โปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อการหายทุเลาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • ไพรัตน์ ชมภูบุตร สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • หทัยรัตน์ สายมาอินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จังหวัดนครปฐม
  • อัจฉริยาภรณ์ สุพิชญ์ สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • สุดารัตน์ พุฒพิมพ์ สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • สุทธยา แสงรุ่ง สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • หทัยรัตน์ ดิษฐ์อั๊ง สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • ประนอม แก้วกุล สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • ศุพัฒศร ผ่านทอง สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • วิภาดา พุ่มโพธิ์ สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต
  • สุธิสา ดีเพชร สำนักบริหารการพยาบาล โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, การหายทุเลา , ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ , ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

โรคซึมเศร้ามีผลต่อการดำเนินชีวิตและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเอง (Self-management program : sMP) ต่อการหายทุเลาและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยเปรียบเทียบกับจิตบำบัดประคับประคอง (Supportive psychotherapy : SPT)  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองจำนวน 15 คน และกลุ่มได้รับจิตบำบัดประคับประคองจำนวน 15 คน ผลลัพธ์ที่ประเมินประสิทธิผล คือ อัตราการหายและไม่กลับเป็นซ้ำ และคุณภาพชีวิต  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินอาการโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q) แบบวัดคุณภาพชีวิตและสุขภาวะ ด้วยตัวเอง (EQ5D5L) กลุ่มตัวอย่างจะถูกประเมินก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และประเมินระยะติดตามหลังสิ้นสุดการทดลองเดือนที่ 1, 2, และ 3 เดือน เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมานตามลักษณะของข้อมูล ผลการวิจัยได้โปรแกรมจัดการตนเองที่ชื่อว่า “โปรแกรมดูแลใจตนเอง” มี 3  ส่วน คือ 1) การสนับสนุนดูแลใจตนเอง 2) การดูแลใจตนเอง 3) การใช้ชีวิตกับสภาวะการเจ็บป่วย เมื่อนำไปทดลอง พบว่า กลุ่ม sMP มีอัตราการหายมากกว่ากลุ่ม SPT หลังสิ้นสุด การบำบัด เป็น 0.09 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) และในระยะติดตามเดือนที่ 1, 3 และ 3 เท่ากับ 0.89 เท่า, 0.67 เท่า, 0.33 เท่าตามลำดับ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) และ sMP มีโอกาส กลับเป็นซ้ำน้อยกว่ากลุ่ม SPT ในระยะติดตาม 1, 2 และ 3 เดือน เป็น 1.12 เท่า, 1.50 เท่า, 1.16 เท่า ตามลำดับอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p> 0.05) ส่วนคุณภาพชีวิตและภาวะสุขภาพโดยรวม หลังการทดลอง 3 เดือนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)

 

References

American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5th ed. Washington DC: American Psychiatric Association; 2013.

American Psychiatric Association [APA]. Practice guideline for the treatment of patients with major depressive disorder (third edition) [Internet]. 2010 [cited 2020 Oct 1]. Available from: http://www.psychiatryonline.com/pracGuide/pracGuideTopic_7.aspx

Beck A, Crain A, Solberg L, Unützer J, Glasgow R, Maciosek M, et al. Severity of Depression and Magnitude of Productivity Loss. Ann Fam Med [Internet]. 2011 [cited 2020 Oct 2]; 9:305-311. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3133577/pdf/0090305.pdf

GBD 2019 Diseases and Injuries Collaborators. Global burden of 369 diseases and injuries in 204 countries and territories, 1990–2019: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet [Internet]. 2020 [cited 2020 Oct 23]; 396:1204–22. Available from: https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S0140-6736%2820%2930925-9

National Clinical Practice Guideline. Depression in adults: the treatment and management. 2018 [cited 2020 Nov 25]. Available from: https://www.nice.org.uk/guidance/gid-cgwave0725/documents/short-version-of-draft-guideline

Novick D, Montgomery W, Vorstenbosch E, Moneta MV, Dueñas H, Haro, J M. Recovery in patients with major depressive disorder (MDD): results of a 6-month, multinational, observational study. Patient preference and adherence [Internet]. 2017 [cited 2020 Oct 30]; 11:1859–1868. Available from: https://doi.org/10.2147/PPA.S138750

Irene Romera, Víctor Perez and Inmaculada Gilaberte. Remission and functioning in major depressive disorder. Actas Esp Psiquiatr 2013;41:263-8.

