ผลของการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหยต่อความวิตกกังวลของผู้ป่วย ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง

ผู้แต่ง

  • จารุณี ลาบานา โรงพยาบาลตำรวจ
  • ปชาณัฏฐ์ นันไทยทวีกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความวิตกกังวล, ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง, การให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหย

บทคัดย่อ

ความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องมีผลต่อการหายของแผลผ่าตัดซึ่งอาจเป็นผลให้ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระดับความวิตกกังวลในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และก่อนกลับบ้าน ระหว่างการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหย  และการพยาบาลปกติ ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง จำนวน 44 คน ถูกจับคู่ด้วย อายุ  เพศ โรคทางระบบย่อยอาหารหรือชนิดการผ่าตัด และสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง  กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหยส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้ข้อมูลร่วมและการใช้น้ำมันหอมระเหยในระยะก่อนผ่าตัดหลังผ่าตัด และก่อนกลับบ้าน 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและความวิตกกังวล และ 3) แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ ในระยะก่อนผ่าตัด (CVI = 1.0, KR20 = .816) ระยะหลังผ่าตัด  (CVI = 1.0) (KR20 = .747) และก่อนกลับบ้าน (CVI = 1.0)  สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ One Way Repeated-Measure ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ก่อนผ่าตัดและก่อนกลับบ้านค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ในระยะหลังผ่าตัด พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (P < 0.05) ดังนั้นโปรแกรมการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหยช่วยส่งเสริมลดค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวล

References

ศิวพร ถือชาติ, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อัฐพร ตระการสง่า. ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้องต่อความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2563;37:78-91.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2562. กลุ่มดิจิทัลสุขภาพ กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2562. หน้า 250.

Wolsted H, Møller AM, Tolstrup MB, Vester-Andersen M. A Description of Deaths Following Emergency Abdominal Surgery. World J Surg 2017;41:3105-10. doi: 10.1007/s00268-017-4109-1.

จุฑารัตน์สว่างชัย, ศรีสุดา งามขำ. ความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;11:1-11.

Sharma B G, Evs M, Ms K, B G. Psychological evaluation of patients in critical care/intensive care unit and patients admitted in wards. J Clin Diagn Res. 2014;8:WC01-WC3. doi:10.7860/JCDR/2014/10293.5297

Bedaso A, Ayalew M. Preoperative anxiety among adult patients undergoing elective surgery: a prospective survey at a general hospital in Ethiopia. Patient Saf Surg 2019;13:18. doi: 10.1186/s13037-019-0198-0.

Leventhal H, Johnson JE. Laboratory and field experimentation: Development of a theory of selfregulation. In: Wooldridge PJ, Schmitt MH, Skipper JK, Leonard RC, editors. Behavioral science and nursing. Theory St. Louis: CV Mosby 1983;189-262.

ศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ประมวลสารสนเทศพรอมใช้น้ำมันหอมระเหยและสุคนธบําบัด [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 20 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://siweb.dss.go.th/repack/fulltext/IR22.pdf

Burns N, Grove S. The practice of nursing research: Conduct, critique and utilization .5th ed. Philadelphia, PA: W.B. Saunders Company; 2005.

Spielberger CD. Manual for the state-trait anxiety inventory. (STAI) form Y:Self-evaluation questionnaire; 1983.

ดาราวรรณ ต๊ะปินตา. การลดความวิตกกังวลของพยาบาลประจำการที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยวิธีปรับเปลี่ยนความคิดร่วมกับการฝึกสติ [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.

Sjostedt L, Hellstrom R, Stomberg MW. Patients' need for information prior to colonic surgery. Gastroenterol Nurs 2011;34:390-7. doi: 10.1097/SGA.0b013e31822c69b4.

Apisarnthanarak A, Siripraparat C, Apisarnthanarak P, Ullman M, Saengaram P, Leeprechanon N, et al. Patients’ anxiety, fear, and panic related to coronavirus disease 2019 (COVID-19) and confidence in hospital infection control policy in outpatient departments: A survey from four Thai hospitals. Infection Control & Hospital Epidemiology. Cambridge University Press 2021;42:1288–90.

วรินทิพย์ สว่างศร. ความชุกของการรับรู้ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยโรคโควิด19 เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2564;29:114-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29