ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ ในตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พุทธิพร พิธานธนานุกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ปัจจัย, ความสัมพันธ์, สุขภาวะแบบองค์รวม , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุ เป็นแนวทางให้บุคคลที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 180 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการมีส่วนร่วมกับชุมชน แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ และแบบประเมินสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีตา และสหสัมพันธ์เพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสุขภาวะแบบองค์รวมในระดับสูง ร้อยละ 58.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ (Eta = .149, p = .035) การเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ (Eta = .251, p < .001) โรคประจำตัว (Eta = .335, p < .001) สถานะทางการเงิน (Eta = .367, p < .001) การรับรู้ ภาวะสุขภาพ (Eta = .688, p < .001)  การร่วมกิจกรรมในชุมชน (Eta = .641, p < .001) ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรม (r = .585, p < .001)  การสนับสนุนทางสังคม (r = .609, p < .001)  ความผาสุกทางจิตวิญญาณ (r = .689, p < .001) และ ภาวะซึมเศร้ามี (r = - .423, p < .001) จากการวิจัยทำให้เห็นว่า การพัฒนาโปรแกรมหรือโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้สูงอายุ พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุควรคำนึงถึงปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ภาวะสุขภาพ การร่วมกิจกรรมในชุมชน ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมภาวะซึมเศร้า การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณ

References

Beauchet O. Care of the Older Person [Internet]. 2019 [cited 2023 May 1]. Available from: https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&db=e680tww&AN= 2345917&site=ehost-live

สุภาดา คำสุชาติ. ปัญหาและความต้องการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26:1156-1164.

WHO. World report on ageing and health [Internet]. 2015 [cited 2022 Sep 4]. Available from: https://books.google.co.th/books?id=n180DgAAQBAJ&lpg=PP1&ots= uTG6lmQZk5&dq=World%20Health%20Organization.%20World%20report%20on%20ageing%20and%20health&lr&hl=th&pg=PR2#v=onepage&q&f=false

วิไลพร วงค์คินี. ปัจจัยทำนายพฤฒพลังของประชากรเขตเมือง จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร 2556;40:91-99.

Dahlgren G, Whitehead M. Policies and strategies to promote social equity in health. Stockholm: Institute for Future Studies; 1991.

อภิรดี โชนิรัตน์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, ศริยามน ติรพัฒน์. ปัจจัยทำนายการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563;31:93-108.

ชุติมา สินชัยวนิชกุล, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19:100-109.

Manasatchakun P, Chotiga P, Hochwälder J, Roxberg A, Sandborgh M, Asp M. Factors Associated with Healthy Aging among Older Persons in Northeastern Thailand. Journal of Cross-Cultural Gerontology [Internet]. 2016 [cited 2021 Dec 14];31:369–384. Available from: DOI 10.1007/s10823-016-9296-y

Kim WK. The mediated effect of expectation about aging in correlation between health perception and successful aging in elderly participating in dance sports. The Journal of Korean Dance 2018;36:53–72.

Han K, Lee YJ, Gu J, Oh H, Han JH, Kim KB. Psychosocial factors for influencing healthy aging in adults in Korea. Health and Quality of Life Outcomes [Internet]. 2015 [cited 2021 Dec 14];13:31. Available from: https://hqlo.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12955-015-0225-5

สุชาดา สมบูรณ์, ศิริลักษณ์ โสมานุสรณ์, ชมนาด สุ่มเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุ. วารสารเกื้อการุณย์ 2561;25:141-153.

สมหญิง ฤทธิ์ลือไกร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูงวัยอย่างมีสุขภาวะของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 10, อุดรธานี; 2559. หน้า 2191-2200.

องค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่. ข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://duanyai.go.th/public/

Walter, S. Holistic Health [Internet]. 2564 [cited Feb 28]. Available from: https://ahha.org/selfhelp-articles/holistic-health/

Thorndike R. Correlational procedures for research. New York: Gardner Press, Inc; 1978.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

Wongpakaran N, Wongpakaran T. Prevalence of major depressive disorders and suicide in long-term care facilities: a report from northern Thailand. Psychogeriatrics. [Internet]. 2012 [cited 2021 Dec 14];12:11-17. Available from: https://doi.org/10.1111/j.1479-8301.2011.00383.x

วิลาวัลย์ รัตนา. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2552.

Best JW. Research in education. 3rd edition. New York: McGraw-Hill; 1997.

ธนิญา น้อยเปียง. การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

ศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล. นวัตกรรมเทคโนโลยีการประเมินสุขภาพแบบองค์รวม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

รัตน์ศิริ ทาโต. การวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.

Charis WL, Luo N, Heng BH. Health status profiles in community-dwelling elderly using self-reported health indicators: a latent class analysis. Quality of Life Research 2014;23:2889-2898.

ศิริพันธุ์ สาสัตย์. การพยาบาลผู้สูงอายุ ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.

Chang JY, Boo KC. Self-rated health status of Korean older people: An introduction for international comparative studies. Korea Journal of Population Study 2007;30:45–69.

Jung HY, Jeong HM. The effect of perceived health status and society support and health promotion behaviors on successful aging of the elderly in rural area. JKDAS 2016;18:2167–81.

วณิชา พึ่งชมภู. การพยาบาลผู้สูงอายุ: ประเด็นทางสุขภาพที่น่าสนใจ. เชียงใหม่: เอ็น.พี.ที.ปริ้นติ้ง; 2563

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ, ยุวดี รอดจากภัย. สุขภาวะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2561;13:113-127.

ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณ บุญสุยา, นพพร โหวธีระกุล. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2554;41:229-239.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

สา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:24-31.

Cha KS, Lee HS, Kim C, Kim EM. The level of successful aging and influencing factors of the community elderly. Korean Journal of Health Promotion 2019;19:39–48.

Adams TB, Bezner JR, Drabbs ME, Zambarano RJ, Steinhard MA. Conceptualization and measurement of the spiritual and psychological dimensions of wellness in a college population. Journal of American college health 2000:48:165-173.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26