ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ผู้ปกครอง, เด็กสมาธิสั้น, การปรับพฤติกรรม , การจัดการกับความเครียดบทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 189 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่านมีดัชนีความสอดคล้อง ตั้งแต่ 0.66-1.00 ทุกข้อ และหาความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นรายด้านตั้งแต่ 0.86-0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ระดับภาวะหมดไฟในการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 93.7 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับต่ำ โดยด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดความเป็นบุคคลและด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล ร้อยละ 79.4, 82.5, และ 99.5 ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ ปัจจัยด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและปัจจัยด้านการบริหารงานในหน่วยงานซึ่งสามารถร่วมกันทำนายภาวะหมดไฟในการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ร้อยละ 20.70 (R2= 0.207) ควรมีการจัดกิจกรรมในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและปรับรูปแบบการบริหารของหน่วยงาน ให้เหมาะสมในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีเพื่อป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน
References
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders: DSM-IV-TR. 4th ed. Washington DC: American Psychiatric Publishing; 2004.
Fayyad J, Sampson NA, Hwang I, Adamowski T, Aguilar-Gaxiola S, Al-Hamzawi A, Andrade L, et al. The descriptive epidemiology of DSM-IV Adult ADHD in the World Health Organization World Mental Health Surveys. Atten Defic Hyperact Disord 2017;9: 47–65.
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, พรทิพย์ วชิรดิลก, พัชรินดร์ อรุณเรือง, ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล. ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2556;2166-75.
Harpin VA. The effect of ADHD on the life of an individual, their family and community from preschool to adult life. Arch Dis Child 2005;90(Suppl I):i2–7.
Mazursky-Horoitz H, Felton JW, MacPherson L, Ehrlich KB, Cassidy J, et al. Maternal emotion regulation mediates the association between adult attention-deficit/hyperactivity disorder symtoms and parenting. J Abnorm Child Psychol 2015;43:121-31.
Heath CL, Curtis DF, Fan W, McPherson R. The association between parenting stress, parenting self-efficacy, and the clinical significance of child ADHD symptom change following behavior therapy. Child Psychiatry Hum Dev. 2015;46:118-29.
Jones J, Passey J. Family Adaptation, Coping and Resources: Parents of Children with Developmental Disabilities and Behavior Problems. Journal on Developmental Disabilities 2004; 11;31-46.
Lindo EJ, Kliemann KR, Combes BH, Frank J. Managing Stress Levels of Parents of Children with Developmental Disabilities: A Meta-Analytic Review of Interventions. Family Relations 2016;65:207-24.
Theule J, Wiener J, Taanock R, Jenkins JM. Parenting stress in familes of children with ADHD:A meta-analysis.Journal of Emotional and Behavioral Disorders.2013;21:3-17.
Fabiano GA, Pelham WE Jr. Coles EK, Gnagy EM, Chronis-Tuscano A, O’Connor BC. A Meta analysis of behavioral treatments for attention-deficit/hyperactivity disorder. Clinical Psychology Review 2009;29:129–40.
Lindo EJ, Kliemann KR, Combes BH, Frank J. Managing Stress Levels of Parents of Children with Developmental Disabilities: A Meta-Analytic Review of Interventions. Family Relations. 2016;65:207-24.
Stattin H, Enebrink P, Özdemir M, & Giannotta F. A national evaluation of parenting programs in Sweden: The short-term effects using an RCT effectiveness design. Journal of Consulting and Clinical Psychology. 2015;83:1069–84.
Loren REA, Vaughn JM, Langberg JEM, Cyran T, Proano-Raps BH, Smolyansky L, et al. Effects of an 8-session Behavioral Parent Training Group for Parents of Children with ADHD on Child Impairment and Parenting Confidence. J Atten Disord 2015;19:158–66.
ชาญวิทย์ พรนภดล. คู่มือวิทยากรการฝึกอบรมผู้ปกครองวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก. . นครปฐม; คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
ชมัยพร จันทร์ศิริ. ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมผู้ดูแลเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้น โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต] . เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2553.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ศูนย์สุขภาพจิตเขต 10 กรมสุขภาพจิต
กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
ภาวิตา จงสุขศิริ, สุพร อภินันทเวช, สิรินัดดา ปัญญาภาส. ผล 1 ปีของการเข้าร่วมโปรแกรมอบรมผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรมเด็กที่มีปัญหา สมาธิสั้น ดื้อต่อต้าน.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2562;64:163-76.
ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร, ธันวรุจน์ บูรณะสุขสกุล, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, ทรงภูมิ เบญญากร. คุณสมบัติของแบบคัดกรองโรคสมาธิสั้นชื่อ Swanson, Nolan, and Pelham IV Scale (SNAP – IV) และ Strengths and Difficulties Questionnaire ส่วนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง/สมาธิสั้น (SDQ – ADHD) ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย2557;59;97–110.
Dekkers TJ. Hornstra R, Oord SVD, Luman M, Hoekstra PJ, Groenman AP, et al. Meta – analysis: Which Components of Parent Training Work for Children with Attention – Deficit/Hyperactivity Disorder?. Journal of the American Academy of Child & Adolescent Psychiatry 2021;61:478-94.
กัลยา สุวรรณสิงห์, อรวรรณ หนูแก้ว, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, กัลยา โหดหีม. ผลของโปรแกรมปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นสำหรับผู้ปกครองต่อปัญหาพฤติกรรมในเด็กสมาธิสั้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2563;34:37-51.
Corey LH. Improvements in parenting stress and self-efficacy following behavioral parent training for children with ADHD [Degree Doctor of Philosophy]. St. Houston, Texas: University of Houston; 2014.
ตริยา เลิศหัตถศิลป์. รายงานการวิจัยประสิทธิภาพของโปรแกรมกลุ่มฝึกอบรมผู้ปกครองเพื่อปรับพฤติกรรม ผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ; โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติภาควิชาจิตเวช; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง