รูปแบบการสอนเพศศึกษาสำหรับเด็กวัยรุ่นไทยและผลลัพธ์: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ณัฐยา ศรีทะแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เกษราภรณ์ เคนบุปผา ศูนย์วิจัยและฝึกอบรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • วิไลวรรณ ปะธิเก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ทรงวุฒิ ภัทรไชยกร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เพศศึกษา, วัยรุ่น, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การสอนเพศศึกษาอย่างถูกต้องจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเพศที่ไม่พึงประสงค์ ประเทศไทยมีวัฒนธรรมการสื่อสารเรื่องเพศจำกัดทำให้การสอนเพศศึกษาถูกละเลย หรือหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นเรื่องเพศ ส่งผลให้เด็กวัยรุ่นได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอ มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสอนเพศศึกษาและผลการสอนเพศศึกษา โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนของสถาบัน Joanna Briggs ปี พ.ศ. 2563 สืบค้นวรรณกรรมผ่านฐานข้อมูล CINAHL  ProQuest  Scopus  ThaiJo  Google Scholar และ Google โดยคำสำคัญที่ใช้ในการสืบค้นงานวิจัย ได้แก่ เพศศึกษา วัยรุ่น เยาวชน และประเทศไทย ทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ระหว่างเดือน มกราคม 2559 ถึง มีนาคม 2564 มีเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนดขึ้นตามรูปแบบ PICO บทความผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน และนำข้อมูลมาสังเคราะห์โดยการหาแก่นสาระ (Thematic analysis) ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสอนเพศศึกษาในประเทศไทย มี 4 รูปแบบ ได้แก่ การพัฒนาทักษะชีวิต การเพิ่มคุณค่าในตนเอง การสร้างความตระหนักทางวัฒนธรรม และการสอนเพศศึกษาโดยประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ทุกรูปแบบการสอนเพศศึกษามุ่งผลไปที่การเพิ่มความรู้เป็นหลัก ทั้งนี้พบว่าเพศศึกษาช่วยเพิ่มความรู้ให้กับวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าการสอนเพศศึกษามีผลต่อทักษะชีวิต คุณค่าในตนเองเรื่องเพศ ทักษะการสื่อสารเรื่องเพศ และพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาเชิงประจักษ์ที่เพียงพอ การสอนเพศศึกษาในประเทศไทยควรมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบการสอน และควรมีการวัดผลการสอนเพศศึกษาในระยะยาวและต่อเนื่อง  นอกจากนี้การสอนเพศศึกษาควรนำหัวข้อเรื่องความเท่าเทียมทางเพศมาบรรจุไว้ในการสอน เพื่อช่วยเสริมสร้างศักยภาพในตนเองเรื่องเพศให้กับวัยรุ่น

References

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161207115138.pdf

UNICEF Thailand. Review of Comprehensive Sexuality Education in Thailand [Internet]. 2016 [cited 2021 Feb 14]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/reports/review-comprehensive-sexuality-education-thailand.

Sritakaew N. Developing a theoretical perspective about Thai pregnant teenagers and their families - a grounded theory nursing study [Dissertation]. Newcastle: The University of Newcastle, Australia; 2017.

Ruanjan S. The situation of sexual risk behaviours of adolescents in pilot area for teenage pregnancy prevention and solving in Uttaradit province. KKU Journal for Public Health Research 2013;6:101-110.

กรรัก ศรีเมือง, อนันต์ มาลารัตน์, พรสุข หุ่นนิรันดร์. สภาพ ปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศแบบพุทธวิธี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2559;16:253-62.

UNESCO Thailand. International academic practice: Using a scientifically backed approach [Internet]. 2019 [cited 2020 Dec 10]. Available from: https://www.unfpa.org/sites/default/files/pub-pdf/368655tha.pdf.

UNICEF Thailand. Adolescent development and adolescent participation: All adolescents should grow up strong and well informed, and their voices must be heard [internet]. 2016 [cited 2021 Jan 6]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/what-we-do/adolescent-development-and-adolescent-participation

The Bureau of Reproductive Health. Reproductive health situation [Internet]. 2019 [cited 2020 Dec 12]. Available from: http://rh.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=86

Thai health promotion foundation. Adolescence and risk of HIV infection [Internet]. 2018 [cited 2020 Sep 4]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/Content/34201-

สํานักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานเฝ้าระวังการแท้งประเทศไทย พ.ศ. 2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 ม.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: : https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/rh/n330_d1a80b22d8a4daa876f459095915af6d_Ebook_Abortion_62.pdf

Aromataris E, Munn Z. "JBI Manual for Evidence Synthesis" [Internet]. 2020 [cited 2020 Jul 5]. Available from: https://synthesismanual.jbi.global

Moher D, Liberati A, Tetzlaff J, Altman DG. Preferred Reporting Items for Systematic Reviews and Meta-Analyses: The PRISMA Statement. PLoS Medicine 2009;6:1-6. https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1000097

Liberati A, Altman DG, Jennifer T, Cynthia M, Pete CG, John PA, et al. The PRISMA statement for reporting systematic reviews and meta-analyses of studies that evaluate healthcare interventions: explanation and elaboration. BMJ 2009; 339:1-27. https://doi.org/10.1136/bmj.b2700.

The Joanna Briggs Institute. CRITICAL APPRAISAL TOOLS [Internet]. 2020 [cited 2020 Sep 18]. Available from: https://joannabriggs.org/critical-appraisal-tools

Landis JR, Koch GG. The measurement of observer agreement for categorical data. Biometrics. 1977;33:159-74. https://doi.org/10.2307/2529310

Kable AK, Pich J, Maslin-Prothero SE. A structured approach to documenting a search strategy for publication: a 12-step guideline for authors. Nurse Education Today 2012;32: 878-886.

Patton MQ. Qualitative evaluation and research methods. 3 editions. Thousand Oaks, CA: Sage Publications Inc; 2002.

เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี, วีรยา จึงสมเจตไพศาล. ผลของการสอนเพศศึกษารอบด้านต่อความรู้และทักษะการสวมถุงยางอนามัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;35:48-60.

นวรัตน์ ธัญญศิริ. ผลการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้โมเดลเลิฟเพื่อสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ 2561;19:67-81.

ปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์, ปิ่นหฤทัย ศุภเมธาพร, ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะของผู้ปครองในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลานวัยรุ่นเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการตั้งครรภ์ไม่พร้อม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2562;35:86-98.

Chokprajakchad M, Phuphaibul R, Sieving RE, Phumonsakul S. Effectiveness of parent participation in a technology-based adolescent sexuality education program: A randomized control trial. Pac Rim Int J Nurs Res Thail 2020; 24:219-33.

จินตนา บรรลือศักดิ์. การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาโดยใช้รูปแบบข้อมูล แรงจูงใจ และทักษะเชิงพฤติกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านการตัดสินใจและการแก้ปัญหาเรื่องเพศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. วารสารครุศาสตร์ 2559;44:33-56.

บุษกร กนแกม, ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตแบบมีส่วนร่วม ต่อความรู้เรื่องเพศศึกษา ทักษะชีวิตและพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นตอนต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2564;8:196-210.

เบญจมาภรณ์ นาคามดี, ภาวิณี จิตตเสถียร, อัญชลี รุ่งฉาย. ผลของโครงการรักอย่างปลอดภัยในวัยเรียนต่อความรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2559;22:7-16.

สุชาดา ปราบมีชัย, สมสมร เรืองวรบูรณ์. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาต่อความรู้เรื่องเพศและความพึงพอใจต่อโปรแกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560;32:263-8.

อนุชา กนกถาวรธรรม, นคร ละลอกน้ำ. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ขั้นตอนการสอนของกาเย่ เรื่อง เพศศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2562; 21:329-41.

ชัชวรรณ จูงกลาง, จินตนา สรายุทธพิทักษ์. ผลการใช้กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เรื่องเพศศึกษา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562;47:175-95.

Montgomery P, Knerr W. Review of the Evidence in Sexuality Education: Report to inform the update of the UNESCO International Technical on Sexuality Education [Internet]. 2018 [cited 2021 Feb 10]. Available from: https://www.gcedclearinghouse.org/sites/default/files/resources/180165eng.pdf

เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. เพศวิถีศึกษาสำหรับวัยรุ่นตอนต้น: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33:67-81.

Monrudee C, Rutja P. Sexual health interventions among early adolescents: an integrative review. Journal of Health Research 2018;32:467-77

Lopez LM, Bernholc A, Chen M, Tolley E. School‐based interventions for improving contraceptive use in adolescents. Cochrane Database Systematic Reviews 2016;6:1-66. https://doi.org/10.1002/14651858.CD012249

Haberland N, Rogow D. Sexuality Education: Emerging Trends in Evidence and Practice. Journal of Adolescent Health 2015;56:515-21.

Villar ME, Concha M. Sexuality education and cultural values: experiences and attitudes of Latina immigrant women. Sex education 2012;12:545-54.

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน: กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารสภาการพยาบาล 2561;33:82-98.

García-Vázquez J, Quintó L, Agulló-Tomás E. Impact of a sexuality education programme in terms of knowledge, attitudes, and sexual behaviour among adolescents in Asturias (Spain). Global Health Promotion 2019;27:122-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17