ความเปราะบางทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหูดับจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส

ผู้แต่ง

  • ปราบดา ประภาศิริ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร
  • สุทธิชัย นักผูก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร
  • เกรียงไกร ประเสริฐ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร

คำสำคัญ:

โรคหูดับ , ความเปราะบางสังคมวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

“โรคหูดับ” เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส ก่อโรคในหมู สามารถติดไปสู่คนทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิตและโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้เป็นโรคหูดับจะสูญเสียการได้ยินหูหนวกถาวร และมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ การบริโภคเนื้อและเลือดหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ การติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือทางเยื่อบุตาในผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับหมูมีเชื้อโรค การติดเชื้อโรคหูดับมีความสัมพันธ์กับประเด็นทางด้านสังคมและวัฒนธรรม คือ โรคหูดับมีความสัมพันธ์กับหมู และหมูมีความสัมพันธ์ข้องเกี่ยวกับคน ทั้งในแง่การเป็นสัตว์เลี้ยงและเป็นอาหาร ผู้ป่วยที่ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ชอบดื่มสุรา มีอาชีพรับจ้าง หรือใช้แรงงาน เมื่อเกิดการเจ็บป่วย มีไข้ ผู้ป่วยมักจะซื้อยาลดไข้มารับประทานก่อน เมื่อไข้ไม่ลดจึงจะไปพบแพทย์ ทำให้การวินิจฉัยโรคและการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะมีความล่าช้าจนเชื้อโรคทำลายระบบประสาทการได้ยิน สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความเปราะบางที่สะท้อนถึงความเสี่ยงต่อการที่จะได้รับความเสียหายจากพยาธิสภาพของโรค ที่ป้องกันได้ บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอโรคหูดับในประเทศและต่างประเทศ  ความเปราะบางในมิติทางสังคมและวัฒนธรรม มุมมองโรคติดเชื้อที่ถูกเพิกเฉย และแนวคิดและการดูแลโรคหูดับ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับโรคหูดับ และการออกแบบการรักษาพยาบาล และการควบคุมและป้องกันโรคที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนต่อไป

References

Goyette-Desjardins G, Auger JP, Xu J, Segura M, Gottschalk M. Streptococcus suis, an important pig pathogen and emerging zoonotic agent-an update on the worldwide distribution based on serotyping and sequence typing. Emerg Microbes Infect 2014;3: e45. doi: 10.1038/emi.2014.45

Segura M, Aragon V, Brockmeier SL, Gebhart C, Greeff Ad, Kerdsin A, et al. Update on Streptococcus suis Research and Prevention in the Era of Antimicrobial Restriction: 4th International Workshop on S. suis. Pathogens 2020;9:374. doi: 10.3390/pathogens9050374

Lun ZR, Wang QP, Chen XG, Li AX, Zhu XQ. Streptococcus suis: an emerging zoonotic pathogen. Lancet Infect Dis. 2007; 7:201-9. doi:10.1016/S1473-3099(07)70001-4

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโนโลยีแห่งชาติ. โรคไข้หูดับ ภัยเงียบที่ควรจับตามอง [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 23 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nstda.or.th/home/news_post/sci-update-streptococcus-suis/

Karavanonth N, Sukkasem I, Songkram S, Jirapongsa C. Outbreak of Human Streptococcus suis Cases in Chum Phuang District, Nakhon Ratchasima Province, Thailand, 2018. Outbreak, Surveillance, Investigation & Response (OSIR) Journal 2019;12:136–143. doi: 10.59096/osir.v12i4.262928.

Praphasiri P, Owusu JT, Thammathitiwat S, Ditsungnoen D, Boonmongkon P, Sangwichian O, Prasert K, et al. Streptococcus suis infection in hospitalized patients, Nakhon Phanom Province, Thailand. Emerg Infect Dis 2015; 21:345-348. doi:10.3201/eid2102.140961

Kerdsin A, Segura M, Fittipaldi N, Gottschalk M. Sociocultural Factors Influencing Human Streptococcus suis Disease in Southeast Asia. Foods 2022;11:1190. doi: 10.3390/foods11091190

Praphasiri P. Food, vulnerability, and deafness: illness experience of villagers in a north-eastern province Thailand [dissertation]. Nakhon Pathom: Mahidol university; 2015.

Donsakul K, Dejthevaporn C, Witoonpanich R. Streptococcus suis infection: clinical features and diagnostic pitfalls. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2003;34:154-8.

Lun ZR, Wang QP, Chen XG, Li AX, Zhu XQ. Streptococcus suis: an emerging zoonotic pathogen. Lancet Infect Dis 2007;7:201-209. doi: 10.1016/S1473-3099(07)70001-4

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/download/MIX_AW_2_AESR_6410-12.pdf

Kerdsin A. Human Streptococcus suis Infections in Thailand: Epidemiology, Clinical Features, Genotypes, and Susceptibility. Trop Med Infect Dis 2022;7:359. doi: 10.3390/tropicalmed7110359

Kerdsin A, Segura M, Fittipaldi N, Gottschalk M. Sociocultural Factors Influencing Human Streptococcus suis Disease in Southeast Asia. Foods 2022; 11:1190. doi: 10.3390/foods11091190. PMID: 35563913; PMCID: PMC9102869.

Rayanakorn A, Goh BH, Lee LH, Khan TM, Saokaew S. Risk factors for Streptococcus suis infection: A systematic review and meta-analysis. Sci Rep 2018;8:13358. doi: 10.1038/s41598-018-31598-w

Kerdsin, A. Human Streptococcus suis Infections in Thailand: Epidemiology, Clinical Features, Genotypes, and Susceptibility. Trop Med Infect Dis 2022; 7:359. doi: https://doi.org/10.3390/tropicalmed7110359

Khadthasrima N, Hannwong T, Thammawitjaya P, Pingsusean D, Akkanij B, Jaikhar A, et al. Human Streptococcus suis outbreak in Phayao Province, Thailand, 2007. OSIR J 2008; 1:4–7.

Rayanakorn A, Goh BH, Lee L-H, Khan TM, Saokaew S. Risk factors for Streptococcus suis infection: A systematic review and meta-analysis. Sci. Rep 2018;8:13358.

Mingkwan W. Clinical characteristics and the predicting factor of septic shock caused by Streptococcus suis serotype 2 infection, Uttaradit hospital. Uttaradit Hosp. Med Bull 2011;26:11–24.

กุลจิรา เพ็ชรกุล, กรรณิการ์ ณ ลำปาง. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อสเตรปโตคอกคัสซูอิสของประชาชน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2563;16:13-23

รุจิรา ดุริยศาสตร์, ณิตชาธร ภาโนมัย, สรรเพชร, อังกิติตระกูล, ฐิติมา นุตราวงศ์. พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ของประชาชนในตำบลนาขมิ้น และตำบลโพนจาน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2558;22:75-84.

ศุภร ฟุ้งลัดดา, ประเสริฐ ทองเจริญ. โรคติดเชื้อสเตร็พโตคอกคัส ซูอิส ในมนุษย์: ทบทวนรายงานในประเทศไทย และจุลชีววิทยา. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2548;14:581-90.

Farmer P. Social inequalities and emerging infectious diseases. Emerg Infect Dis. 1996; 2:259-269. doi: 10.3201/eid0204.960402

Inhorn MC. Medical anthropology and epidemiology: divergences or convergences? Soc Sci Med. 1995; 40:285-290. doi: 10.1016/0277-9536(94)e0029-r

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). โรคไข้หูดับ ภัยเงียบที่ควรจับตามอง [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 23 มิ.ย. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nstda.or.th/home/news_post/sci-update-streptococcus-suis/

Sathawornwiwat A, Kengkanpanich M, Saengrat N, Sangjan J. Factors Predicting Raw Meat Consumption Behavior among People Chiang Klang District, Nan Province. Thai Journal of Health Education 2020;43:25-37.

Takeuchi D, Kerdsin A, Akeda Y, Chiranairadul P, Loetthong P, Tanburawong N, et al. Impact of a Food Safety Campaign on Streptococcus suis Infection in Humans in Thailand. Am J Trop Med Hyg 2017;96:1370-1377. doi: 10.4269/ajtmh.16-0456. PMID: 28719258; PMCID: PMC5462574.

Segura M, Aragon V, Brockmeier SL, Gebhart C, Greeff A, Kerdsin A, et al. Update on Streptococcus suis Research and Prevention in the Era of Antimicrobial Restriction: 4th International Workshop on S. suis. Pathogens 2020;9:374. doi: 10.3390/pathogens9050374. PMID: 32422856; PMCID: PMC7281350.

Kralova N, Stepanova H, Gebauer J, Norek A, Matiaskova K, Zouharova M, Nedbalcova K, Babak V, Jarosova R, Makovicky P, Kucharovicova I, Simek B, Plodkova H, Pecka T, Matiasovic J. Vaccine against Streptococcus suis Infection in Pig Based on Alternative Carrier Protein Conjugate. Vaccines (Basel) 2022;10:1620. doi: 10.3390/vaccines10101620. PMID: 36298485; PMCID: PMC9612095.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-28