ธรณินทร์ กองสุข, พฤศยน นินทนาวงศา, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธภักดี, สุพัตรา สุขาวห, นันทวัฒน์ โคตรเจริญ, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. การพัฒนาแบบจำลองการพยากรณ์การกลับซ้ำของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล ปี 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nrct.go.th/ข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่

Gournellis R, Tournikioti K, Touloumi G, Thomadakis C, Michalopoulou PG, Michopoulos I, et al. Psychotic (delusional) depression and completed suicide: a systematic review and meta-analysis. Ann Gen Psychiatry [Internet]. 2018 [cited 2020 Oct 3];17:39. Available from: https://doi.org/10.1186/s12991-018-0207-1

Zhang Y, Becker T, Ma Y, Koesters M. A systematic review of Chinese randomized clinical trials of SSRI treatment of depression. BMC Psychiatry [Internet]. 2014 [cited 2020 Nov 4]; 14:245. Available from: http://www.biomedcentral.com/1471-244X/14/245

Lia JM, Zhanga Y, Sua WJ, Liub LL, Gonga H, Penga W, et al. Cognitive behavioral therapy for treatment-resistant depression: A systematic review and meta-analysis. Psychiatry Research [Internet]. 2018 [cited 2020 Nov 4]; 268:243–250. Available from: https://www.researchgate.net/publication/326576557

Rungreangkulkij S, Wongtakee W, Thongyot S. Buddhist Group Therapy for Diabetes Patients with Depressive Symptoms. Archives of Psychiatric Nursing 2011; 23:195–205.

ธรณินทร์ กองสุข, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, สมบัติ สกุลพรรณ์, พันธ์ทิพย์ โกศัลวัฒน์, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี, และคณะ. ประสิทธิผลของการบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมต่ออาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนไทย: การวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nrms.go.th/ข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่

ธรณินทร์ กองสุข, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, เชาวนี ล่องชูผล, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี, สุภาภรณ์ ทองเบญจมาศ, และคณะ. การพัฒนาโปรแกรมการบำบัดด้วยจิตบำบัดประคับประคองสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในคนไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nrms.go.th/ข้อมูลข่าวสาร/เอกสารเผยแพร่

พันธ์ทิพย์ โกศัลวัฒน์, ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, สมบัติ สกุลพรรณ์, ธรณินทร์ กองสุข, หทัยรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, และคณะ. ประสิทธิผลของการบำบัดด้วยการแก้ปัญหาต่ออาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคนไทย. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2561;32:49-64.

Richard A, Shea K. Delineation of self-care and associated concepts. J Nur Scholarship 2011; 43:255-64.

Duggal HS. Self-management of depression: Beyond the medical model. Perm J 2019; 23:18-295.

Biesheuvel-Leliefeld KEM, Dijkstra-Kersten SMA, van Schaik DFJ, Van Marwijk HWJ, Smit F, Van der Horst HE, et al. Effectiveness of supported self-help in recurrent depression: A randomized controlled trial in primary care. Psychother Psychosom [Internet]. 2017 [cited 2020 Nov 4]; 86:220-30. Available from: https://doi.org/10.1159/000472260

Ludman EJ, Simon GE, Grothaus LC, Luce C, Markley DK, Schaefer J. A pilot study of telephone care management and structured disease self-management groups for chronic depression. Psychiatr Serv 2007; 58:1065–72.

Farb N, Anderson A, Ravindran A, Hawley L, Irving J, Mancuso E, et al. Prevention of relapse/recurrence in major depressive disorder with either mindfulness-based cognitive therapy or cognitive therapy. Journal of Consulting and Clinical Psychology 2018; 86:200–4.

Houle J, Gascon-Depatie M, Be´langer-Dumontier G, Cardinal C. Depression self-management support: A systematic review. Patient Education and Counseling 2013; 19:271–9.

โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์: รายงานการบริการผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2561-2563.

Orem D. Nursing Concepts of Practice. 5th ed. St. Louis: Mosby Yearbook; 1995.

McGowan P. Self-management: A background paper. Centre on Aging, University of Vivtoria; 2005.

ธรณินทร์ กองสุข. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต. การอบรมวิจัยทางคลินิก การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพจิต; วันที่ 13-14 มิถุนายน 2560; โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร. กรมสุขภาพจิต: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552. หน้า 116.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาส พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถามฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63:321-34.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย MMSE-Thai 2002 /คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย พ.ศ.2542 สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2544.

จันทนา พัฒนเภสัช, มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์. เครื่องมือประเมินคุณภาพชีวิต EQ-5D-5L: การทดสอบคุณสมบัติการวัดและค่าน้ำหนักอรรถประโยชน์ในประชากรไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2557]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hitap.net/

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล และสรยุทธ วาสิกนานนท์. ตำราโรคซึมเศร้า (textbook of depressive disorder).ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2558. หน้า 41-43, 101-104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-05