เริ่มต้นอย่างไร ให้แม่ทำงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ

ผู้แต่ง

  • ฝนทอง จิตจำนง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นภศพร เทวะเศกสรรค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรรณิกา เพ็ชรักษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อุตม์ชญาน์ อินทเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อุตม์ชญาน์ อินทเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

มารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา , มารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ

บทคัดย่อ

มารดาส่วนใหญ่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องออกไปทำงาน ต้องปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงาน ซึ่งมีความยากลำบากมากกว่ามารดาหลังคลอดที่ไม่ต้องออกไปทำงานที่สามารถอยู่ดูแลบุตรและให้นมบุตรด้วยตนเองได้ อย่างไรก็ตามแม้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ทำงานจะมีความยากลำบาก แต่ก็ยังมีมารดาที่ทำงานอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้สำเร็จ เป็นที่น่าสนใจว่ามารดาเหล่านี้มีปัจจัยใดบ้างที่สนับสนุนให้ก้าวข้ามความยากลำบากดังกล่าวมาได้ ทารก โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน ไว้อย่างน้อยร้อยละ 70 ภายในปี ค.ศ. 2030 แต่ปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนทั่วโลกมีเพียงร้อยละ 41 เท่านั้น โดยเฉพาะประเทศไทยพบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงร้อยละ 14 ซึ่งมีแนวโน้มที่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา และห่างไกลจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของมารดาที่ทำงานนอกบ้านหลายประการ ได้แก่ ปัจจัยด้านมารดา ทารก ครอบครัว สังคม และบุคลากรทางสาธารณสุข บทความวิชาการฉบับนี้ จึงมุ่งเสนอปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลา เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับทารก ดังนั้นบทความนี้จึงนำเสนอแนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของมารดาที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ได้แก่ การให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับมารดาที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้มารดาหลังคลอดที่ทำงานนอกบ้านเต็มเวลาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือนได้สำเร็จ

References

Kuchenbecker J, Jordan I, Reinbott A, Herrmann J, Jeremias T, Kennedy G, et al. Exclusive breastfeeding and its effect on growth of Malawian infants: results from a cross-sectional study. Paediatr Int Child Health 2015;35:14-23. doi:10.1179/2046905514Y.0000000134

World Health Organization. Increasing commitment to breastfeeding through funding and improved policies and programmes [Internet]. 2019 [cited 2021 Dec 30] Available from: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/326049/WHO-NMH-NHD-19.22-eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.unicef.org/thailand/media/5146/file/Multiple%20Indicator%20ClClust%22Survey%202019.pdf

ขนิษฐา เมฆกมล. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: แนวปฏิบัติในชุมชน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5:274-86.

นิศาชล เศรษฐไกรกุล, ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย, ฐิติกรโตโพธิ์ไทย, สุลัดดาพงษ์อุทธา, วาทินีคุณเผือก, ภูษิต ประคองสาย, ทักษพล ธรรมรังสี. สถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของผู้รับบริการในสถานพยาบาลรัฐ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;25:657-63.

พรพิมล อาภาสสกุล. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีไทย. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2559;30:133-46.

Dachew BA, Bifftu BB. Breastfeeding practice and associated factors among female nurses and midwives at North Gondar Zone, Northwest Ethiopia: a cross-sectional institution based study. Int breastfeed J 2014;9:1-7. doi:10.1186/1746-4358-9-11

Dennis CL, Gagnon A, Van Hulst A, Dougherty G, Wahoush O. Prediction of duration of breastfeeding among migrant and Canadian-born women: results from a multi-center study. J Pediatr 2013;162:72-9.

Thepha T, Marais D, Bell J, Muangpin S. Facilitators and barriers to exclusive breastfeeding in Thailand: A narrative review. J Comm Pub Health Nurs 2017;3:1.

ธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล. การส่งเสริมมารดาที่ทำงานนอกบ้านให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาต่อเนื่องได้. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2556;6:1-14.

สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, ชญาดา สามารถ. ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะแรกหลังคลอด: ประสบการณ์ของมารดา. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559;34:30-40.

ภัทรพรรณ ทำดี. บนเส้นทางสายน้านมแม่: อัตลักษณ์ของแม่ท้างานยุคใหม่กับความยากล้าบากในความเป็นแม่. วารสารวิจัยสังคม 2559;39:1-37

อุตม์ชญาน์ อินทเรือง, คมวัฒน์ รุ่งเรือง, รุ้งนภา ปรากฏดี, กรวิภา จันทร์แจ่ม. แรงจูงใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2564;5:86-100.

Choudhry K, Wallace L. ‘Breast is not always best’: South Asian women’s experiences of infant feeding in the UK within an acculturation framework. Matern Child Nutr. 2012;8:72-87.

สุวรรณา ชนะภัย, นิตยา สินสุกใส, นันทนา ธนาโนวรรณ และวรรณา พาหุวัฒนกร. ความรู้ทัศนคติการรับรู้สมรรถนะในตนเอง และการสนับสนุนจากสามีและพยาบาล ในการทำนาย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2557;32:51-60.

อุษณีย์ จินตะเวช, เทียมศร ทองสวัสดิ์, ลาวัลย์ สมบูรณ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาหลังคลอด. พยาบาลสาร 2557;41:133-44.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม, พิกุล ทรัพย์พันแสน, ศรีเวียง ชุ่มปัน. การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในสถานประกอบการ. วารสารสภาการพยาบาล. 2555;27:122-33.

สำนักงานประกันสังคม. สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตรที่ผู้ประกันตนจะได้รับ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sso.go.th/wpr/main/service/กองทุนประกันสังคม_detail_detail_1_125_691/233_233

ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์, พรรณทิพา บัวคล้าย, ศิริกนก กลั่นขจร, ปริญญาพร จันทร์ศรี. การพัฒนารูปแบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการโรงงานผ่านกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2561;12:95-106.

World Health Organization (WHO). Nurturing the Health and Wealth of Nations: The Investment Case for Breastfeeding [Internet]. 2017 [cited 2021 Dec 30]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/breastfeeding/global-breastfeeding-collective/global-bf-collective-investmentcase.pdf?sfvrsn= 3545408_5&download

พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560. พระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 72 ก. (ลงวันที่ 9 เมษายน 2560) [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/drive/folders/1_r8V1HlfQtpwTuJklINc5OgnZfby9Cok

อัญญา ปลดเปลื้อง, อัญชลี ศรีจันทร์, สัญญา แก้วประพาฬ. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัวต่อความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2559;11: 41-52.

พัชนียา เชียงตา, ฉวี เบาทรวง, กรรณิการ์ กันธะรักษา. ผลของการสนับสนุนทางสังคมต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาครรภ์แรก. พยาบาลสาร 2557;41:1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29