ความชุกของความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ความเครียด, ภาวะซึมเศร้าบทคัดย่อ
การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบด้านจิตใจต่อประชาชนอย่างมาก การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและภาวะซึมเศร้าของผู้รับบริการ โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 1 ถึง ระลอกที่ 3กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด คือผู้รับบริการที่โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี จำนวน 300 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความเครียด (ST- 5) และ 3) แบบคัดกรองและประเมินภาวะซึมเศร้า 2Q และ 9Q วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจีสติก ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้มารับบริการในโรงพยาบาลในสถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนร้อยละ 12 มีความเครียดในระดับปานกลางขึ้นไป และมีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าร้อยละ 54 สำหรับผู้รับบริการที่มีอาการของโรคซึมเศร้า ในระดับน้อยขึ้นไปถึงระดับรุนแรงพบได้ร้อยละ 19 และ 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดของผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ช่วงระยะเวลาการระบาดในประเทศไทยระลอกที่ 3 และผู้รับบริการที่เป็นผู้ป่วย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงโรคซึมเศร้า และระดับอาการโรคซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ช่วงระยะเวลาการระบาดในประเทศไทยระลอกที่ 1, 3 ผู้รับบริการที่เป็นผู้ป่วย อายุ และระดับความเครียด จากผลการศึกษานี้สรุปได้ว่า ผู้รับบริการในโรงพยาบาลมีโอกาสเกิดความเครียด และมีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าที่แตกต่างกันในช่วงระยะเวลาการระบาดของโรค (p< 0.05) ดังนั้นจึงควรมีการเฝ้าระวัง คัดกรองและมีแนวปฏิบัติในการช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพจิต เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในกลุ่มเปราะบาง ให้มีพลังใจในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้
References
World Health Organization (WHO). Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. 2019 [cited 2020 May 26]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-thecoronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 6 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no13-160163.pdf
สุชาดา สิทธิ์จงสถาพร, เศรษฐกาล โปร่งนุช. การศึกษาการประมาณค่าเบื้องต้นตัวเลขการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสในระยะเริ่มต้นการระบาด. Engineering Transactions 2563; 23:126-34.
ศูนย์ข้อมูลกลาง COVID-19 จังหวัดอุบลราชธานี. สถานการณ์ COVID-19 จังหวัดอุบลราชธานี [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 31 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://datastudio.google.com/reporting/1VnmBQ3HBzxemefm5LW5FRXgVesRgtSlV/page/MtMJB
พนม เกตุมาน, วินัดดา ปิยะศิลป์. Stress Management in Covid-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipediatrics.org/Media/media-20200512093441.pdf
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. แผนการฟื้นฟูจิตใจในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Combat 4th Wave of COVID-19 Plan : C4). นนทบุรี: บียอนด์ พับลิสชิ่ง; 2563.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานช่วยเหลือเยียวยาจิตใจทุกระดับ: ผู้ประสบภาวะวิกฤติในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
ภูษณิศา ชัยวิรัตน์นุกูล, พัชรินทร์ ศิริวิสุทธิรัตน์, ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์, บรรณาธิการ. แนวทางการดูแลจิตใจสำหรับโรงพยาบาลสนาม ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. ความเครียดและวิธีการแก้ความเครียด. กรุงเทพฯ: งานวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2557.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือคลายเครียด (ฉบับปรับปรุงใหม่) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/ebook/result2.asp?id=345
จรวยพร ศรีศศลักษณ์. กลุ่มเปราะบาง (Vulnerable Groups) คือใคร มีข้อพิจารณาด้านจริยธรรมอย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/3717/jaruayporn.pdf?sequence=2
ธนาสิทธิ์ วิจิตราพันธ์. ความเครียดและภาวะซึมเศร้าในสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของประชาชนบ้านทุ่งเสี้ยว. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29:12-21.
กนกวรา พวงประยงค์. สถานการณ์ผลกระทบ ความต้องกการการช่วยเหลือ และการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19: การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ 2564;35:266-86.
วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19).วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39:101-12.
Abir T, Kalimullah NA, Osuagwu UL, Nur–A Yazdani DM, HusainT, Goson PC, et al. Prevalence and Factors Associated with Mental Health Impact of COVID-19 Pandemic in Bangladesh: A Survey-Based Cross-Sectional Study. Annals of Global Health 2021; 87:1–23. doi: https://doi.org/10.5334/aogh.3269
ALNAP Overseas Development Institute. Sampling methods and sample size calculation for the SMART methodology [Internet]. 2012 [cited 2020 June 25]. Available from: https://www.humanitarianresponse. info/sites/www.humanitarianresponse.info/files/documents/files/Sampling_Paper_June_2012.pdf
Salari N, Hosseinian-Far A, Jalali R, Vaisi-Raygani A,Rasoulpoor S, Mohammadi M, et al. Prevalence of stress, anxiety, depression among the general population during the COVID-19 pandemic: a systematic review and meta-analysis. Global Health. 2020;16:1-11. doi:10.1186/s12992-020-00589-w.
Wang C, Pan R, Wan X, Tan Y, Xu L, Ho CS, et al. Immediate psychological responses and associated factors during the initial stage of the 2019 Coronavirus disease (COVID-19) epidemic among the general population in China. Int J Environ Res Public Healt. 2020; 17:1729. doi:10.3390/ijerph17051729
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.2564. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no544-300664.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง