The การพัฒนาแนวทางการใช้น้ำมะนาว น้ำต้นกล้าข้าวสาลีและการออกกำลังกาย แบบสมาธิบำบัด SKT 1 และ 2 ต่อการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ของผู้ป่วยเบาหวาน
คำสำคัญ:
เบาหวาน, ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด, น้ำมะนาว, น้ำต้นกล้าข้าวสาลี, การออกกำลังกายแบบสมาธิบำบัด SKTบทคัดย่อ
การส่งเสริมการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้ และการใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางการใช้น้ำมะนาว น้ำต้นกล้าข้าวสาลี ร่วมกับการออกกำลังกาย แบบสมาธิบำบัด SKT 1 และ 2 ต่อการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ป่วยเบาหวานจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้จากแนวทางฯ ลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน การวิจัย ครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพัฒนาตามแนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ การวิเคราะห์ปัญหา การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ การนำสู่การปฏิบัติ และการนำรูปแบบจากการพัฒนาที่ปรับปรุงแล้วไปใช้ต่อไป กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลัก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบบันทึกวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและหลักฐานเชิงประจักษ์ 2) ชุดสาธิตปฏิบัติการ และ 3) แบบข้อมูลทั่วไป และระดับน้ำตาลในกระแสเลือด การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติบรรยายและสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของผู้ป่วยยังไม่คงที่ หลักฐานเชิงประจักษ์ จำนวน 12 รายการ (Level 1.c= 5 , 2.c= 1, 2.d= 5, 5.b=1) ได้แนวทางการใช้น้ำมะนาว น้ำต้นกล้าข้าวสาลีร่วมกับการออกกำลังกายแบบสมาธิบำบัด SKT 1 และ 2 ก่อนรับประทานอาหารทุกเช้า 30 นาที และ 2) ค่าความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเดือนที่ 0, 1, 2, และ 3 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 4.76, p = .009) จากการวิจัยทำให้ทราบว่า การใช้น้ำมะนาว น้ำต้นกล้าข้าวสาลี ร่วมกับการออกกำลังกายแบบสมาธิบำบัด SKT 1 และ 2 ช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาทดลองเปรียบเทียบสองกลุ่ม และเพิ่มระยะเวลาการศึกษามากขึ้น
References
สมาคมเบาหวานแห่งปะเทศไทย. สถานการณ์โรคเบาหวาน พ.ศ. 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054
กระทรวงสาธารณสุข. สธ. ห่วง คนไทยเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ชั่วโมงละ 37 คน เร่งวางแนวทางป้องกัน”[อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 18 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.khaosod.co.th/monitornews/news_1421769.
กองโรคติดต่อ.กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์ชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://neo.moph.go.th/jhcis
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูประถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมาร. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/healthcare-providers/cpg
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ระบบงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและศูนย์สุขภาพชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://jhcis.moph.go.th/download.php
กองโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ (ความดันโลหิตสูง,เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจหลอดเลือดสมอง) ปี 2559-2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2061 [เข้าถึงเมื่อ 20 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13683&gid=18
กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ(โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง)ประจำปีงบประมาณ 2565 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 17 เม.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1186620211006043036.pdf
สุพัตรา ศรีวณิชชากร, ทัศนีย์ ญาณะ, มธุพร ภาคพรต, พฤกษา บุกบุญ. “สู่ชุมชน สุขภาพดี” คู่มือการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. นนทบุรี:สหมิตรพริ้นแอนพับลิสซิ่ง; 2558.
สำนักงานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่องธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับบที่ 2 พ.ศ. 2559 [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 22 ธ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nationalhealth.or.th/sites/default/files/ upload_files/Statute_on_the_natinati_health_system_591219.pdf
Yagi M, Uenaka S, Ishizaki K, Sakiyama C, Takeda R, Yonei Y. Effect of the postprandial blood glucose on lemon juice and rice intake. Glycative Stress Research 2020;7:174-80.
Padhy GK, Yadav R. Effect of lemon juice in reducing blood sugar of pre-diabetes and diabeters patients: A community based pragmatic randomized trial. International Journal of Scientific Research 2019;8:29-32.
