ผลของการใช้แนวทางการพยาบาลที่ส่งเสริมความสามารถในการกลืนเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการสำลัก ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ พันธุ์ฤทธิ์ โรงพยาบาลสระบุรี
  • ขันทอง บางเขียว โรงพยาบาลสระบุรี
  • ธัญลักษณ์ จิตประเสริฐ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นันทยา ศิลลา โรงพยาบาลสระบุรี

คำสำคัญ:

แนวทางการพยาบาล , ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน , ความสามารถในการกลืน , ปอดอักเสบจากการสำลัก

บทคัดย่อ

ภาวะกลืนลําบากมักเป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันที่ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักอาหารได้ง่าย ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อชีวิต และสุขภาพของผู้ป่วย การวิจัยนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงพรรณนา (Prospective descriptive study design) เพื่อประเมินผลของการใช้แนวทางการพยาบาลที่ส่งเสริมความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการสำลัก โดยการนำแนวทางการพยาบาล ฯ ของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ประชากรเป้าหมายคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมและหออภิบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี จำนวน 217 ราย ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน 2563 เครื่องมือวิจัย คือ 1) แนวทางการพยาบาลที่ส่งเสริมความสามารถในการกลืนเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการสำลัก ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันของสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 2) แบบประเมินอาการทางคลินิกของภาวะกลืนลำบาก 3) แบบประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อนเริ่มการกลืน 4) แบบตรวจสอบรายการประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ของสถาบันประสาทวิทยา และ 5) แบบตรวจสอบรายการประเมินปอดอักเสบจากการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ของสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า หลังการพยาบาลตามแนวทางการพยาบาลฯ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันมีความพร้อมและความสามารถในการกลืน และผู้ป่วยทุกรายไม่มีการเกิดปอดอักเสบจากการสำลัก การใช้แนวทางการพยาบาลฯ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระยะเฉียบพลัน สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการสำลักได้ แนวทางการพยาบาลฯ นี้สามารถนำไปใช้เพื่อป้องกัน หรือลดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันต่อไป

References

World Stroke Organization. Up again after stroke [Internet]. 2561 [cited 2020 Feb 2]. Available from: http://www.worldstrokecampaign.org/

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, อามีนะห์ เจะปอ. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมอง [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 5 มี.ค. 2563]. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบากสำหรับพยาบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา; 2552.

Perry L, Hamilton S, Williams J, Jones S. Nursing interventions for improving nutritional status and outcomes of stroke patients: descriptive reviews of processes and outcomes. Worldviews on Evidence-Based Nursing 2013;10:17-40.

กฤษณา พิรเวช. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันในการดูแลรักษาภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

Westergren A. Detection of eating difficulties after stroke: a systematic review. International nursing review 2006;5:143-9.

อุดม ภู่วโรดม. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต อัมพฤกษ์) สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

Langdon PC, Lee AH, Binns CW. Dysphagia in acute ischaemic stroke: severity, recovery and relationship to stroke subtype. Journal of Clinical Neuroscience 2007;14:630-4. doi: 10.1016/j.jocn.2006.04.009.

อรสา เฮงบริบูรณ์. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการพยาบาลเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองSwallowing assessment; 2552.

สมคิด อุ่นเสมาธรรม. ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก. ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ, ตำราโรคระบบการหายใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2551.

Martino R, Martin R, Black, S. Dysphagia after stroke and its management. Canadian Medical Association or its licensors 2012;184:1127-8.

Yeh SJ, Huang KY, Wang TG, Chen YC, Chen CH, Tang SC, et al. Dysphagia screening decreases pneumonia in acute stroke patients admitted to the stroke intensive care unit. Journal of the neurological sciences 2011;306:38–41. doi. https://doi.org/10.1016/j.jns.2011.04.001

Lakshminarayan K, Tsai AW, Tong X, Vazquez G, Peacock JM, George MG, et al. Utility of dysphagia screening results in predicting poststroke pneumonia. Stroke 2010;41:2849–54. doi. https://doi.org/10.1161/STROKEAHA.110.597039

หน่วยข้อมูลเวชระเบียน งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลสระบุรี. สถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองประจำปี. สระบุรี: งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลสระบุรี; 2562.

สายทิพย์ จ๋ายพงษ์. ผลของการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีการกลืนลำบากในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2550.

ทิพย์สุดา ชำนาญศรีเพ็ชร์. ผลของการพยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

สำนักงานโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค. รายงานประจำปีสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

สถาบันบำราศนราดูร. คู่มือวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ แนวทางทางเวชปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีภาวะกลืนลำบาก. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2562.

วราภรณ์ ถิ่นจะนะ. ผลการใช้โปรแกรมเพื่อป้องกันการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2563;2: 5-19.

ดวงใจ บุญคง, ณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร, อรุณรัตน์ อุทัยแสง, สมเกียรติ บุญคง. การส่งเสริมการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะกลืนลำบาก: บทบาทที่ท้าทายสำหรับพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2562;35:13-23.

นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, บรรณาธิการ. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส; 2559.

จิราวรรณ เนียมชา, ปัทมา สุริต, สมศักดิ์ เทียมเก่า. ผลของโปรแกรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลันต่อการเกิดการสำลักและปอดอักเสบในโรงพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:167-75.

สิริพร ศรีวิลัย, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, วิชชุดา เจริญกิจการ. การป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการสำลักในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน: การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาล 2557;63:65-71.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26