ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3

ผู้แต่ง

  • สำราญ พูลทอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม
  • สุปราณี เมืองโคตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม
  • วิลาวัลย์ หลักเขต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม

คำสำคัญ:

การส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการตนเอง, ชะลอไตเสื่อม, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยและยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 40 รายที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสนับสนุนการจัดการตนเองและติดตามเยี่ยมบ้านระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบประเมินความรู้เรื่องไตเสื่อม พฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.80 และ 0.86 ตามลำดับ และผลลัพธ์ทางคลินิกอัตราการกรองของไต (eGFR) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired t-test  ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมในการส่งเสริมสุขภาพในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) นอกจากนี้    กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีค่าระดับการกรองของไตคงที่ ร้อยละ 57.5 และมีค่าการกรองของไตดีขึ้น ร้อยละ 25.0 อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยระดับการกรองของไตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสนับสนุนการจัดการตนเองมีประสิทธิผลในการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ความสามารถของตนเองในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ถึงแม้โปรแกรมจะไม่สามารถทำให้อัตราการกรองแตกต่างจากก่อนทดลอง แต่ควรส่งเสริมการนำโปรแกรมนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่องในคลินิกโรคเรื้อรัง เพื่อปรับพฤติกรรมการจัดการตนเองและชะลอไตเสื่อมได้

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง CKD ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

กันตาภัทร บุญวรรณ, ชัชวาล นามสารี, กัลยภรณ์ เชยโพธิ์. โรคไตเสื่อมเรื้อรังระยะที่ 3-4: การพยาบาลด้วยการสอนสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย 2560;13:48-61.

จันทร์เพ็ญ หวานคำ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและค่าเฉลี่ยความดันหลอดเลือดแดงของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.

จันจิรา หินขาว, สุนทรี เจียรวิทยกิจ, ขนิตฐา หาญประสิทธิคำ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสื่อมของไตระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2562;30:185-202.

ขวัญเรือน แก่นของ, ศิริรัตน์ อนุตระกูลชัย, สุณี เลิศสินอุดม, อัมพรพรรณ ธีรานุตร. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัวเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-3 a. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37:211-20.

ชญานิศ ศุภนิกร, วีณา เที่ยงธรรม, เพลินพิศ บุณยมาลิก. โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562;29:156-77

วีนัส สาระจรัล, แอนนา สุมะโน. ผลของกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง ชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;3:13-25.

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the health belief model Health Education Quarterly 1988;15:75-183

Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self management methods. In: F.H. Kanfer, & A. Goldstein, editor. Helping people change: textbook of methods. New York Pergamon; 1991. p. 305-60.

สุปราณี เมืองโคตร, สำราญ พูลทอง. ผลการใช้นวัตกรรมสตาร์เตือนไต ต่อการรับรู้ระดับการทำงานของไต และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมในคลินิกเรื้อรัง. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปทุม; 2561.

Samuel BB, Thomas H, George FM. Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company; 1971.

Best JW, and KahnJV. Research in education. 8th ed. Singapore: Allyn and Bacon. 1981.

นุสรา วิโรจนกูฎ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรู้ การจัดการตนเองและการมีส่วนร่วม ของผู้ดูแลต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดและการชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;31:41-48

นุชนาฏ ด้วงผึ้ง. ผลของการส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหารเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเสื่อมระยะที่ 3. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 2562;17:19-31

นิภาภรณ์ กองทอง. การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะไตวายเรื้อรังของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2557.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557.

วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, สมจิต แดนสีแก้ว, นพนันท์ ชัยภูมิ รุ่งทิวา ขันธมูล และคณะ. สถานการณ์การรับประทานอาหารโซเดียมสูงและการรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารโซเดียมสูงกับการเกิดโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;36:242-50

ภัทริยา อัยวรรณ. การพัฒนาแนวการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

สุวัฒนา อ่อนประสงค์, บุญทนากร พรมภักดี, กรรณิการณ์ ตฤณวุฒิพงษ์, วิราสินี สีสงคราม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์เมต้า. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562; 26:96-107.

สังคม ศุภรัตนกุล. แบบแผนครอบครัวในการชะลอความเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารควบคุมโรค 2561;44:92-101

Armitage P, Berry G, Matthews JNS. Statistical Methods in Medical Research. 4th ed. Oxford: Blackwell; 2002.

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice – Hall; 1977.

Chow S-C, Shao J, and Wang H. Sample Size Calculations in Clinical Research. 2nd ed. New York: Stata Corp LLC; 2013.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-31