คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ COVID-19 ตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
โควิด-19, โรคเรื้อรัง , คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของโรค COVID-19 จะเห็นว่ากลุ่มผู้ที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมักจะเกิดผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าคนปกติทำให้เป็นปัญหาสุขภาพตามมาส่งผลต่อคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทั้งเพศชายและเพศหญิง ในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 291 ราย เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หาความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ COVID-19 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 87.60, S.D. = 15.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง พบว่า รายได้มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r = -.12) และการเข้าถึงบริการสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิต ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (rs = .75) ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการดูแลสำหรับพยาบาลในการจัดบริการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านและชุมชนในสถานการณ์ COVID-19 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/.
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดอุบลราชธานี. การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phoubon.in.th/
วิเชียร มันแหล่, บุญยิ่ง ประทุม, สุรศักดิ์ แก้วอ่อน, กรกฎ จำเนียร. ผลกระทบและการปรับตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬา นาครทรรศน์ 2564;11:327-40.
สุจรรยา โลหาชีวะ. การเผชิญความเครียดในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2565;1:1-11.
Abdelghani M, Hamed MG, Said A, Fouad E. Evaluation of perceived fears of COVID-19 virus infection and its relationship to health-related quality of life among patients with diabetes mellitus in Egypt during pandemic: a developing country single-center study. Diabetol Int. 2021;13:108-16. doi: 10.1007/s13340-021-00511-8.
ประภา ราชา, จารุภา คงรส, ธนพร สดชื่น. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;3:414-26.
กุลวดี กุลสุนทร, เกศรินทร์ วิงพัฒน์, โชติ บดีรัฐ. แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19. Journal of Roi Kaensarn Academi 2564;11:288-302.
กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559 – 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/ documents-detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020.
ศกุนตลา อนุเรือง. ภาวะโรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ: สถานการณ์ ประเด็นท้าทาย และการจัดการดูแล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560;2:1-14.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองศรีไค. ข้อมูลทั่วไปตำบลเมืองศรีไค [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 9 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://group.surinpho.go.th/qualityservice/wp-content/uploads/2020/01
กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) สำหรับโรงพยาบาล. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://stopcovid.anamai.moph.go.th/attach/w774/f20211201211017_iXg45j3zsx.pdf
นพนัฐ จำปาเทศ, ละเอียด แจ่มจันทร์, พัชราภรณ์ ฝ่ายหมื่นไวย์. บทบาทพยาบาลในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561;42: 153-64.
ปัฐยาวัชร ปรากฏผล, เยาวดี สุวรรณนาค, อรุณี ไชยฤทธิ์, บุญสืบ โสโสม, สราวุฒิ สีถาน, มยุรี สร้อยศรีสวัสดิ์ และคณะ. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. สระบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2558.
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, พิชสุดา เดชบุญ, กฤติเดช มิ่งไม้, ศศิวิมล โพธิ์ภักตร์, สานุรักษ์ โพธิ์หา, สุชานรี พานิชเจริญ. คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพูจังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์ 2559;2:17-25.
จันจิรา หินขาว ยศพล เหลืองโสมนภา, นวนันท์ ปัทมสุทธิกุล, จีราภา ศรีท่าไฮ, สุกัญญา ขันวิเศษ, ปิยวดี พุฒไทย. ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;1:24-31.
นุจรินทร์ โพธารส. เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตทางสุขภาพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอัสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;3:36-43.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30:607-10.
กฤติเดช มิ่งไม้. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอวิเศษชัยชาญจังหวัดอ่างทอง.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560;1:14-24.
ศรีบุศย์ ศรีไชยจรูญพงศ์, ธวัชชัย อินทะสร้อย, อภิญญา เพชรวิสัย, รุ่งทิพย์ ไพศาล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเชียงเครือโพธิ์ชัย ตำบลเชียงเครืออำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559;3:23-33.
กากิตติพงษ์ สีลสุทฺโธ, สุชน ประวัติดี. การปรับพฤติกรรมสุขภาวะองค์รวมของมนุษย์ในสังคมไทยกับโรคโควิด-19 ตามหลักพุทธจิตวิทยา. วารสารมหาจุฬาวิชาการ 2563;3:85-96.
ธีระพงษ์ ทศวัฒน์, ปิยะกมล มหิวรรณ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2563;9:40-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง