ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของครูหรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ บุญมาชู คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุพัตรา เกียรติเจริญศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การรับรู้ความสามารถของตนเอง , การป้องกันโรค COVID-19 , ครู, ผู้ดูแลเด็ก

บทคัดย่อ

ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 พบว่าเด็กที่เป็นโรค COVID-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มีอาการ แต่อย่างไรก็ตาม เด็กก็มีโอกาสเกิดอาการเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของครูหรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นครูหรือผู้ดูแลเด็กที่ได้รับคัดเลือกแบบเจาะจง จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 68 คน กลุ่มทดลอง 34 คน ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค COVID-19 และกลุ่มควบคุม 34 คน ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค COVID-19 โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19  ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.98 และมีค่าความเที่ยงจากการใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมตฐาน โดยใช้สถิติทดสอบ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค COVID-19 ครูหรือผู้ดูแลเด็กในกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรม การป้องกันโรค COVID-19 สูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งโดยรวม (p< .005) และคะแนนรายด้าน ได้แก่ การใช้หน้ากากอนามัย  (p< .044)  การเว้นระยะห่าง (p< .006) การส่งเสริมสุขภาพ (p< .034)  และการจัดการด้านสุขาภิบาล (p< .029) สรุปศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสามารถนำโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค COVID-19 ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมครูหรือผู้ดูแลเด็กให้มีความสามารถในการป้องกัน COVID-19 เพิ่มมากขึ้น

References

Worldometers. COVID-19 CORONAVIRUS PANDEMIC [Internet]. 2023 [cited 2023 Aug 27]. Available from: https://www.worldometers.info/coronavirus/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 26 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/310365.pdf

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เด็กอายุ 0-5 ปีป่วยโควิดสูง รอบ 7 วันที่ผ่านมาติดแล้ว 6 พันราย พร้อมเปิดอาการพบมากที่สุด [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2022/02/24541

สมหญิง โควศวนนท์, อาภาวรรณ หนูคง. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ. ใน; บุญเพียร จันทวัฒนา, ฟองคำ ดิลกสกุลชัย, บัญจางค์ สุขเจริญ, วิไล เลิศธรรมเทวี, ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์,บรรณาธิการ. ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 2 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: พรี-วัน; 2555.

กรมควบคุมโรค. โครงการรณรงค์การดำเนินงานด้านการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลปี 2556 [อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://pcdc.ddc.moph.go.th/

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล (สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก) [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER022/GENERAL/DATA0000/00000466.PDF

ยุนี พงศ์จตุรวิทย์, พจนารถ สารพัด, นุจรี ไชยมงคล. ประสบการณ์ของผู้ดูแลเด็กในการป้องกันโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจในเด็กก่อนวัยเรียน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2564;31:96-109.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก http://maung.ptho.moph.go.th/web/doc/covid19_stu.pdf

ภัทรนุช วิทูรสกุล, ชญาภา ชัยสุวรรณ, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ของครูและผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2564;39:41-54.

กุลรัศมิ์ ชำนินอก, พัชราภรณ์ อารีย์, สุธิศา ล่ามช้าง. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของมารดาสำหรับการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็ก. พยาบาลสาร 2563;47:77-87.

Bandura A. Self-efficacy: The Exercise of Control. New York: W. H. Freeman; 1997.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์:แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

จินตนา เทพเสาร์, ศลิษา โกดยี่. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมของผู้ดูแลในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี. วารสารพยาบาลตำรวจ 2564;13:91-101.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. มารู้จักและวิธีป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=9SZMyqtpMEg

มหาวิทยาลัยมหิดล. วิธีล้างมือ 7 ขั้นตอนให้ถูกต้อง ป้องกัน COVID-19[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=mFKoeai0y8s

โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วิธีใช้ปรอทวัดไข้ (แบบมีปุ่มกด) ด้วยตนเอง [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=CLhZXoiXR3o

Whitmore J. Coaching for Performance: Growing People, Performance and Purpose. Vol. 108. London: Nicholas Bradley; 2002.

ชลาลัย เปียงใจ, นฤมล ธีระรังสิกุล, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจของผู้ดูแล. วารสารพยาบาล 2561;67:1-9.

ณิชกมล ยอดสกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมของมารดาในการป้องกันโรค COVID-19 ของเด็กก่อนวัยเรียน. หัวหินเวชสาร 2566;3:56-66.

จุฑาทิพย์ นามม่อง, ณัชนันท์ ชีวานนท์, จินตนา วัชรสินธุ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมของมารดา ในการดูแลบุตรวัยหัดเดินที่ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างเฉียบพลัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;23:43-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20