ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

ผู้แต่ง

  • จงกลณี ตุ้ยเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นลป์ธนัญศ์ ไชยวงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรู นครราชสีมา
  • พัชรินทร์ ทวยหาญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรู นครราชสีมา

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, พฤติกรรมการป้องกัน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังการและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน จึงควรมีแรงจูงใจและพฤติกรรมการป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับพฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของ อสม. กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. จำนวน 319 คน สุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม 1) แรงจูงใจการป้องกันโรค (IOC = 0.81, Alpha = 0.87) ประกอบด้วย ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค ด้านการรับรู้โอกาส เสี่ยงต่อโรค ด้านความคาดหวังในผลของการกระทำ และด้านความคาดหวังในความเชื่อมั่นของตนเอง  และ 2) พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19  (IOC = 0.91, Alpha = 0.77) ประกอบด้วยการล้างมือการรับประทานอาหาร การใช้ของส่วนตัว การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจในการป้องกันโรคในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (gif.latex?\bar{X}= 4.24, S.D. = 0.78) เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยแรงจูงใจสูงสุดรายด้าน ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค (gif.latex?\bar{X}= 4.72, S.D. = 0.50)  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยแรงจูงใจน้อยที่สุด ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรค (gif.latex?\bar{X}= 3.14, S.D. = 1.25) 2) พฤติกรรมการป้องกันโรคภาพรวมระดับสูง (gif.latex?\bar{X}= 3.39, S.D. = 0.33) เมื่อพิจารณารายพฤติกรรม ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคมากที่สุดคือ การสวมหน้ากากอนามัย  (gif.latex?\bar{X}= 3.88, S.D. = 0.37) และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคน้อยที่สุดคือ การรับประทานอาหารชุดสำหรับ 1 คน  (gif.latex?\bar{X}= 2.91, S.D. = 0.98)  และ 3) ภาพรวมค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในการป้องกันโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (r = 0.32, p< .01) จากผลการวิจัยเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งเสริมแรงจูงใจให้ อสม. เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป

References

องค์การอนามัยโลก. ประกาศให้ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคระบาดใหญ่ทั่วโลก [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://mgronline.com/around/detail/9630000024808

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. แนะนำวิธีดูแลและป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nurse.cmu.ac.th/web/FONEventDetail.aspx?id=22645

สำนักนายกรัฐมนตรี. เรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๒๔ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/024/T_0001.PDF

กรมควบคุมโรค. สรุปสถานการณ์ศูนย์ข้อมูล COVID-19. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prachachat.net/general/news-647816

สุธิสา กรายแก้ว, ภัชลดา สุวรรณนวล, สุภาภรณ์ โสภา, พระครุธีรธรรมพิมล. บทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2563;7:69-81.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. เอกสารชุดความรู้ แนวทาง “อสม.เคาะประตูบ้าน ต้านโควิด-19”. [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 มิ.ย. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hsscovid.com/files/ขอความร่วมมือสนับสนุนการรณรงค์%20อสม.เคาะประตูบ้าน.pdf

จงกลณี ตุ้ยเจริญ, ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ, กฤตกร หมั่นสระเกษ, ธิดารัตน์ นิ่มกระโทก. การรับมือกับไวรัสโคไรนา COVID-19 ในงานสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2563;4:1-20.

The Bangkok insight. Update Covid-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 23 มี.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thebangkokinsight.com/347285/

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564;3:19-30.

จารุวรรณ ใจแสน. พฤติกรรมการป้องกันโรค COVID-19 ของพนักงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sat16/6114060102.pdf

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Ronald W. Rogers. A Protection Motivation Theory of Fear Appeals and Attitude Change1. The Journal of Psychology [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 23 มี.ค. 2565];93-114. เข้าถึงได้จาก: https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/00223980.1975.9915803

Luo Y, Yao L, Zhou L, Yuan F, & Zhong X. Factors influencing health behaviours during the coronavirus disease 2019 outbreak in china: An extended information-motivation-behaviour skills model. Public Health 2020;185:298-305.

ณัฐพงศ์ บัวแก้ว. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจเชิงป้องกันกับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

ประสพชัย พสุนนท์. การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์ [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ15 ส.ค. 2563];112-5. เข้าถึงได้จาก: https://arts.kmutnb.ac.th/file_article/1442473417.pdf

สมอาด อุ่นไชย. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะ การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอธาตุพนม จังหวัด นครพนม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, พร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14:25-36.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.js100.com/en/site/news/view/104019

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4:33-48.

Bashirian S, Jenabi E, Khazaei S, Barati M, Karimi-Shahanjarini A, Zareian S, and Moeini B. Factors associated with preventive behaviours of covid-19 among hospital staff in iran in 2020: An application of the protection motivation theory. Journal of Hospital Infection 2020;105:430-3.

Zhong BL, Luo W, Li HM, Zhang QQ, Liu XG, Li WT, & Li Y. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences 2020;16:1745–52.

Yıldırım M, Akgül Ö, & Geçer E. The effect of covid-19 anxiety on general health: The role of covid-19 coping. [internet]. 2020 [2022 Mar 23]. Form: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33456406/

ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563;35:555-64.

บุศณี มุจรินทร์, ประเสริฐ ประสมรักษ์, สำราญ เหล็กงาม. พฤติกรรมการป้องกันตนเองความเครียดและการเผชิญความเครียดในภาวะวิกฤตด้านสุขภาพจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในจังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563;8:413-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30