ผลของโปรแกรมการบำบัดด้วยกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองร่วมกับแนวคิดภูมิปัญญาไทยต่อภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ผู้แต่ง

  • ชมัยพร พรรณนาภพ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • สงวน ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • หทัยรัตน์ ดิษฐอั๊ง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • กุณฑ์ชลี เพียรทอง โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • ธวัชชัย พละศักดิ์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

คำสำคัญ:

กลุ่มจิตบำบัดประคับประคอง , ภูมิปัญญาไทย , ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

โรคซึมเศร้าพบได้บ่อยและก่อให้เกิดความสูญเสียปีสุขภาวะและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากร ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องมีการบำบัดเพื่อลดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า การวิจัยใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง (One group pretest – posttest design)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการบำบัดด้วยกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองร่วมกับแนวคิดภูมิปัญญาไทยต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับยาต้านเศร้าซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 14 คน โดยเข้าร่วมโปรแกรมการบำบัดด้วยกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองร่วมกับแนวคิดภูมิปัญญาไทยที่ผู้วิจัยประยุกต์ตามแนวคิดของ Winston  มี 3 ขั้นตอนซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 6 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้  ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการบำบัดด้วยกลุ่ม จิตบำบัดประคับประคองร่วมกับแนวคิดภูมิปัญญาไทย 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม และ 4) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  และสถิติอ้างอิงโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measure ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะซึมเศร้าระหว่างก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และเมื่อติดตามต่อไปอีก 1 เดือนผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าและความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 = 15.50 (S.D. = 1.60), = 2.71 (S.D. = 1.13), = 2.78 (S.D. = 1.25); p < .05 ตามลำดับ โดยระยะติดตาม 1 เดือน เริ่มเพิ่มขึ้น และค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเพิ่มขึ้น = 1.47 (S.D. = 0.27), = 3.48 (S.D. = 0.29), = 3.34 (S.D. = 0.23); p < 0.05 ตามลำดับ สรุปได้ว่า โปรแกรมการบำบัดด้วยกลุ่มจิตบำบัดประคับประคองร่วมกับแนวคิดภูมิปัญญาไทยสามารถลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับยาต้านเศร้าได้  ซึ่งอาจถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดรักษา

References

World Health Organization. The Global Burden of Disease: 2004 update; 2008.

World Health Organization. ICD-10 Version:2010 [Internet]. 2010 [cited 2019 Feb 3] Available from: https://icd.who.int/browse10/2010/en

กรมสุขภาพจิต. การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. วารสาร

สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ละม่อม; 2556.

มาโนช หล่อตระกูล,ปราโมทย์ สุคนิชย์. จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์; 2558.

Moksnes U K, Moljord I EO, Espnes G A, & Byrne D G. The association between stress and emotional states in adolescents: The role of gender and self - esteem. Personality and Individual Differences 2010;49:430-5.

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. อัตราการป่วยทางจิตต่อแสนประชากรประจําปีงบประมาณ 2554 - 2555. นนทบุรี; 2555.

Parker TJ, Page AC, Hooke GR. The influence of individual, group, and relative self - esteem on outcome for patients undergoing group cognitive behavioral therapy treatment. British Journal of Clinical Psychology 2013;52:450-63.

Beck AT. Depression: Clinical experimental and theoretical aspects. New York: Floeber Medical Division; 1967.

Winston A, Rosenthal RN, and Pinsker H. Introduction to Supportive Psychotherapy. American Psychiatric Publishing: Washington, DC; 2004.

Sucaromana A. Resilience Quotient; RQ. Journal of MCU. Peace Studies 2016;4:209-20.

อุดมลักษณ์ ศรีเพ็ง. ผลของจิตบำบัดประคับประคองโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่ออาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าวัยสูงอายุ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวนขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, ณรงค์ มณีทอน, กมลเนตร วรรณเสวก, เกษราภรณ์ เคนบุปผา,จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. การพัฒนาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาภาษาอีสาน. นำเสนอในประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติครั้งที่ 6 ประจำปี 2560; 1-4 สิงหาคม 2550;โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร.นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2550.

Rosenberg M. Society and the adolescent self - image. Princeton, NJ: Princeton University Press; 1965.

ผ่องศรี ศรีมรกต. ผลของการให้คำปรึกษาแบบประคับประคองต่อการรับรู้ภาวะความเจ็บป่วย ระดับความรู้สึกมีคุณค่าแห่งตน และขวัญกำลังใจในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก ที่ได้รับรังสีรักษา (รายงานผลงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2536.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์-มีเดียว; 2550.

Stein DJ, Kupfer DJ, Schatzberg AF. The American Psychiatric Publishing textbook of mood disorders. Washington, DC: American Psychiatric Publishing; 2006.

อุมาพร ตรังคสมบัติ. จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

ไข่มุก ไชยเจริญ, ชนัดดา แบบเกษร,ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและภาวะซึมเศร้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2561;29:1–16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-12