ความชุก ปัจจัยเสี่ยง และบทบาทพยาบาลในการป้องกันภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่สัมพันธ์กับการได้รับสารทึบรังสีในผู้สูงอายุโรค STEMI ที่ทำการ ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ

ผู้แต่ง

  • สุเพียร โภคทิพย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

ไตวายเฉียบพลันที่สัมพันธ์กับการได้รับสารทึบรังสี , การพยาบาล , ผู้สูงอายุ , ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI

บทคัดย่อ

การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนงานเกี่ยวกับ ความชุก ปัจจัยเสี่ยงและบทบาทพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันที่สัมพันธ์กับการได้รับสารทึบรังสีในผู้ป่วย STEMI สูงอายุโดยใช้วิธีการของ Cooper สืบค้นโดยใช้คำสำคัญจากฐานข้อมูลในปี 2000-2021 สืบค้นได้ทั้งหมด 22 เรื่องแต่เข้าได้กับเกณฑ์ 10 เรื่องส่วนใหญ่ศึกษาในต่างประเทศ ในประเทศไทยมีเพียง 1 เรื่อง  ผลการศึกษาพบ 3  ประเด็น 1) ความชุกอยู่ระหว่างร้อยละ 0.37-27.3 ขึ้นกับนิยามที่ใช้ 2) ปัจจัยเสี่ยงที่พบมีทั้งปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวผู้ป่วยคืออายุ เพศหญิง ภาวะซีด ภาวะ CHF DM ระดับซีรัมครีเอตินิน ภาวะความดันโลหิตต่ำ และปัจจัยเกี่ยวกับการทำหัตถการคือปริมาณสารทึบรังสีที่ได้รับ ปริมาณสารน้ำที่ได้รับ ปัจจัยเสี่ยงที่ศึกษาร่วมกันมี 6 ปัจจัยคืออายุ ระดับซีรัมครีเอตินิน ภาวะความดันโลหิตต่ำ ภาวะ CHF DM ปริมาณสารทึบรังสีที่ได้รับ ส่วนปัจจัยที่ยังมีการศึกษาจำกัดคือเพศหญิง ยาและสารน้ำที่ได้รับก่อนทำหัตถการ และระดับการกรองของไต (eGFR) ซึ่งยังต้องศึกษาเพิ่มเติม 3) บทบาทพยาบาลในการป้องกันภาวะไตวายเฉียบพลันมีเพียง 2 การศึกษาโดยเน้นการป้องกันก่อนทำหัตถการโดยการประเมินความเสี่ยงและการกระตุ้นให้ได้รับสารน้ำที่เพียงพอ การคำนวณปริมาณสารทึบรังสีที่ควรจะได้รับและการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและเฝ้าระวังหลังการทำหัตถการหลังพัฒนาช่วยลดอัตราการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันลงได้ร้อยละ 21  สรุปการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันหลังได้รับสารทึบรังสีในผู้ป่วย STEMI สูงอายุ พบได้แตกต่างกันปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีทั้งด้านผู้ป่วยและการทำหัตถการซึ่งพยาบาลที่ดูแลควรตระหนักและให้ความสำคัญในการป้องกันเพื่อลดการเกิดไตวายเฉียบพลันทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย

References

O’Donovan K. Preventing contrast –induced nephropathy part i: What is CIN?. British Journal of Cardiac Nursing 2010;5:576-81.

Mehta RL, Kellum JA, Shah SV, Molitoris BA, Ronco C, Warnock DG, et al. Acute Kidney Injury Network: report of an initiative to improve outcomes in the acute kidney injury. Crit Care 2007;11:R31. doi: 10.1186/cc5713.

KDIGO. Clinical practice guideline for acute kidney injury. Official Journal of The International Society of Nephrology 2012;2:1-141.

Cooper H. Synthesizing research: A guide for literature reviews. 3rd ed. London: SAGE Publications; 1998.

Lambert P, Chaisson K, Horton S, Petrin C, Marshall E, Bowden S. et. al. Reducing acute kidney injury due to contrast material: how nurse can improve patient safety. Critical Care Nurse 2017;37:13-26 .

จำเนียร พัฒนจักร, อรุณศรี แสนเมือง และทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล. ภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจและหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน: เรื่องสำคัญสำหรับพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด . วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2562;16:50-61 .

He Y, Huang Y, Yang J, Lin J, Sun G, Song F, et al. Novel risk model for predicting acute adverse drug reactions following cardiac catheterization from TRUST study (The Safety and Rabiability of Ultravist in Patients Undergoing Cardiac Catheterization). Journal of Thoracic Disease 2019;11:1611-20.

Ni Z, Liang Y, Xie N, Lin J, Sun G, Chen S, et al. Simple pre-procedure risk stratification tool for contrast –induced nephropathy. Journal of Thoracic Disease 2019;11:1597-610.

Rasmussen L, O’Conner M, Shinkle S, Thomas MK, The basic research review check list. The Journal of Continuing Education in Nursing 2000;31:13-7.

JBI Levels of Evidence. Joann Briggs Institute Levels of Evidence and Grades Recommendation working Party October 2013 [Internet]. [cited 2019 May 5]. Available from: https://jbi.global/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of-evidence_2014_0.pdf

Raposeiras-Roubin S, Aguiar-Souto P, Barreiro-Pardal C, Otero DL, Teja JE, Sanchez RO, et al. Grace Risk Score Predicts Contrast Induced Nephropathy in Patient with Acute Coronary Syndrome and Normal Renal Function. Angiology 2012;00:1-9.

Mehran R, Aymong ED, Nikolsky E, Lasic Z, Iakovou I, Fahy M, et al. A Simple Risk Score for Prediction of Contrast-Induced Nephropathy After Percutaneouse C-Inducedoronary Intervention Development-Induced and Initial Validation. Journal of American colleage of Cardiology 2004;44:1393-9.

Ghani AA, Tohamy KY. Risk Score for Contrast Induced Nephropathu following Percitaneouse Coronary Intervention. Saudi Journal of Kidney Disease and Transplantation 2009;20:240-5.

Firouzi A, Alemzadeh-Ansari MJ, Mohammadhadi N, Peighambari MM, Zahedmehr A, Mohebbi B, et al. Association between the risks of contrast induced nephropathy after diagnostic or interventional coronary management and the Transradial and Transfemoral access approaches. J Cardiovas Thorac Res 2020;12:51-5.

Leistner DM, Charlotte M, Julia S, Aslihan E, Mattias R, Catherine G, et al. Impact of acute kidney injury in elderly (≥ 80 years) patients undergoing percutaneous coronary intervention. J Interv Cardiol 2018;31:792-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29