การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับวิสัญญีพยาบาลในการช่วยใส่และถอดท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ที่มาให้การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย

ผู้แต่ง

  • ศรินรา ทองมี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • คำปิ่น แก้วกนก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • อรวรรณ เรืองชาติ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศิริทิพย์ สงวนวงศ์วาน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
  • วิภาพรรณ ชัยเจริญวรรณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก, การใส่ท่อช่วยหายใจ, การถอดท่อช่วยหายใจ , การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย , โควิด-19

บทคัดย่อ

ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทีมวิสัญญีพยาบาลเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19  เนื่องจากการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกายล้วนเกี่ยวข้องกับหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอย เช่น การช่วยหายใจผ่านหน้ากากครอบหน้า การใส่และถอดท่อช่วยหายใจ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับวิสัญญีพยาบาลในการช่วยใส่และถอดท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 ที่มาให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดแบบทั่วร่างกาย ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือวิสัญญีพยาบาลจำนวน 52 ราย และผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 10 ราย ที่มาให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลหลังการนำแนวปฏิบัติฯ ไปใช้ 3) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯ และ 4) แบบทดสอบความรู้วิสัญญีพยาบาลในการระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด19  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ใช้ Wilcoxon matched-pairs signed rank test  ผลการศึกษาพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ที่พัฒนาขึ้นนี้ประกอบด้วย 5 หมวดได้แก่ 1) การเตรียมยาและอุปกรณ์ในการะงับความรู้สึก 2) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ 3) การช่วยวิสัญญีแพทย์ใส่และถอดท่อช่วยหายใจ 4) บทบาทหน้าที่ของวิสัญญีพยาบาลในทีมให้ยาระงับความรู้สึก 5) การส่งต่อผู้ป่วยจากห้องผ่าตัดไปยังหอผู้ป่วยโควิด-19  การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาก ร้อยละ 73.40 วิสัญญีพยาบาลสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ในภาพรวมร้อยละ 100  วิสัญญีพยาบาลมีคะแนนความรู้สูงกว่าก่อนการใช้แนวปฏิบัติพยาบาลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Z = -6.25, p< 0.01) และไม่มีอุบัติการณ์ติดเชื้อโควิด-19 จากการทำงาน

References

เหวินหง จาง. คู่มือเอาตัวรอดจาก Covid-19. แปลโดย รำพัน รักศรีอักษร. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนพับลิชชิ่ง; 2563.

BBC. ไวรัสโคโรนา : ที่มา อาการ การรักษาและการป้องกันโรคโควิด-19 [Internet]. 2020 [cited 2020 May 1]. Available from: https://www.bbc.com/thai/features-51734255

World Health Organization. Q&A on coronaviruses (COVID-19) [Internet]. 2020 [cited 2020 May 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/q-a-detail/q-a-coronaviruses#:~:text=symptoms

Centers for Disease Control and Prevention. Coronavirus Disease 2019(COVID-19) [Internet]. 2020 [cited 2020 May 1]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html

ปัณณวิชญ์ เบญจวลีย์มาศ, มะลิวัลย์ ออฟูวงศ์, ชณัฐี กิจศิริพันธ์, นุสรา ดิลกรัตนพิจิตร, วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, พรรณนิภา ผาคำ. แนวทางปฏิบัติสำหรับการระงับความรู้สึกและการดูแลทางเดินหายใจในผู้ป่วย ที่ติดเชื้อหรือเข้าเกณฑ์การสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาล สงขลานครินทร์. วิสัญญีสาร 2563;46(ฉบับพิเศษ):140-3.

Chen X, Liu Y, Gong Y, Guo X, Zuo M, Li J, et al. Perioperative management of patients Infected with the novel coronavirus: Recommendation from the joint task force of the Chinese society of anesthesiology and the Chinese association of anesthesiologists. Anesthesiology 2020;132:1307-16.

Zucco L, Levy N, Ketchandji, Aziz Mike, Ramachandran SK. Perioperative Considerations for the 2019 Novel Coronavirus (COVID-19) [internet]. 2020 [cited 2020 May 1]. Available from: https://www.apsf.org/news-updates/perioperative-considerations-for-the-2019-novel-coronavirus-covid-19/

Munoz-Price LS, Bowdle A, Johnston BL, Vearman G, Camins BC, Dellinger EP, et al. Infection prevention in the operating room anesthesia work area. Infection Control & Hospital Epidemiology 2019; 40:1–17.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press; 1988.

National Health and Medical Research Council [NHMRC]. Guideline for the Development and Implementation of Clinical Practice Guideline [internet]. 2016 [cited 2021 Feb 1] Available from: https://www.nhmrc.gov.au/research-policy/guideline-development.

The Joanna Briggs Institute. JBI Levels of Evidence [internet]. 2019 [cited 2018 Aug 1]. Available from: https://jbi.global/sites/default/files/2019-05/JBI-Levels-of-evidence_2014_0.pdf

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องมือการประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ สำหรับการวิจัยและการประเมินผล. ม.ป.ท.: 2556.

Liew MF, Siow WT, Yau YW, See KC. Safe patient transport for COVID-19. Crit Care 2020;24:94. doi:10.1186/s13054-020-2828-4.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. ประกาศราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในการระงับความรู้สึก. วิสัญญีสาร 2563;46(ฉบับพิเศษ):113-8.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำแนวทางการใช้อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (Personal Protective Equipment, PPE) ฉบับวันที่ 20 เมษายน 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2565]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ file/g_health_care/g07_ppe_200463.pdf

Patel GP, Collins JS, Sullivan CL, Winters BD, Pustavoitau A, Margulies SS, et al. Management of coronavirus disease 2019 intubation teams. AA Pract 2020;14:1-4. doi: 10.1213/XAA.0000000000001263.

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, อรชร อินทองปาน. การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;25:167-77.

Cook TM, El-Boghdadly K, McGuire B, McNarry AF, Patel A, Higgs A. Guidelines from the difficult airway society, the association of anesthetists the intensive care society, the faculty of intensive care medicine and the royal college of anesthetists. Anesthesia 2020;75:785-99.

Odor PM, Neun M, Bampoe S, Clark M, Heaton D, Hoogenboom EM, et al. Anaesthesia and COVID-19: infection control. British Journal of Anaesthesia 2020;125:16-24.

Ong S, Lim WY , Ong J, Kam P. Anesthesia guidelines for COVID-19 patients: A narrative review and appraisal. Korean J Anesthesiol 2020;73:486-502.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30