การประยุกต์ใช้นวัตกรรมโปรแกรมประยุกต์ “มาม่า” บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
การตั้งครรภ์, โปรแกรมประยุกต์ “มาม่า”, แอปพลิเคชันบทคัดย่อ
การส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเข้าถึง สร้างความเข้าใจ และการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องกับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามยังมีข้อจำกัดการประเมินผลจากการใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือเพื่อการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการประยุกต์ใช้นวัตกรรมโปรแกรมประยุกต์ “มาม่า” เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) แบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง (one-group with pretest and posttest) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ความเข้มข้นของของเลือดและน้ำหนักตัวเฉลี่ยก่อนคลอด และความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลประจำอำเภอแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (N = 30) เครื่องมือในการวิจัยเป็นสอบถาม แบบวัด และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Paired-t test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังทดลอง 1) มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ (= 28.56, S.D. = 4.78; = 37.25, S.D. = 3.25) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพในระยะตั้งครรภ์ ( = 165.18, S.D.= 12.48 ; (= 171.10, S.D. = 9.13) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ตามลำดับ 2) ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของเลือด หลังทดลอง (Hct = 36.35%) มากกว่าก่อนการทดลอง (Hct = 35.01%) เท่ากับ .34% และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากก่อนตั้งครรภ์โดยเฉลี่ย เท่ากับ 11.18 กิโลกรัม และ 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมแอปพลิเคชัน “มาม่า” โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.62) แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้นวัตกรรมโปรแกรมประยุกต์ “มาม่า” บนโทรศัพท์มือถือ ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีระดับความเข้มข้นของเลือดและน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นจากก่อนตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น แอปพลิเคชั่น “มาม่า” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ให้สามารถดูแลตนเองได้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบัน
References
กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร. ความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก. 2559:17;7-11.
จันทกานต์ กาญจนเวทางค์, ธรา อั่งสกุล, ปัทมา ทองดี, แมนวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล. รายงานการวิจัยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมโปรแกรมประยุกต์ "เพร็กแคล" บนโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น: การศึกษานำร่อง ณ โรงพยาบาลโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2562.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New Jersey, U.S: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.
Pender NJ, Carolyn M, Mary AP. Health promotion in nursing practice. USA: Prentice Hall; 2006.
Djuwitaningsih S, Setyowati. The Development of an Interactive Health education Model Based on the Djuwita Application for Adolescent Girls. Comprehensive child and adolescent nursing. Stroke 2017;40. doi: 10.1080/24694193.2017.1386986
Joyce H. App challenged: Are midwives prepared. Australian Nursing & Midwifery
Journal 2016:23;32-9.
สุธิดา นครเรียบ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ, สงคราม โชติกอนุชิต, วชิรศักดิ์ วานิชชา. ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล 2560;35:58-69.
ธิติพร สุวรรณอำภา, ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้โมบาย
แอปพลิเคชันต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล 2566;38:98-111.
อัมพร ขันจันทร, ลาวัลย์ ตันสกุลรุ่งเรือง, เสาวนีย์ สมันต์ตรีพร, ศิริพร สัจจานันท์. ประสิทธิผลของโมบาย
แอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้เรื่องการรักษาโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ด้วยไอโอดีนรังสี-131 ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2564;7:273-84.
ปิยะพร ศิษย์กุลอนันต์ และพรสวรรค์ คําทิพย์. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองและการติดตามด้วยแอพพลิเคชั่น LINE ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายแกว่งแขน และระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล 2563;35:52-69.
Kusnanto, Widyanata KAJ, Suprajitno, Arifin H. DM-calendar app as a diabetes self-management education on adult type 2 diabetes mellitus: a randomized controlled trial. J Diabetes Metab Disord 2019;18:557-63. doi: 10.1007/s40200-019-00468-1. PMID: 31890682; PMCID: PMC6915201.
อินทิรา สุขรุ่งเรือง และดาราวรรณ รองเมือง. การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือต่อภาวะแทรกซ้อนจากการล้างไตทางช่องท้องและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2021;32:171–88.
โบว์ชมพู บุตรแสงดี, ชลดา จันทร์ขาว. ผลของการใช้แอปพลิเคชันในการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคลอดต่อการเผชิญความเจ็บปวดระยะคลอดและการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของสตรีวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลกาชาดไทย 2564:14;241-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง