การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชา ทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ธานี นามม่วง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, รูปแบบ, พฤติกรรม, กัญชาทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นทางเลือกหนึ่งที่สร้างความสนใจสำหรับทีมสุขภาพและผู้ป่วยเบาหวานเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของประเด็นดังกล่าวที่เหมาะสม ควรได้รับการพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้       มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และความรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์และความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (327 คน) ด้วยแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ ให้ข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 3) การทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ที่เกี่ยวข้อง (30 คน) ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งมีความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ โดยรวมอยู่ในระดับไม่ดีพอ (64.22%)  และมีความต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ในการรักษาบรรเทาโรค (59.94 %) 2) รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ฯ ประกอบด้วย 4 กระบวนการหลัก คือ (1) การวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของสาเหตุความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมต้องการใช้กัญชาทางการแพทย์ (2) การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักการใช้กัญชาทางการแพทย์ (3) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ (4) การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา และ 3) ผลการประเมินก่อนและหลังใช้รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้กัญชาทางการแพทย์เพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า รูปแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ ที่พัฒนามีสอดคล้องกับพื้นที่ช่วยส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการใช้กัญชาทางการแพทย์ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานได้

References

United Nations. World Drug Report 2019 [Internet]. 2019 [cited 2022 Feb 16]. Available from: https://wdr.unodc.org/wdr2019/

H focus เจาะลึกระบบสุขภาพ. รมว. สธ. ย้ำกฎหมายอนุญาตนำกัญชาไปใช้เฉพาะประโยชน์ทางการแพทย์เท่านั้น [อินเตอร์เน็ต]. 2019 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/04/17119

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/Laws/64T_0074.PDF

กวี ไชยศิริ. พืชกัญชาไทยศิวิไลซ์กัญชงองค์รวมมนุษยชาติ. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2562.

United Nations Office on Drug and Crime. World Drug Report 2018 [Internet]. 2018 [cited 2022 Feb 02]. Available from: https://www.unodc.org/wdr2018/

World Health Organization. Health Promotion Glossary. Switzerland; 1998.

จิระภา ขำพิสุทธิ์. ความฉลาดทางสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการวัดผลการศึกษา 2562;24:67-78.

พิมพ์พิสาข์ จอมศรี, มัลลิกา มาตระกูล, วุฒิชัย ไชยรินคำ, ธวัชชัย ใจคำวัง และ สุรินทร์พร ลิขิตเสถียร. รายงานวิจัยการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความรู้ทางสุขภาพต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างถูกต้องในประชาชนจังหวัดเชียงราย [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 28 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cads.in.th/cads/media/upload/1613622254-Canabis%20Full_V5%20cutoff%20EN.pdf

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.

Nutbeam D. Health Literacy as a Public Health Goal: A Challenge for Contemporary Health Education and Communication Strategies. into the 21st Century. Health promotion international 2000;15:259-67.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

ศิริลักษณ์ อัคพิน, กรกนก เสาร์แดน, ลลดา ทองจำนงค์, ญาตาวี เซ็นเชาวนิช. ความรอบรู้ ด้านสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อการใช้กัญชาในทางการแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 21 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_research/research_Split/14.pdf

อิสรภาพ มาเรือน. รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักของผู้สูงอายุต่อผลกระทบของการใช้สารเสพติดประเภทกัญชา โดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31