บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย พิมาทัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ศุกรี ศิริบูรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • รัตนา บุญพา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เยาวชน, บทบาทพยาบาลอนามัยชุมชน

บทคัดย่อ

ช่วงการเป็นเยาวชนเป็นวัยที่ร่างกายกำลังพัฒนา จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ปัญหาของสมอง ตับและหัวใจได้มากกว่าวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล รวมทั้งการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ อุบัติเหตุจราจร และการใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้ พยาบาลอนามัยชุมชนมีบทบาทความสำคัญในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน เนื่องจากเป็นบุคลากรสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ชิดกับเยาวชนในชุมชนมากที่สุด จึงทำให้รับทราบปัญหาและปัจจัยที่ทำให้เยาวชนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างแท้จริง โดยพยาบาลอนามัยชุมชนแสดง 7 บทบาท ได้แก่ บทบาทผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ ผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ผู้พิทักษ์สิทธิ์ ผู้จัดการรายกรณี ผู้ประสานความร่วมมือ และผู้วิจัย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อเยาวชน และบทบาทพยาบาลอนามัยชุมชนในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับพยาบาลอนามัยชุมชนในการนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดความรุนแรง และผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเยาวชน

References

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. พระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 32. (ลงวันที่ 18 มีนาคม 2560) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://lawelcs.excise.go.th/lawdetail?id=5790

World Health Organization. Adolescent health [Internet]. 2023 [cited 2023 Jun 6]. Available from: https://www.who.int/southeastasia/health-topics/adolescent-health

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์; 2564.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, บรรณาธิการ. ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.

Arain M, Haque M, Johal L, Mathur P, Nel W, Rais A, et al. Maturation of the adolescent brain. Neuropsychiatr Dis Treat: 2013;9:449-61. doi:10.2147/NDT.S39776.

วราภรณ์ บุญเชียง. การดื่มสุรา. ใน: ศิริพร ขัมภลิขิต, จุฬาลักษณ์ บารมี. คู่มือการสอนการสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2555. หน้า 229-46.

Linda J, Vorvick MD. Risk of underage drinking [Internet]. 2022 [cited 2023 May 5]. Available from: https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000528.htm

Newton S, Morona J, Merlin T. Systematic literature review on the association between alcohol consumption and mental health disorders [Internet]. 2018 [cited 2023 May 15]. Available from: file:///C:/Users/User/Downloads/3-systematic-literature-review.pdf

อรทัย วลีวงศ์. แอลกอฮอล์กับอาชญากรรม ความรุนแรง ความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคม [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://cas.or.th/wp-content/uploads/2016/05/alh_social_safety_20160512.pdf

กีรดา ไกรนุวัตร. แนวคิดการพยาบาลชุมชน. ใน: กีรดา ไกรนุวัตร, รักชนก คชไกร. การพยาบาลชุมชน. กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพรส; 2561. หน้า 1-27.

วิลาวัณย์ เตือนราษฎร์, ศิวพร อึ้งวัฒนา, จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ. ระบบสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพ ระบบบริการสุขภาพชุมชน การให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และบทบาทพยาบาลชุมชน. ใน: ศิวพร อึ้งวัฒนา, กัลยาณี ตันตรานนท์. แนวคิดและหลักการการพยาบาลชุมชน. เชียงใหม่: สมาร์ทโคตรติ้งแอนด์เซอร์วิส; 2563. หน้า 47-72.

ทักษพล ธรรมรังสี, อรทัย วลีวงศ์. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. เอกสารวิชาการชุด แอลกอฮอล์ และสมอง. นนทบุรี: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2559.

หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รายงานวิจัย การประมาณอุบัติการณ์โรคมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยใน พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cas.or.th/?p=6655

วาทิต แสงจันทร์. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแท้งบุตรที่เกิดขึ้นเองของหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2559;7:9-18.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, บรรณาธิการ. แบบแผนและแนวโน้มพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรไทย. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา; 2565.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. แนวปฏิบัติการคัดกรองและบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

อรทัย วลีวงศ์. ผลกระทบจากดื่มสุราของผู้อื่น. ใน: สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, บรรณาธิการ. ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562. หน้า 99-103.

กนกวรรณ จังอินทร์, สมเดช พินิจสุนทร. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบต่อครอบครัวของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560;5:487-501.

อิสรภาพ มาเรือน. รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัยรุ่นเข้าสู่การเป็นนักดื่มหน้าใหม่ ในชุมชนชาติพันธุ์ ม้ง เมี่ยน ลัวะ ตำบลป่ากลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 พ.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cas.or.th/?p=9948

พิมลวรรณ สุดชารี, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยการประยุกต์ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการสื่อสารด้วย “Facebook” ในนักเรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;12:81-91.

กัญญ์กุลณัช รามศิริ, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลข่าวสาร สร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะเพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่นหญิง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2564.

ประทุมพร เชาว์ฉลาด, ศรัณญา เบญจกุล, มณฑา เก่งการพานิช, ธราดล เก่งการพานิช. ผลของโปรแกรมป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนครปฐม. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2561;24:210-24.

วิทวัส สุดเพาะ, นฤมล สินสุพรรณ, ชนะพล ศรีฤาชา. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคม เพื่อป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2566;9:96-107.

ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์, รุ่งระวี สมะวรรธนะ, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. การจัดโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;24:55-66.

ทศพร ทองย้อย, วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์, กิตติภูมิ ภิญโย. การจัดการรายกรณีเพื่อดูแลผู้ติดสุราต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38:80-9.

รัตติยา ทอนพลกรัง, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบหนักเป็นครั้งคราวของนักเรียนชายอาชีวศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

จิรัชยา เจียวก๊ก, สันติชัย แย้มใหม่. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการดื่มสุราในเยาวชน. เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6; 26 มิถุนายน 2558; มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31