การนวดเต้านมเพื่อแก้ไขภาวะท่อน้ำนมอุดตัน

ผู้แต่ง

  • อังสนา ศิริวัฒนเมธานนท์ รพ. บุรีรัมย์
  • ปาลิตา โพธิ์ตา วพบ. โคราช
  • โสภา บุตรดา รพ. บุรีรัมย์
  • อรดี โชคสวัสดิ์ วพบ. สรรพสิทธิ์ประสงค์
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ วพบ. โคราช

คำสำคัญ:

การนวดเต้านม, ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน, การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา

บทคัดย่อ

ภาวะท่อน้ำนมอุดตันเป็นการอุดกั้นการไหลของน้ำนม ทำให้มารดาเกิดความเจ็บปวด ไม่สุขสบาย  จนอาจยุติการให้นมบุตรในที่สุด การนวดเต้านมเป็นวิธีการพยาบาลที่พบว่าสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะการนวดเป็นการส่งเสริมการทำงานของระบบการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง เพิ่มการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อร่างกาย นอกจากนี้ การนวดเต้านมยังเป็นวิธีที่ปลอดภัย สะดวก และประหยัด เพราะมารดาหลังคลอดสามารถนวดตัวเองที่บ้านได้ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า วิธีการนวดเต้านม ที่ช่วยในการแก้ไขปัญหาท่อน้ำนมอุดตันได้มี 3 วิธี คือ 1) การนวดเพื่อการบำบัด 2) การนวดเพื่อการรักษาแบบ 6 ขั้นตอน และ 3) การนวดแบบผสมผสานหรือแบบกายภาพบำบัด บทความนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อนำเสนอวิธีการนวดเต้านมด้วยท่าพื้นฐาน 6 ท่า ที่คลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้ให้บริการนวดแก่มารดามาเป็นเวลานานกว่า  10 ปี  โดยประยุกต์มาจากการนวดของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบไปด้วย ท่าผีเสื้อขยับปีก ท่าหมุนวน ปลายนิ้ว ท่าประกายเพชร ท่ากระตุ้นท่อน้ำนม ท่าเปิดท่อน้ำนม และท่าพร้อมบีบน้ำนม โดยเชื่อว่าการนวด  แต่ละท่าจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ท่อน้ำนมและต่อมน้ำนมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาท่อน้ำนมอุดตันในที่สุด

References

Witt AM, Bolman M, Kredit S, & Vanic A. Therapeutic breast massage in lactation for the management of engorgement, plugged ducts, and mastitis. J Hum Lact 2016;32:123-31. doi: 10.117/0890334415619439.

ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์. การจัดการทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยท่อน้ำนมอุดตัน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2561;24:320-34.

พฤหัส จันทร์ประภาพ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. ใน: ประภัทร วนิชพงษ์พันธ์ม กุศล รัศมีเจริญ, และตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, บรรณาธิการ. ตำราสูติศาสตร์. กรุงเทพ: พี เอ ลีฟวิ่ง จำกัด; 2560. หน้า 427-40.

Who Health Organization [Internet]. 2022 [cited 2022 Aug 24]. Available from: https://www.who.int/health-topics/breastfeeding#tab=tab_3

ข้อมูลสถิติ Unit Profile. คลินิกนมแม่ กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลบุรีรัมย์. 2564.

Sokan Adeaga M, Sokan-Adeaga A, Sokan-Adeaga E. A systematic review on exclusive breastfeeding practice in Sub-Saharan Africa: facilitators and barriers. ASMS 2019;3: 53-6.

UNICEF for every child. Division of Data, Analysis, Planning and Monitoring [Internet]. 2021 [cited 2022 Jun 2]. Available from: https://www.unicef.org/media/91026/file/DAPM-2019-HQAR.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562, รายงานผลฉบับ สมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของเด็กแรกเกิด - ต่ำกว่า 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=4164a7c49fcb2b8c3ccca67dcdf28bd0#

ศศิธารา น่วมภา, พรนภา ตั้งสุขสันต์, วาสนา จิติมา, และกันยรักษ์ เงยเจริญ. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: การปฏิบัติพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2563;38:4-21.

สาวิตรี พรานพนัส, สุอารีย์ อันตระการ, พยุง แห่งเชาวนิช. กายวิภาคของเต้านมและกลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม. ใน: ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย; 2555. หน้า 1-13.

ฉันทิกา จันทร์เปีย. กายวิภาคของเต้านม สรีรวิทยาของการสร้างและหลั่งน้ำนมและกลไกการดูดของทารก. ใน กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒนายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: พรี-วัน; 2555. หน้า 61-82.

Lawrence, RA. Lawrence, RM. Breastfeeding: A guide for the medical Profession. 8th ed. United States of America: Elsevier; 2016.

Zhao C, Tang R, Wang J, Guan X, Zheng J, Hu J, et al. Six-step recanalization manual therapy: a novel method for treating plugged ducts in lactating. J Hum Lact 2014;30: 324-30. doi: 10.1177/0890334414532314.

Cooper BB, Kowalsky DS, Physical therapy intervention for treatment of blocked milk ducts in lactating women. J Womens Health Phys Therap 2006;30:26. doi:10.1097/01274882-200630020-00006

อังสนา วงศ์ศิริ. การนวดเต้านม : วิถีแห่งการเพิ่มน้ำนม. ใน เอกสารประกอบประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ; 2556.

กฤษณา ปิงวงศ์, และกรรณิการ์ กันธะรักษา. การนวดเต้านมเพื่อส่งเสริมการสร้างและหลั่งน้ำนม. พยาบาลสาร 2560;44:169-76.

กนกพร เอื้ออารีย์กุล, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. ผลของโปรแกรมกระตุ้นน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมและระยะเวลาที่มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก ในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2561;36:71-82.

ระวีวัฒน์ นุมานิตย์. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. การประชุม HACC FORUM ครั้งที่ 12; วันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2561; สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ร่วมกับ ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเขตนครชัยบุรินทร์ (HACC นครชัยบุรินทร์) และสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). จังหวัดนครราชสีมา: ม.ป.พ.; 2561.

อังสนา วงศ์ศิริ. พลังนวดเพิ่มน้ำนม. ใน: กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. บทความวิชาการการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 14 การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพฯ: ศิริยอดการพิมพ์; 2557. หน้า 45-52.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาวิทยากรแกนนำเครือข่ายการสนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่; วันที่ 12-13 มิถุนายน 2565; สภาการพยาบาล โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; นครปฐม: ม.ป.พ. 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30