พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพังในชุมชนเขตเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, การดูแลสุขภาพ, การอาศัยตามลำพังบทคัดย่อ
พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวของทีมสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed methods) ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพคู่ขนานกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพังในชุมชนเขตเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 150 คนสำหรับเชิงปริมาณ และจำนวน 60 คนสำหรับเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพังเป็นเพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายได้จากสวัสดิการจากรัฐไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ช่วยเหลือตนเองได้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองระดับดี ด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล (= 2.80, S.D. = 0.40) ด้านการออกกำลังกาย (= 2.60, S.D. = 0.54) และด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย ( = 2.80, S.D. = 0.44) ระดับพอใช้ ด้านการรับประทานอาหาร (= 1.91, S.D. = 0.64) และการผ่อนคลายความเครียด ( = 1.81, S.D. = 0.58) ภาพรวมผู้สูงอายุมีการดูแลตนเองในระดับพอใช้ ( = 1.28, S.D. = 0.54) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า ปัญหาในการดูแลสุขภาพมาจากร่างกายไม่แข็งแรง เคลื่อนไหวลำบาก การรับประทานอาหารเนื่องจากมีปัญหาด้านการบดเคี้ยวอาหาร การเจ็บป่วยและขาดเงิน ต้องการความช่วยเหลือจากครอบครัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเพื่อนบ้าน จากการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพังในชุมชนเขตเมือง จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุประเทศไทยปี 2563. [เข้าถึงเมื่อ 26 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/th/know/1
กรมอนามัย. เอกประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ:ยุทธศาสตร์การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การบูรณาการสู่ระบบพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.). นนทบุรี: สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์ สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2564.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสํารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ กระทรวงดิจิทัล; 2561.
กรมกิจการผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/2/261
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/ThaiHealth2019t.pdf
Kawamoto R, Yoshida O, & Oka Y. Influence of living alone on emotional well – being in community - dwelling elderly persons. Geriatr Gerontol Int 2018;5:152-8.
World Health Organization. Definition of an older or elderly person [Internet]. 2010 [cited 2014 Jan 10]. Available from: http://www.who.int/healthinfo/survey/ageingdefnolder/en/
สุริยาภรณ์ อินทรภิรมย์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยเพียงลำพังในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. พยาบาลสาร 2561;35:46–56.
วาสนา สิทธิกัน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.graduate.cmru.ac.th/core/km_file/381.pdf
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 9 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/5535
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. รายงานสุขภาพคนไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 8 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth2019/
สำนักงานสถิติแห่งขาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานครสำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2562.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 8 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ipsr.mahidol.ac.th/ประชากรของประเทศไทย-พ-ศ-2562/
กาญจนา ปัญญาธร, ชลการ ทรงศรี. การดูแลสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. 2563;9:12-30.
แสงดาว จันทร์ดา, วิทยา วาโย, นวลละออง ทองโคตร, สายใจ คําทะเนตร, แก้วจิต มากปาน. สุขภาวะผู้สูงอายุตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563;14: 425–36.
ปลื้มใจ ไพจิตร. คุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ 2558;2:157–79.
มินตรา สาระรักษ์, ฐิติรัช งานฉมัง, นันทยา กระสวยทอง. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563;35: 304–10.
Ahijevych K, Bernhard L. Health-promoting behaviors of African American women. Nurs Res 1994;43:86-9. PMID: 8152943.
เสน่ห์ แสงเงิน. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยตามลำพัง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2012;42:68-80.
ยมนา ชนะนิล, พรชัย จูลเมตต์, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563;30:83–92.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง