การพัฒนาแนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาแนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ, การมีส่วนร่วมของชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและพัฒนาแนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 67 คน ขั้นตอนดำเนินการวิจัยคือ การวิเคราะห์สถานการณ์ การวางแผน การปฏิบัติ การสะท้อนผล และการประเมินผลเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับมีการรับรู้เรื่องโรค พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคและความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมระดับปานกลาง หน่วยงานในชุมชนมีการรับรู้เรื่องโรคน้อย การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนไม่เกิดความต่อเนื่องและขาดแนวทางในการป้องกันโรค 2) ระยะการพัฒนาแนวทางดำเนินกิจกรรมคือ (1) กิจกรรมสร้างการรับรู้และส่งเสริมความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (2) กิจกรรมกลุ่ม “กุดกว้างปลอดพยาธิ ไม่กินปลาดิบ” (3) กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแส (4) กิจกรรมสนับสนุนทางสังคมในการติดตามเยี่ยมบ้าน (5) กิจกรรมการยกระดับข้อตกลงสู่มาตรการทางชุมชน (6) บรรจุการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในธรรมนูญสุขภาพตำบล การประเมินผลพบว่า กลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มติดเชื้อโรคพยาธิใบไม้ตับ มีการรับรู้เรื่องโรค พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคและความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกกินปลาดิบอยู่ในระดับสูง ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค เกิดการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนอย่างเหมาะสม บรรจุการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับในธรรมนูญสุขภาพตำบล ส่งผลให้เกิดแนวทางการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
References
กรมควบคุมโรค. การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/index.php.
ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์. ปรสิตวิทยา สำหรับพยาบาลและสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: มิตรภาพการพิมพ์; 2561.
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. คู่มือปฏิบัติงานโครงการควบคุมโรคหนอนพยาธิในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี. สถิติและอุบัติการณ์การเกิดโรค [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://cca.in.th/wpth/key-statistics/
สำนักงานสาธารสาธารณสุขจังวัดขอนแก่น. เดินหน้าขจัดภัยพยาธิใบไม้ตับ [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 4 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.kkpho.go.th/
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง. โครงการคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. ขอนแก่น: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง; 2562.
เทพพร มังธานี. วัฒนธรรมไท-ลาวกับการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี: กรณีศึกษาลุ่มน้ำสงครามตอนกลาง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27:60-82.
วรลักษณ์ เวฬุ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, จมาภรณ์ ใจภักดี. รูปแบบการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ตำบลบ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี.มหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2562;5:107-19.
Becker MH, Maiman LA. Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Medical Care 1975;13:10–24.
ฉัตรชัย คำดอกรับ, เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 41 ปีขึ้นไป อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561;21:75-83.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง. โครงการคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี. ขอนแก่น: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดกว้าง; 2562.
Kemmis S, McTaggart R. Participatory action research: Communicative action and the public sphere. In: Denzin N, & Lincoln Y. (Eds.). The Sage handbook of qualitative research. p. 559-603. 3rd ed. Los Angeles: Sage; 1988.
ธนกร จันทาคึมบง, ชาญณรงค์ ทรงคาศรี, พงษ์ศักดิ์ รัตนแสง. ผลของการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557;23:822-31.
ธีรศักดิ์ พรหมพันใจ, ปริยกร ชาลีพรม, วิมลพันธ์ กมลเพ็ชร, อินท์ฉัตร สุขเกษม, ประดิษฐ์ ทองจุ่น. การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับโดยชุมชน ในชุมชนแห่งหนึ่งของตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง