การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ระยะเฉียบพลันด้วย 7 Aspects Model of Care

ผู้แต่ง

  • สุธาวัลย์ สัญจรดี โรงพยาบาลสุรินทร์
  • พนิดา พวงไพบูลย์ โรงพยาบาลสุรินทร์
  • นิสากร เห็มชนาน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน , รูปแบบการพยาบาล , 7 aspects model of care

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในระยะเฉียบพลันด้วย 7 Aspects model of care  กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันระยะเฉียบพลัน ในโรงพยาบาล  เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน Stroke unit และได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt.PA) จำนวน 30 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ใน Stroke unit จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยคือ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในระยะเฉียบพลันด้วย 7 Aspects model of care  แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลแบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา  Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ในระยะเฉียบพลันด้วย 7 Aspects model of care ประกอบด้วย 1) การประเมินผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ 2) การจัดการกับอาการรบกวนต่างๆ 3) การดูแลความปลอดภัย 4) การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น 5) การให้การดูแลต่อเนื่อง 6) การสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการและ 7) การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ หลังการใช้รูปแบบการพยาบาล พยาบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ด้านปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีทัศนคติเชิงบวกต่อการปฏิบัติการพยาบาล มีทักษะปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นระบบมากขึ้น เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพการพยาบาล Door to needle time แนวโน้มลดต่ำกว่า 60 นาที ผู้ป่วยได้รับการดูแลและประเมินอาการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีการเกิดพลัดตกหกล้ม หลอดเลือดดำอุดตัน และติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนปอดอักเสบ แผลกดทับต่ำกว่าเกณฑ์และแนวโน้มลดลง ผู้ป่วยและพยาบาลพึงพอใจ รูปแบบการพยาบาลฯ ด้วย 7 Aspects Model of Care สามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

References

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์, ธน ธีระวรวงศ์. แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์ Clinical Practice Guidelines for Ischemic Stroke. สถาบันประสาทวิทยา (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2562.

นิภาพร บุตรสิงห์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน.วารสารสภาการพยาบาล 2562;34:15-29.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: ธนาเพรส; 2558.

กรมควบคุมโรค. โรคหลอดเลือดสมอง [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 พ.ย. 2563] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.phpd=48

กันติมาภรณ์ วิวัฒน์ตระกูล, ลัดดา อะโนศรี. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารวารกองการพยาบาล 2560;44:26-45.

กองการพยาบาล. การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล. งานบริการพยาบาลผู้ป่วยใน. กรุงเทพ: สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข; 2544.

เสาวลักษณ์ เกษมสุข, วีนารัตน์ กันจีน๊ะ และดารณี ศิริบุตร. การเกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวนวันนอนโรงพยาบาล และการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 28 วันภายหลังการใช้ระบบการดูแลแบบ 7 ASPECTS OF CARE ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกหอผู้ป่วยนรีเวชกรรมรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2562;11:85-91.

Winstein CJ, Stein J, Arena R, Bates B, Cherney LR, Cramer SC, et al. Guidelines for adult stroke rehabilitation and recovery: A guideline for healthcare professionals from the American heart association/American stroke association. Stroke 2016;47:98-169. doi: 10.1161/STR.0000000000000098.

บุญญรัตน์ เพิกเดช. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2563;34:7-21.

ยุวดี ผงสา. ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563;2:139-153.

อมรรัตน์ กุลทิพรรธน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจรรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวงจร เครือข่ายโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;34:7-21.

ไพรวัลย์ พรมที, กรัณย์พิชญ์ โคตรประทุม, สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ. รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) แผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2564;39:128-137.

เอื้อมพร กาญจนรังสิชัย, วนิดา ประดุจจักราพล, ดวงใจ อาพร. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558;33:12-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-20