การเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • สุฬดี กิตติวรเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สาวิตรี สิงหาด คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุเพียร โภคทิพย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลตติยภูมิ

บทคัดย่อ

การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของบุคคลเป็นการเตรียมผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างร่มเย็น ผาสุกและเข้าสู่วัยสูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 340 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  และแบบสอบถามการเตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพโดยใช้สถิติ Chi-square และ Pearson’s correlation 

ผลการวิจัย พบว่า การเตรียมความพร้อมของพยาบาลวิชาชีพโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูง คือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม (gif.latex?\bar{X} = 3.94, S.D. = 0.47) (ด้านเศรษฐกิจ gif.latex?\bar{X}= 3.73, S.D. = 0.58)  ด้านที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง คือ ด้านสุขภาพ (gif.latex?\bar{X}= 3.42, S.D. = 0.41) ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม (gif.latex?\bar{X}= 3.34, S.D. = 0.79) และด้านสังคม (gif.latex?\bar{X} = 3.28, S.D. = 0.65)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้แก่ อายุ (r = 0.75) และรายได้ (c2= 16.247) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น  เพศ  สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาสูงสุด และตำแหน่งปัจจุบัน  พบว่าไม่มีนัยสำคัญทางสถิติกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ ผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนารูปแบบหรือโปรแกรมการส่งเสริมและสนับสนุนการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุของพยาบาลวิชาชีพให้สอดคล้อง และเหมาะสมตามแต่ละกลุ่มวัย

References

United Nations. World population aging [Internet]. 2019 [cited 2021 April 18]. Available from: https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 21 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/th/know/15/926

สุมาวลี จินดาพล. ความคาดหวังในชีวิตหลังเกษียณในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์และเจเนอเรชั่นเอกซ์ในกรุงเทพ มหานครและเชียงใหม่. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;18:21-35.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ. 2561–2580 [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 3 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/download/knowledge/

ปาริชาติ ญาตินิยม, วรรณภา ศรีธัญรัตน์. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพของพยาบาลในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2560;40:50-9.

ชนาภา ชิดชาญชัย, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37:213-20.

ภคภัทร พิชิตกุลธรรม, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, พรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยทำนายการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชาชนในชุมชนเขต อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27:89-99.

สิริพิมพ์ ชูปาน. พยาบาลวิชาชีพ Generation Y: ความท้าทายสำหรับผู้บริหารการพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;28:1-12

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. เติมรู้ เตรียมพร้อมก่อนสูงวัย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

ประสพชัย พสุนนท์. การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ 2557;7:112-20.

Chuan CL. Sample size estimation using Krejcie and Morgan and Cohen statistical power analysis: A comparison. Journal Penyelidikan IPBL 2006;7:78-86.

สมใจ วินิจกุล, นุศ ทิพย์แสนคำ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2559;1:5-15.

Likert RA. Technique for the Measurement of Attitude: Chicago: Rand Mc Nally; 1993.

นลินี ทิพย์วงศ์, ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2560;61:103-15.

ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง, กัลยรัตน์ ศรกล้า, สุรีรัตน์ สืนสันต์, วรนาถ พรหมศวร. การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563;38:53-62.

อุทุมพร วานิชคาม. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2562;25:165-79.

ภาณุวัฒน์ มีชะนะ, ณิชชาภัทร ขันสาคร,ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, เพ็ญศรี พิชัยสนิธ. การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2560;11:259-71.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2564.

จุฑารัตน์ แสงทอง. สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารกึ่งวิชาการ 2560;38: 6-28.

Wiles JL & Jayasinha R. Care for place: The contributions older people make to their communities. Journal of Aging Studies 2013;27:93-101.

ดลนภา ไชยสมบัติ, บัวบาน ยะนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562;29:131-143.

สุรพิเชษฐ์ สุขโชติ, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร. การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2559;10:62-76.

ชนัญญา ปัญจพล. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ส่วนกลาง) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

จิราวรรณ ชาลี. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชากรในเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2563.

ทิพย์ธิดา ณ นคร, สาระ มุขดี การเตรียมตัวเป็นผู้สูงอายุที่มีพฤฒพลังในบริบทสังคมไทย. วารสาร มจร. มนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์ 2561;4:11-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30