ผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยง การเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ชุมชนตำบลโนนกอก จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • พิยดาพร งาหัตถี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กิตติภูมิ ภิญโย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

โรคเบาหวาน เป็นปัญหาที่สำคัญของสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการเกิดโรคในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพอาจเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันกลุ่มดังกล่าว การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานชุมชนตำบลโนนกอก จังหวัดชัยภูมิ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (กลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 25 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ประยุกต์ใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง(Paired t-test และ Independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการเข้าโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนทดลองใช้โปรแกรมฯ และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานต่ำกว่า ก่อนการทดลอง และต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ โดยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดด้วยการเจาะปลายนิ้วในกลุ่มทดลองดีกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรมฯ และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มทดลองดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือพยาบาลชุมชนสามารถนำโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมกลุ่มโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โปรแกรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง

References

Diagnosing diabetes. Understanding A1CDiagnosis [Internet]. 2014 [cited 2020 Nov 3]. Available from: https://diabetes.org/diabetes/a1c/diagnosis

กองนวัตกรรมและวิจัย. แผนงานวิจัยด้านการป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ. 2562–2564 [อินเทอร์เน็ต] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/d3d9446802a44259755d38e6d163e820/files/22032562.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.phpsource=formatted/screen_risk.php&cat

Nut beam D. Health Literacy as a public health goal: A Challenge for Contemporary Health Education and communication strategies into the 21st Century. Health Promotion International 2000;15:259–67.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ. 2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2561). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

ถนัต จ่ากลาง. ประสิทธิผลการจัดการสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2560;4:152-62.

ภานุวัฒน์ ปานเกตุ. 3 อ. 2 ส. ลดการเกิดโรคเรื้อรัง. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

จุรีพร คงประเสริฐ, ธิดารัตน์ อภิญญา. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

กองสุขศึกษา. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2561.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. การคำนวณขนาดตัวอย่าง.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2550;16:159-60

ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ, รุจิรา ดวงสงค์. ศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563;13:56-68.

อัจฉรา จิตรใจเย็น, ศศิธร รุจนเวช, นงพิมล นิมิตรอานันท์. ศึกษาผลผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2563;22:321-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-30