วราภรณ์ คำรศ, สมฤดี ชื่นกิติญานนท์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสมาธิบำบัด (SKT) ต่อการลดน้ำตาลในเลือดและลดระดับความดันโลหิตในพระสงฆ์. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย 2562;16:65-78.
Yagi M, Yonei Y. Glycative stress and anti-aging: 14. regulation of glycative stress. 2. inhibition of the age production and accumulation. Glycative Stress Research 2010; 6:212-18.
Eissa HA, Mohamed SS, Hussein AM. Nutritional value and impact of wheatgrass juice (Green Blood Therapy) on increasing fertility in male albino rats. Bulletin of the National Research Centre 2020;44:1-11.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลัก. รายงานประจำปี 2559-2663. ม.ปท.; 2563.
Soukup MS. The center of advance nursing practice evidence-based practice model. Nursing clinical of North America 2000;35:301-9.
The Joanna Briggs Institute. JBI Manual for Evidence Synthesis [Internet]. 2020. [cited 2020 Dec 20] Available from: https://wiki.jbi.global/display/MANUAL
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. ขนาดอิทธิพล:การวิเคราะห์การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.
Freitas D, Boué F, Benallaoua M, Airinei G, Benamouzig R, Le Feunteun S. Lemon juice, but not tea, reduces the glycemic response to bread in healthy volunteers: A randomized crossover trial. European Journal of Nutrition 2021;60:113-22.
Basli A, Younici S, Benkerrou Z, Khettal B, Madani K. Evaluation of in-vitro antidiabetic and hypolipidaemic activities of extracts citrus lemon fruit. Journal of Environmental Science and Engineering 2016;5:612-8.
KunduSen S, Halda PK, Gupta M, Mazumder UK, Saha P, Bala A, et al. Evaluation of antihyperglycemic activity of Citrus limetta fruit peel in streptozotocin-induced diabetic rats. International Scholarly Research Notices 2011;2011:1-6.
Shakya G, Goud C, Pajaniradje S, Rajagopalan R. Protective role of wheatgrass on oxidative stress in streptozotocin induced type 2 diabetic rats. International Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences 2012;4:415-23.
Anand R, Singh P. The effect of Wheat Grass Juice in Type-2 Diabetes Mellitus. World Journal of Pharmaceutical Research 2020;9:943-56. doi: 10.20959/wjpr20204-17052.
Mis L, Comba B, Uslu S, Yeltekin A. Effect of Wheatgrass on DNA damage, oxidative stress index and histological findings in Diabetic Rats. International Journal of Morphology. 2018;36:1235-40.
Choudhary MM, Nalwade VM. Effect of supplementation of wheat grass (Triticum aestivum L) powder on blood glucose level of selected diabetic subjects. Food Science Research Journal 2016;7:170-5. doi: 10.15740/HAS/FSRJ/7.2/170-175
Shaikh M, Quazi M, Nandedkar R. Hypoglycemic effect of wheatgrass juice in alloxan induced diabetic rats. Pharma Tutor 2011;1:39-40.
ภาณุวัฒน์ ภูสีฤทธิ์, ศักดิ์สิทธิ์ เชียงไขแก้ว. รายงานวิจัย การใช้สมาธิบำบัดแบบ SKT ท่าที่ 1,2,3,7 เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านหนองปลาน้อย [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://cupsakol.org/pkp2/pkp2/Thu120753.pdf
สมพร กันทรดุษฏี เตรียมชัยศรี. การปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว; 2556.
Sackett DL, Straus SE, Richardson WS, Rosenberg WMC, Haynes R B. Evidence-based medicine: How to practice and teach EBM. 2nd ed. New York, NY: Churchill Livingstone; 2020.
Benner PE, Hooper-Kyriakidis PL, Stannard D. Clinical wisdom and interventions in acute and critical care: A thinking-in-action approach. 2nd ed. Springer Publishing Company; 2011.
Stannard D. A practical definition of evidence-based practice for nursing. Journal of PeriAnesthesia Nursing 2019;34:1080-4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง