การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ในครอบครัวและชุมชน: บทบาทสำคัญของพยาบาล

ผู้แต่ง

  • กิตติยาพร จันทร์ชม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ญาณี แสงสาย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • บรรเทิง พลสวัสดิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, ผู้ป่วยระยะท้าย, การดูแลแบบประคับประคอง, บทบาทพยาบาล

บทคัดย่อ

กลุ่มผู้สูงอายุที่เสียชีวิตจากการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้น และเป็นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ลดการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาล และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ไม่จำเป็นได้ การสร้างเสริมพลังอำนาจของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง จะเป็นการดึงศักยภาพที่มีอยู่ภายในตนของผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน มาใช้ในการแก้ปัญหา ช่วยเสริมสร้างความสามารถ การมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน สามารถเลือกใช้แหล่งประโยชน์ต่าง ๆ ในการดำเนินกิจกรรมในครอบครัวและชุมชนได้ โดยการวางแผนดูแลล่วงหน้า (Advance care plan) เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการและความปรารถนา  ครั้งสุดท้ายของผู้ป่วย บทความนี้ผู้เขียนรวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง และนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ซึ่งเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาลวิชาชีพในระดับปฐมภูมิที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยและครอบครัว ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการดูแลผู้ป่วยเพื่อบรรเทาความปวด ความทุกข์ทรมาน ตลอดจนการดูแลด้านจิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนของผู้ป่วยและครอบครัว โดยเฉพาะการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ตั้งแต่การค้นหาสภาพการณ์จริงของผู้ป่วยและครอบครัว การดูแลแบบองค์รวมและต่อเนื่อง การให้ข้อมูลสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณ การประสานงาน  การสร้างเครือข่ายในชุมชน การจัดการทรัพยากรจะช่วยให้บุคคลสามารถเข้าถึงแหล่งประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งในส่วนบุคคลและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัวจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  

References

World Health Organization (WHO). Palliative care [Internet]. 1999 [cited 22 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.who.int/news- room/fact-sheets/detail/palliative-care.

ปฐมพร ศิรประภาศิริ. ใน: คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานพิมพ์กิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://fopdev.or.th/

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2559.

ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. การดูแลแบบประคับประคองของประเทศไทย: การมุ่งสู่คุณภาพ. ใน: คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์).นนทบุรี: สำนักงานพิมพ์กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ศูนย์การุณรักษ์. คู่มือมาตรฐานคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง. ขอนแก่น: ศูนย์การุณรักษ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

กิติพล นาควิโรจน์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2559.

ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล และอุกฤษฏ์ มิลิทางกูร. แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต พ.ศ. 2556 - 2559. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2556.

สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. ความต้องการการดูแลในระยะท้ายของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2557;34:71-87.

ผาณิต หลีเจริญ. การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย: สะท้อนคุณค่าของวิชาชีพ. วารสาร มฉก.วิชาการ2557;17:127-38.

จอนผะจง เพ็งจาด. บทบาทพยาบาลในการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2557;30:100-9.

ศูนย์ข้อมูลด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. นิยามปฏิบัติการ (Operational definition) ของคำที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 พ.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/261/T_0003.PDF.

อากาศ พัฒนเรืองไล. List disease of Palliative care and Functional unit. สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ นนทบุรี: อาร์ต ควอลิไฟท์; 2559.

วัฒนา นาวาเจริญ และคณะกรรมการดูแลแบบประคับประคอง. ใน: บุษยมาส ชีวสกุลย, บรรณาธิการ. การดูแลแบบประคับประคอง Palliative care. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์; 2556.

กิตติกร นิลมานัต. การดูแลระยะท้าย The end of life care. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์; 2555.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. นนทบุรี: สำนักงานพิมพ์กิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

นิตย์ ทัศนิยม และสมพนธ์ ทัศนิยม. การสร้างเสริมสุขภาพ: การสร้างพลังอำนาจ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2555.

เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์, ชุติมา มาลัย, สุพรรณี หดิลก. การเสริมสร้างพลังอำนาจ: บทบาทของพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล 2560;44:159-68.

นงนุช เพ็ชรร่วง. การพยาบาลครอบครัว. นครปฐม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

ยุพา จิ๋วพัฒนกุล. การดูแลครอบครัว. ใน: กีรดา ไกรนุวัตร และรัชชนก คชไกร, บรรณาธิการ. การพยาบาลชุมชน (ปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

กุนนที พุ่มสงวน. การสร้างเสริมพลังอำนาจทางสุขภาพ: บทบาทที่สำคัญของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15:86-90.

พัชระกรพจน์ ศรีประสาร, วรธิดา มาศเกษม, และอนงค์ ดิษฐสังข์. การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่บ้าน: ความท้าทายในบทบาทของพยาบาลสาธารณสุข. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2558;29: 98-109.

สรญา แก้วพิทูลย์. เวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน Family Medicine and Community Medicine. นครราชสีมา: สำนักวิชาการแพทย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30