การพัฒนากระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบล อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ปภพ วงศ์ขันธ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • กิตติ เหลาสุภาพ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนากระบวนการ, ธรรมนูญสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอภูสิงห์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายกำหนดนโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้กลไกธรรมนูญสุขภาพตำบลเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างการมี ส่วนร่วม และความร่วมมือของประชาชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดทำขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบล 2) พัฒนารูปแบบกระบวนการจัดทำขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลที่เหมาะสมสำหรับอำเภอภูสิงห์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไป รวมจำนวน 612 คน  การวิจัยประกอบด้วย 3 ระยะ คือ  1) ศึกษาสภาพพื้นฐานและรูปแบบกระบวนการธรรมนูญสุขภาพตำบล  2) พัฒนารูปแบบกระบวนการจัดทำขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบลโดยประยุกต์ใช้กระบวนการ PAOR จำนวน 5 วงรอบ และ 3) ประเมินผลความพึงพอใจและการมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบบันทึกผลการพัฒนาและแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ  และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า ระยะที่ 1 สังเคราะห์ผลได้รูปแบบกระบวนการจัดทำขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบล ประกอบด้วย การคิดริเริ่ม การเตรียมชุมชน สร้างการรับรู้ สร้างการมีส่วนร่วม การจัดทำธรรมนูญตำบล ขับเคลื่อนสู่ การปฏิบัติ ประเมินผล ถอดบทเรียน และปรับปรุงแก้ไขธรรมนูญตำบลโดยใช้บริบทชุมชน ปัญหาและความต้องการพัฒนาของชุมชนในการกำหนดทิศทาง ระยะที่ 2 ภายหลังใช้กระบวนการ PAOR เกิดการประกาศใช้ธรรมนูญท้องถิ่น (ธรรมนูญตำบล 7 ฉบับ และธรรมนูญอำเภอ 1 ฉบับ) และดำเนินการขับเคลื่อนธรรมนูญตำบลสู่การปฏิบัติในประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ การป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และระยะที่ 3 ประเมินผลความพึงพอใจ และการมีส่วนร่วมต่อรูปแบบกระบวนการจัดทำขับเคลื่อนธรรมนูญตำบล พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ และมีส่วนร่วมในระดับมาก จากการวิจัยครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบลต้องดำเนินการภายใต้บริบทและปัญหาชุมชน โดยการมีส่วนร่วมและความพึงใจของประชาชน

References

Dodgson R. Lee K, Drager N. Global Health Governance: A Conceptual Review. London: Department of Health and Development World Health Organization; 2002.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550. ม.ป.ท.: กรุงเทพฯ; 2553.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552. วิกิ: นนทบุรี; 2552.

ทนงศักดิ์ พลอาษา, ประเสริฐ ประสมรักษ์. ผลการประเมินความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพ เฉพาะพื้นที่ ในมุมมองของประชาชน จังหวัดอำนาจเจริญ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562;34:379-85.

เนาวรัตน์ พลายน้อย. การประเมินการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่. รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการการประเมินการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.); 2558. หน้า 1.

คณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2560. ศรีสะเกษ; 2560. หน้า 31.

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอภูสิงห์. สรุปผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือน งบประมาณ 2564. ศรีสะเกษ; 2564. หน้า 8.

Kemmis S, McTaggart R, Nixon R. The Action Research Planner: Doing Critical Participatory Action Research. Singapore: Springer; 2014.

Lemesshow S, Hosmer JrDW, Klar J, Lwanga SK. Adequacy of Sample Size in Health Studies. England:John Wiley & Song; 1990.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน; 2545. หน้า 99-100.

เดชรัตน์ สุขกำเนิด. การประเมินผลและทบทวนแนวคิดการนำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติไปใช้ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพและสังคมไทย. รายงานผลการประเมินและทบทวนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเสนอต่อสถาบันระบบวิจัยสาธารณสุขและ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2556

อภิรดี ดอนอ่อนเบ้า, นิตยา ปรูกระโทก, ธวัชชัย เคหะบาล, นิตนา ค้อไผ่, คมสันต์ เหมือชาติ. การประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพกรณีศึกษาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. เอกสารประกอบการนำเสนอผลงานระดับชาติในงานสัมมนาเครือข่ายวิชาการนักศึกษาพัฒนาชุมชนและสังคมแห่งประเทศไทย (CSD สัมพันธ์ที่ 6) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี; 2560.

พระโสภณพัฒนบัณฑิต, ธวัลรัตน์ แดงหาญ, พระประเสริฐ รัตนยโณ. การขับเคลื่อนระบบโดยใช้ธรรมนูญศึกษาสุขภาพชุมชนวิถีพุทธ ตำบลลนองตาไก้ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์ 2562;19:1-11.

วงเดือน พระนคร. การสร้างธรรมนูญสุขภาพสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบบูรณาการ. วารสารสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2021;2:253-268

อรรถพล ศรีประภา. กระบวนการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพด้วยการ ออกกำลังกายในชุมชน ตำบลโคกกว้าง อำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ[ปริญญานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05