การพัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลลำปาง
คำสำคัญ:
รูปแบบการวางแผนจําหน่าย, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, หญิงตั้งครรภ์, รูปแบบการพัฒนาบทคัดย่อ
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นภาวะวิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ ทารก ครอบครัวและสังคม การจัดการตนเองเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดจึงมีความสำคัญมาก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการวางแผนจําหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดห้องคลอดโรงพยาบาลลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 60 ราย และพยาบาลวิชาชีพ 8 ราย ศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการวางแผนจําหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลและเชิงปริมาณด้วยความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) รูปแบบการวางแผนจําหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ การวินิจฉัยโรค/อาการ การสอนสุขศึกษาให้กับหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว กิจกรรมวางแผนจำหน่าย การประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ และ การติดตามต่อเนื่องทางโทรศัพท์และกลุ่มไลน์ และ 2) หลังการใช้รูปแบบ พบว่า หญิงตั้งครรภ์มีอัตราการคลอดครบกำหนดถึงร้อยละ 90.00 และอัตรากลับมารักษาซ้ำมีเพียงร้อยละ 5.00 รูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดนี้ช่วยลดอัตรา การกลับมารักษาซ้ำและยืดอายุครรภ์ได้ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในห้องคลอด จึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผนจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาพของมารดาและทารกต่อไป
References
World Health Organization [Internet]. Preterm birth statistics. [cited 2021 Mar 12]. Available from: https://www.who.int/.
ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ศิริภรณ์ เหมะธุลิน, พิมลพรรณ อันสุข, พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน. การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด: บทบาทพยาบาล. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563;35:238-45.
ปิยะนุช ชูโต. การพยาบาลสตรีที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด. ใน: บังอร ศุภวิทิตพัฒนา, ปิยภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี (บรรณาธิการ), การพยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตรติ้งแอนด์เซอร์วิส; 2562. หน้า 291-373.
สายฝน ชวาลไพบูลย์. ตำราคลอดก่อนกำหนด. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.
นวรัตน์ ไวชมภู, อาภรณ์ คงช่วย. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558;2:114-28.
กัลยา มณีโชติ, นิจ์สากร นังคลา. การพัฒนารูปแบบการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารกองการพยาบาล 2560;44:7-25.
พรศิริ เสนธิริ, สุดใจ ศรีสงค์, รัศมีแข พรหมประกาย, มณีรัตน์ เพิ่มชาติ. การพัฒนารูปแบบการ พยาบาลหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559;34:164-73.
กันทิมา ขาวเหลือง. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายทารกคลอกก่อนกำหนดที่ส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่อง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2555;6:27-9.
ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดช, บัวสอน วระโพธิ์, พรรณยุพา เนาว์ศรีสอน, วราพร มีแก้ว, ชนิกา ทองอันตัง. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาล อำนาจเจริญ. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2564;6:77-89
สุวัลญา คงรอด, ชะปา ไชยฤทธิ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาแบบใหม่ต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกันตัง จังหวัดตรัง.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29:1055-61.
สุดานี บูรณเบญจเสถียร. ประสิทธิผลของการดูแลสตรีตั้งครรภ์ตามมาตรการการดูแลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะคลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลแม่จัน. เชียงรายเวชสาร 2561;9:41-52.
สถิติงานห้องคลอดโรงพยาบาลลำปาง. รายงานสถิติการคลอดก่อนกำหนดประจำปี 2562. ลำปาง: โรงพยาบาลลำปาง; 2562.
สุธีร์ ธรรมิกบวร. การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. การปรับกระบวนทัศน์. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2554.
Orem DE, Taylor SG, & Renpenning KM. Nursing: Concepts of practice. St. Louis: Mosby; 2001.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น: ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2556.
Society for Maternal-Fetal Medicine Publications Committee, with the assistance of Vincenzo Berg hella. Progesterone and preterm birth prevention: translating clinical trials data into clinical practice. Am J Obstet Gynecol 2012;206:376–86.
รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ, เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร, เอมพร รตินธร, เอกชัย โควาวิสารัช. ผลของการบำบัดทางการพยาบาลต่อการจัดการเพื่อป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด การกลับมารักษาซ้ำและอายุครรภ์เมื่อคลอด ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2552;27(ฉบับพิเศษ):39-48.
เพียงขวัญ ภูทอง, พีรนันท์ วิศาลสกุลวงษ์. การดูแลแบบต่อเนื่องเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด. วารสารเกื้อการุณย์ 2562;26:156-68.
พรจิต จันโทภาส, ศีตรา มยูขโชติ, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ตามกรอบมิติคุณภาพการบริการผู้คลอด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8:123-37.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง