ผลของรูปแบบการนิเทศทางคลินิกของพรอคเตอร์ ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ต่ออัตราการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยากลุ่มควบคุม ในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • สมสมัย บุญส่อง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • ศนิชา ชาติมนตรี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • อิสริยาภรณ์ แสงสวย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
  • สุเพียร โภคทิพย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศทางคลินิก, พรอคเตอร์, การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ, เชื้อแบคทีเรียดื้อยา

บทคัดย่อ

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาเป็นหัวใจสำคัญในการแก้ปัญหาเรื่องเชื้อดื้อยาพยาบาลวิชาชีพซึ่งมีบทบาทโดยตรง จำเป็นต้องมีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยเพื่อการนี้ สมรรถนะจะสัมพันธ์กับการนิเทศจากหัวหน้าหอผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้การนิเทศทางคลินิกของพรอคเตอร์ ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของหัวหน้าหอผู้ป่วย ก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา 2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพระหว่าง ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา และ 3) เปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อดื้อยากลุ่มควบคุม ระหว่างก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา  กลุ่มตัวอย่าง เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม 19 คน พยาบาลวิชาชีพ 52 คน ที่ปฏิบัติงานในแผนกอายุรกรรม รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้ (CVI = 0.88, KR-20 = 0.75) แบบประเมินสมรรถนะ (CVI = 1.00,  α = 0.94); ผ่านผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และสูตรการเก็บอัตราการติดเชื้อดื้อยากลุ่มควบคุมที่สัมพันธ์กับบริการสุขภาพ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิลคอกซัน และสถิติที ผลการวิจัย หลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหัวหน้าหอผู้ป่วย มีค่าเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนใช้ (gif.latex?\bar{X} = 15.16 และ 12.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) พยาบาลวิชาชีพมีค่ามัธยฐานคะแนนสมรรถนะ สูงกว่าก่อนใช้ (Mdn = 96 และ77.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และ อัตราการติดเชื้อดื้อยากลุ่มควบคุมลดลง (จาก 0.41 เป็น 0.28) จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าควรมีการนำรูปแบบการนิเทศทางคลินิกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาไปใช้เพื่อผลลัพธ์ทางการพยาบาลต่อไป

References

ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาทร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, สุพล ลิมวัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6:352-60.

คณะกรรมการประสานและบูรณาการงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ แผนยุทธศาสตร์ การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 16 ก.ค. 2563] เข้าถึงได้จาก: https://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/AMR/01.pdf

National Antimicrobial Resistance Surveillance Center. 2019 [cited 2019 Sep 9] Available from: http://narst.dmsc.moph.go.th/

Proctor B. Training for the supervision alliance: Attitude, skills and intension. 2001/2010 from: Routledge Handbook of Clinical Supervision, 2011 Fundamental International Themes Routledge; 2016. p. 23-34

Sloan G, Watson H. Clinical supervision models for nursing: structure, research and limitations. Nursing Standard 2002;17:41-6.

Lenburg CB. The framework, concepts and methods of the competency outcomes and performance assessment (COPA) model. Online Journal of Issues in Nursing [Internet]. 1999 [cited 2019 Sep 9];4:1-12. Available from: https://ojin.nursingworld.org/MainMenuCategories/ANAMarketplace/ANAPeriodicals/OJIN/TableofContents/Volume41999/No2Sep1999/COPAModel.html

Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods 2009;41:1149-60.

สมสมัย บุญส่อง, เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, นุสรา ประเสริฐศรี. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในแผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารพยาบาลทหารบก [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2564];22:458-66. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/226319

นุชจรีย์ ชุมพินิจ, สุทธีพร มูลศาสตร์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิก สำหรับหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558;7:77-89.

ผ่องศรี สุวรรณพายัพ, พรทิพย์ สุขอดิศัย, กรรณิการ์ อำพน. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2556;6:12-26.

ถนิตชม เกาะเรียนไชย, จินต์จุฑา รอดพาล, ศรีสุรีย์ สูนยานนท์, สมทรง บุตรชีวัน, อุไรวรรณ สุขสาลี. การพัฒนาระบบการพยาบาลป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 14 พ.ย. 2563];9:113-30. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JPMAT/article/view/217543

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-17