แรงจูงใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, มารดาหลังคลอด, เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนบทคัดย่อ
แรงจูงใจเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยเป็นพลังผลักดันให้มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนประสบความสำเร็จ การศึกษาวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอดคลอดปกติ จำนวน 380 คน ที่มารับบริการที่แผนกหลังคลอด โรงพยาบาลสุรินทร์ ซึ่งได้รับการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแรงจูงใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา ของครอนบาค เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในภาพรวม อยู่ในระดับดี จำนวน 288 คน (ร้อยละ 75.79) เมื่อพิจารณาแรงจูงใจภายใน พบว่า มารดามีความรู้ในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ อยู่ในระดับสูง ( = 13.06, S.D. = 1.84) มีทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.83, S.D. = 0.49) และมีสมรรถนะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับดี (= 13.44, S.D. = 0.87) และแรงจูงใจภายนอก พบว่า มารดามีแรงสนับสนุนจากสามีและครอบครัวและแรงสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับดี ( = 9.79, S.D. = 0.21, = 9.44, S.D. = 0.79 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการเตรียมความพร้อมและเสริมสมรรถนะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างอย่างเดียว 6 เดือน เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา สนับสนุนครอบครัวได้ช่วยเหลือมารดา หลังคลอดในการเลี้ยงลูก และส่งผลให้มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างมีความสุข
References
United Nation Child’s Fund (UNICEF). Breastfeeding: A mother’s gift for every child. New York: n.p; 2018.
Victora CG, Bahl R, Barros Aluísio J D, França GVA, Horton S, Krasevec J, et al. Breastfeeding in The 21st century: epidemiology, mechanisms, and lifelong effect. The Lancet 2016;387:475-90. doi: https://doi.org/10.1016/S0140-6736(15)01024-7
UNICEF. Breastfeeding: A smart investment [Internet]. 2020[Cited 2021 May 24]. Available from: https://sites.unicef.org/breastfeeding/
World Health Organization (WHO). Global nutrition targets 2025: breastfeeding policy brief [Internet]. 2014 [Cited 2021 May 24]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/149022
UNICEF. Based on MICS, DHS and other nationally representative sources. Note: Data included in these global averages are the most recent for each country between 2013-2018 [Internet]. 2018 [Cited 2021 May 24]. Available from: https:// August-iycf-continuum-mdd-mmf-mad-regions3-2018-1%20(6).pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และองค์การยูนิเซฟ. การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559 รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2559.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562: รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย; 2563.
คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลสุรินทร์. สถิตินมแม่. สุรินทร์: ม.ป.ท; 2562.
ทัศนีย์ รวีภควัต. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของมารดาที่มารับบริการในคลินิกนมแม่ ศูนย์อนามัยที่ 13 กรุงเทพฯ. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42:42-8.
Cohen SS, Alexander DD, Krebs NF, Young BE, Cabana MD, Erdmann P, et al. Factors associated with breastfeeding initiation and continuation: A meta-analysis. J Pediatr 2018;203:190-196.e21. doi: org10.1016/j.jpeds.2018.08.008
เจนีวา ทะวา. ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้มารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นที่มารับบริการ แผนกห้องคลอดโรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;1:32-41.
ขนิษฐวรรณ ศุภสิริเพ็ญพงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องของมารดาวัยรุ่น โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี, วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2561;32:853-62.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ และชะบา คำปัญโญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดครรภ์แรก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2561;41:76-87.
Mossman M, Heaman M, Dennis CL, Morris M. The influence of adolescent mothers’ breastfeeding confidence and attitudes on breastfeeding initiation and duration. J Hum Lact 2008;3:268-77
สุภาพันธ์ จันทร์ศิริ, วรรณา พาหุวัฒนกร, และฉวีวรรณ อยู่สำราญ. อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;35:49-60.
สุภางค์พิมพ์ รัตตสัมพันธ์ และเบญจวรรณ แก้วมา. ปัจจัยทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่ทำางานนอกบ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร 2561;38:14-24.
อารีรัตน์ วิเชียรประภา, ขนิษฐา เมฆกมล, กรรณิการ์ แซ่ตั๊ง, เกษณี พรหมอินทร์, สมลักษณ์ ศรีวิรัญ. การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน: กรณีศึกษามารดาหลังคลอด ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561;1:170-184.
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. พระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 43 ก. (ลงวันที่ 5 เมษายน 2562) [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://legal.labour.go.th/images/law/Protection2541/labour_2541_7.PDF
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดระดับกระทรวง กรมอนามัย [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 27 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://www.anamai.moph.go.wh/download/download/102557/strategic_plan/1/3_7.pdf
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134/ตอนที่ 72 ก/หน้า 1/10 กรกฎาคม 2560 [อินเตอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 27 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=814&func=startdown&id=1311
Ryan RM, Deci EL. Self-Determination Theory and the Facilitation of Intrinsic Motivation, Social Development, and Well-Being. American Psychologist 2000;55:68-78. DOI: 10.1037110003-066X.55.1.68
Best JW. Research in Education. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall, Inc.; 1986.
Bloom BS, Madaus GF, Hastings JT. Handbook on formative and summative evaluation of student Learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
ลักขณา ไชยนอก. รายงานการวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2558.
พรพิมล อาภาสสกุล และอุษา วงศ์พินิจ. ผลของการใช้ “ชุดส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่” ต่อความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสตรีหลังคลอด. วารสารพยาบาลทหารบก 2562;20:102-11.
Montaño DE, Kasprzyk D. Theory of reasoned Action, Theory of Planned Behavior, and The integrated Behavioral Model. In Glanz K, Rimer BK, Viswanath K (Eds), Health Behavior and Health Education. 4th edition. San Francisco: Jossey-Bass; 2008. p. 67-95.
ชิดชนก พันธ์ป้อม, วรรณา พาหุวัฒนกร และปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในมารดาที่ทำงานนอกบ้าน. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2563,38:47-59.
สุวรรณา ชนะภัย, นิตยา สินสุกใส, นันทนา ธนาโนวรรณ, วรรณา พาหุวัฒนกร. ความรู้ทัศนคติการรับรู้สมรรถนะในตนเองและการสนับสนุนจากสามีและพยาบาล ในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 สัปดาห์.วารสารพยาบาลศาสตร์ 2557, 32:51-60.
อุษา วงศ์พินิจ, นิตยา สินสุกใส และฉวีวรรณ อยู่สำราญ. ปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม และประสิทธิภาพการดูดนมของทารกก่อนจำหน่าย ในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน ในมารดาที่มีบุตรคนแรก. วารสารพยาบาลทหารบก 2559;17:88-95.
ศศิธารา น่วมภา, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกร, พฤหัส จันทร์ประภาพ. ปัจจัยส่วนบุคคล เวลาที่เริ่มให้นมแม่และการสนับสนุนจากพยาบาล ในการทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายในมารดาหลังผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2556;31:49-59.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในวิทยาลัยพยาบาลฯ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนจะรับผิดชอบของตนเอง