ผลลัพธ์ทางการพยาบาลระหว่างส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่องในผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

ผู้แต่ง

  • พิไลพร สุริยขันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชัจคเณค์ แพรขาว คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้ป่วย, บาดเจ็บทางสมอง , การส่งต่อ , ผลลัพธ์ทางการพยาบาล

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองถือเป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง การส่งต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่อาการแย่ลงได้ในช่วงระหว่างส่งต่อรักษา การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ทางการพยาบาลของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระหว่างส่งต่อกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 แฟ้มเวชระเบียนและแบบบันทึกอาการผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระหว่างส่งต่อ ที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ และส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 102 แฟ้ม และกลุ่มที่ 2 คือพยาบาลที่ทำหน้าที่ด้านการส่งต่อ จำนวน 39 คน เครื่องมือวิจัยครั้งนี้คือแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระหว่างส่งต่อ และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) แบบเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย และแบบตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล ในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระหว่างส่งต่อบนรถพยาบาล 2) แบบสอบถามข้อมูลกลุ่มพยาบาล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปบุคคลของพยาบาลที่ทำหน้าส่งต่อ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระหว่างส่งต่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลวิจัยพบว่า 1) ผลด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยบาดเจ็บทางสมองในระหว่างการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลชี้ว่า ร้อยละ 1.96 ของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองมีความดันโลหิตต่ำเกิดภาวะช็อค ร้อยละ 0.98 ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับความรู้สึกตัว(Glasgow Coma Scale: GCS) เปลี่ยนแปลงหรือลดลง ในขณะที่ร้อยละ 97.10 ไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างการส่งต่อ 2) ผลลัพธ์ด้านระบบ พบว่าการบันทึกอาการผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและกิจกรรมพยาบาลระหว่างการส่งต่อครบถ้วนร้อยละ 75.50 และค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระหว่างส่งต่อในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.31, S.D. = 0.63) ดังนั้นการพยาบาลป่วยบาดเจ็บสมองระหว่างการส่งต่อจึงมีความสำคัญ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เพื่อให้บริการที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับการส่งต่อผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนากลาง. Service Profile งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาล นากลาง. หนองบัวลำภู: โรงพยาบาลนากลาง; 2562.

จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์, มยุนาศรี สุภนันต์, สุรีย์ จันทรโมรี, ประภา เพ็ญ สุวรรณ. การพัฒนารูปแบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะวิกฤต โรงพยาบาลนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;37:88-97.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง :มิติของการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33:15-29.

ดนุลดา จามจุรี. บทบาทและสมรรถนะของพยาบาลฉุกเฉินเมื่อก้าวสู่ยุคประชาคมอาเซียน. [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 5 พ.ย. 2563]; เข้าถึงได้จาก: http://www.bcn.ac.th/web/2011/Attachment/

นครชัย เผื่อนปฐม, ธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (Clinical Practice Guidelines for Traumatic Brain Injury). นนทบุรี: พรอสเพอรัสพลัส; 2562.

นพนันท์ วงค์ไชย, รสสุคนธ์ วิริทสกุล, นพมณี ตันติเวทเรืองเดช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการ ภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้บาดเจ็บทางสมองระดับเล็กน้อยหลังจำหน่ายกลับบ้าน จากแผนกฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลสาร 2565;49:252-69.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการ วัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

มณฑา คงรัสโร. การพัฒนาระบบการส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยวิกฤติของโรงพยาบาล ท่าชนะ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stpho.go.th

วรรณชนก จันทชุม. สถิติประยุกต์ทางพฤติกรรมศาสตร์พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for window. ขอนแก่น:ขอนแก่นการพิมพ์; 2545.

เศรษฐพงษ์ ธนูรัตน์, พรทิพา ตันติบัณฑิต, รัตติยา บรรจุงาม. แนวทางการปฏิบัติเพื่อการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างโรงพยาบาลในเขตจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น; 2560.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน. การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer). นนทบุรี: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.); 2557.

สุรีย์ ธรรมมิกบวร. การบันทึกทางการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นิวเวฟพัฒนาจำกัด; 2540.

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องการส่งเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.

Cochran WG. Sampling techniques. The United States of America; 1997.

Øvretveit J. An introduction to quality assurance in health care. J Epidemiol Community Health 2004;58:627.

Singh JM, MacDonald RD, Ahghari M. Critical events during land-based interfacility transport. Annals of emergency medicine 2014;64:9–15. doi: https://doi.org/10.1016/j.annemergmed.2013.12.009.

Srithong K, Sindhu S, Wanitkun N, Viwatwongkasem C. Incidence and Risk Factors of Clinical Deterioration during Inter-Facility Transfer of Critically Ill Patients, a Cohort Study. Arch Acad Emerg Med [Internet]. 2020 [cited 2021 Oct.12];8:e65. Available from: https://journals.sbmu.ac.ir/aaem/index.php/AAEM/article/view/803.

Staggers N, Jennings BM. The content and context of change of shift report on medical and surgical units. JONA: The Journal of Nursing Administration 2009;39:393-8. doi: 10.1097/NNA.0b013e3181b3b63a.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-17