ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วย มะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา

ผู้แต่ง

  • เพชรไทย นิรมานสกุลพงศ์ สาขาการจัดการระบบสุขภาพปฐมภูมิ มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
  • จุฑามาศ แก้วจันดี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น

คำสำคัญ:

โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, รังสีรักษา , มะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

มะเร็งเต้านมเป็นโรคเรื้อรังที่คุกคามต่อสุขภาพสตรี รังสีรักษาเป็นมาตรฐานการรักษาวิธีหนึ่งสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม การเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างได้รับรังสีรักษาจะทำให้การรักษาล่าช้า ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการรักษาลดลง จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากรังสีรักษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา ณ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจากสูตรการคำนวณเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยกลุ่มเดียว ได้จำนวน 35 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากเลขประจำตัวผู้ป่วย ระยะเวลาการวิจัย 12 สัปดาห์ จัดกิจกรรมจำนวน 6 ครั้ง กรอบแนวคิดประยุกต์ ตามแบบจำลองสร้างเสริมสุขภาพของ Pender เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือในการทดลอง  คือ โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา จำนวน 6 ครั้ง เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถ และแบบสอบถามพฤติกรรม ประเมินคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและประเมินความเชื่อมั่นด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่า Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ .80  .89  .82 และ .69 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทีคู่ ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้ประโยชน์  ของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้ความสามารถของตนเอง  และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างมากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)  ดังนั้นโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ส่งผลให้รักษาครบตามแผนการรักษา จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับรังสีรักษาในโรงพยาบาลอื่นๆ ต่อไป

References

World Health Organization (WHO). Breast Cancer [internet]. 2021 [cited 2021 June 20]. Available from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/breast-cancer

International Agency for Research on Cancer. World Health Organization [internet]. 2018 [cited 2021 June 20]. Available from: https://gco.iarc.fr › tomorrow › graphic-isotype

Rojanamatin J, Ukranun W, Supaattagorn P, Chaiwiriyabunya I, Wongsena M, Chaiwerawattana A, et al. Cancer in Thailand Volume X 2016 - 2018 [internet]. 2021 [cited 2021 June 20]. https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html

ศรัณย์ กิจศรัณย์. แผนการดำเนินงาน Service Plan เขตสุขภาพที่10 ปี2565 สาขาโรคมะเร็ง. ใน: ศรัณย์ กิจศรัณย์, บรรณาธิการ. การประชุมคณะกรรมการระบบบริการสุขภาพ Service Plan เขตสุขภาพที่ 10; 1 พฤศจิกายน 2564; โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. อุบลราชธานี: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 2557.

งานทะเบียนมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี. สถิติโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี (Hospital base cancer registry) ปี พ.ศ.2562. อุบลราชธานี: โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท; 2562.

ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์, อนุชตรา วรรณเสวก, ชลิยา วามะลุน, ศิริลักษณ์ เงยวิจิตร. ประสิทธิผลของครีมป้องกันการสูญเสียน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังระหว่างการฉายรังสี. มะเร็งวิวัฒน์วารสารสมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย 2559;22:55-61.

American Cancer Society. Breast cancer fact and figures 2007-2008. Atlanta: American cancer society; 2017.

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล.วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38:132-41.

ขวัญใจ ลอยแก้ว, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธรม, ธวัชชัย วรพงศธร, เกษม ชูรัตน์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์โมเดลการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2562;63:285-96.

Pender NJ, Murdaugh CL, & Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 5th ed. New Jersey: Pearson Education Inc; 2006.

อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์. ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2557.

ขวัญใจ ลอยแก้ว, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธรม, ธวัชชัย วรพงศธร, เกษม ชูรัตน์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์โมเดลการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2562;63:285-96.

ทรงเดช ประเสริฐศรี, อาภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ จำนวนเม็ดเลือดขาว อัตราการติดเชื้อ และคุณภาพชีวิต. วารสารสมาคมพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555;33:92-101.

Alhamss AR. Health promotion program among breast cancer clients receiving chemotherapy in south governorates in Gaza. European journal of business and management 2014;13:129-40.

จารุวรรณ ป้อมกลาง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม ระยะหลังการรักษาครบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2556.

วิชาญ มีเครือรอด. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพ ดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิต ของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563;1:70-85.

พรรณี ปิติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร. ตำราการวิจัยทางคลินิก (Textbook of clinical research). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง; 2554.

Hamed Bieyabanie M, Mirghafourvand M. Health promoting lifestyle and its relationship with self-efficacy in iranian mastectomized women. Asian Pac J Cancer Prev 2020; 21:1667-1672. doi:10.31557/APJCP.2020.21.6.1667

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26