ผลของโปรแกรมการบําบัดและการให้คำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐาน ต่อภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • บุษบา ทองโพธิ์ศรี โรงพยาบาลพนา

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, โปรแกรมการบําบัดและการให้คําปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐาน , สติบำบัด , โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

โปรแกรมสติบำบัดเป็นการประยุกต์สมาธิและสติ เพื่อลดความทุกข์และเพิ่มความสามารถในการปรับตัว ช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า มีภาวะซึมเศร้าลดลง โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสติบำบัดภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพนา จำนวน 30 คน ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 ปีขึ้นไป และประเมินภาวะซึมเศร้าโดยแบบประเมินภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต (9Q) ได้คะแนน 7 คะแนนขึ้นไป กลุ่มตัวอย่าง ได้รับโปรแกรมสติบำบัด โปรแกรมมีทั้งหมด 8 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1ชั่วโมง 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และผู้ฝึกปฏิบัตินําไปฝึกต่อยังที่พักของตนเองทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที  เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต(9Q) ดำเนินกิจกรรมระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 – 31 สิงหาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของกรมสุขภาพจิต (9Q)

ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบของค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าในกลุ่มตัวอย่างหลังได้รับโปรแกรมสติบำบัด (gif.latex?\bar{X}= 2.86, S.D. = 2.09) ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมสติบำบัด (gif.latex?\bar{X} = 12.46, S.D. = 4.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (T =13.48 p-value < 0.001)  จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสติบำบัดภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีประสิทธิผลทำให้ภาวะซึมเศร้าลดลง

References

World Health Organization. The global burden of disease: 2004 update. Geneva: World Health. Organization; 2008.

Organization; 2008 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. จับตาทิศทางสุขภาพจิตคนไทยปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/thaihealthwatch/

ศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า. รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaidepression.com/www/report/main_report/

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. โรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/conditions/depression

Beck AT, Rush AJ, Shaw BF, Emery G. Cognitive therapy of depression. New York: The Guilford press; 1979.

มาโนช หล่อตระกูล. โรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://med.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017/

พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. การบำบัดรักษาทางจิตสังคมสำหรับโรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: www.thaimio.com/

นัชรินทร์ เชื้อบ้านเกาะ, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดบนพื้นฐานของการเจริญสติต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว. วารสารพยาบาลตำรวจ 2562;11:421-32.

วิภาวี เผ่ากันทรากร, นภา จิรัฐจินตนา. ผลของโปรแกรมสติบำบัดต่อภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29:286-96.

พลภัทร์ โล่เสถียรกิจ. การบำบัดรักษาโรคซึมเศร้าเรื้อรังด้วยการเจริญสติ:รายงานผู้ป่วย 2 ราย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2553;18:189-99.

สมจิตร เสริมทองทิพย์, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์, เวทิส ประทุมศรี. ผลของโปรแกรมการบำบัดทางปัญญาบนพื้นฐานของสติ ต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวาน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560;25:66-75.

Tovote KA, Fleer J, Snippe E, Peeters ACTM, Emmelkamp PM, Links TP, et al. Individual mindfulness-based cognitive behavior therapy for treating depressive symptoms in patients with diabetes: Result of a randomized controlled trial. Diabetes Care 2014;37:2427-34.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, บรรณาธิการ. คู่มือสติบําบัด. การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข หลักสูตรสติบําบัด (Mindfulness–Based Therapy and Counselling : MBTC); 7-9 มีนาคม 2562; โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต; 2562.

กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต. หลักสูตรและแผนการสอนเรื่องการพัฒนาสติเพื่อสุขภาพ (Mindfulness Development for Health). กรุงเทพมหานคร: กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต; 2557.

ภัทรภรณ์ วงษกรณ์. ผลของโปรแกรมฝึกสติต่อความเครียดในผู้ต้องขัง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

อัจฉรา มุ่งพานิช, กิติยา กุดกุง. ผลของกลุ่มบำบัดที่ใช้สติเป็นพื้นฐานต่อความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในผู้ต้องขัง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563;28:240-51.

นันท์ชนก วงษ์สมุทร์. "สติบำบัด": ทางเลือกใหม่รักษาโรคซึมเศร้า [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 24 ธ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bbc.com/thai/40115831

วชิระ เพ็งจันทร์ และปริตตา หวังเกียรติ. 4 Wave จาก Covid-19 ต่อระบบสุขภาพไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sanook.com/health/26127/

Winter JCF. Using the Student's t-test with extremely small sample sizes. Practical Assessment, Research, and Evaluation 2013;18:1-12. doi: https://doi.org/10.7275/e4r6-dj05

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท, สุพัตรา สุขาว, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถามฉบับปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63:321-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-05