาวะพิษเหตุติดเชื้อ 2021. พยาบาลสาร2565;49:376-89.

กัญญัณณัฐ พรมเขจร. การพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตชนิดรุนแรงหรือช็อคจากการติดเชื้อ ในโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลนครพนม2563;7:45-57

นภดล คำเติม, ปรียาวดี เทพมุสิก. การพัฒนารูปแบบการประเมินและการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตสำหรับผู้ป่วยวิกฤตแผลไหม้. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2566;7:1-16.

Bloom BS. Taxonomy of Education Objective. New York: David Mokey; 1971.

ภัทรศร นพฤทธิ์, แสงไทย ไตรยวงค์, จรินทร โคตรพรม. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;37:221-30.

ศุภา เพ็งเลา, กนกวรรณ สินลักษณทิพย์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารเขต 4–5 2563;39:698-712.

พรรณี ชูศรี, อิสราภรณ์ ปัญญา, ปิยะเนตร ปานเกิด. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.วารสารการพยาบาล สุขภาพ และสาธารณสุข 2565;1:12-27.

จริยา พันธ์วิทยา, จิราพร มณีพราย. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารกองการพยาบาล 2561;45:86-104.

รินนิภา สวนสุข, เยาวภา เพียรพานิช, สาวิตรี รนที. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด.วารสารสมาคมเวศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2565;12:170-89.

กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพรปกเกล้า 2560;34:222-35.

จันทร์คำ โพธิ์อ่อง, วิภาศิริ นราพงษ์, ธนันณัฎฐ์ มณีศิลป์, ธนันธร แดงทองดี. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตแบบรุนแรงจากชุมชน ที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล 2565;49:27-43.

ลัดดา จามพัฒน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา 2563;3:56-66.

นาตยา บุญสุข. ผลการใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2566;10:286-96.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-08