ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
อาหารปลอดภัย, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, สารปนเปื้อนในอาหาร, สารเคมีกำจัดแมลงบทคัดย่อ
สิ่งปนเปื้อนมาในอาหารล้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากร่างกายได้รับสารพิษเหล่านี้จากการปนเปื้อนหรือเจือปนในอาหารที่บริโภค จะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จำนวน 70 คน (กลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน) โปรแกรมฯดำเนิน 8 สัปดาห์ ประกอบด้วย การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ และกระบวนการกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1) ความรู้การบริโภคอาหารให้ปลอดภัย 2) การรับรู้ถึงอันตรายของสารปนเปื้อนในอาหารและสารเคมีกำจัดแมลง และ 3) พฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Repeated measure analysis of variance ผลการศึกษาพบว่า 1) หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม แต่พบเฉพาะค่าเฉลี่ยการรับรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองและมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มีประสิทธิภาพในการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัยของผู้บริโภคได้
References
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหารและผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2557.
จิรพรรณ พรหมลิขิตชัย. สารเคมีปนเปื้อนในอาหาร.รายงานสถานการณ์สารเคมีปนเปื้อนในอาหาร ปี 2550 – 2554. นนทบุรี: สำนักงานสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
Beshwari MM, Bener A, Amer A, Mehdi AM, Onda HZ, Pasha MAH. Pesticide-related health problems and diseases among farmers in the United Arab Emirates. Int J Environ Health Res 1999;9:213-21.
สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบคุณภาพงานอาหารปลอดภัยจังหวัด ฉบับปรับปรุง ปี 2563. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร. สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ ปี 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://phiboon.pbhospital.go.th/
Kurt S. Kolb’s Experiential Learning Theory & Learning Styles [Internet]. 2020 [cited 2 2020 Jan 2]. เข้าถึงได้จาก: https://educationaltechnology.net/kolbs-experiential-learning-theory-learning-styles/
ชูศิลป์ เสนาวงศ์. ผลของการใช้กระบวนการอบรมแบบมีส่วนร่วมที่มีต่อความรู้ การปฏิบัติของผู้ประกอบการร้านอาหาร คุณภาพอาหารของร้านอาหาร และความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อร้านอาหาร อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สารคราม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates: Publishers; 1988.
สุนทรี ปลั่งกมล. การพัฒนาแนวทางการลดใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร 2558;10:134-44.
อุไรวรรณ บุตรวัง, รุจิรา ดวงสงค์. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการซื้ออาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน ในผู้ปรุงอาหารประจำครัวเรือน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559;9:26-33.
Kolb DA. Experiential learning: Experience as the source of learning and development [Internet]. 2015 [cited 2020 Dec 23] Available from: https://www.researchgate.net/publication/315793484_Experiential_Learning_Experience_as_the_source_of_Learning_and_Development_Second_Edition.
สายจิตต์ ประโยชน์สิริกุล. ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการพัฒนาคุณภาพแผงลอยจําหน่ายอาหารตามมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในเขตเทศบาลตําบลปทุมรัตต์ อําเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.
สุทธาทิพย์ สมสนุก, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. ประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในท่าอากาศยานดอนเมือง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559;10:141-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง