แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประชาชน ในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • พนัชญา ขันติจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ไวยพร พรมวงค์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ชนุกร แก้วมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • อภิรดี เจริญนุกูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การป้องกันโรค

บทคัดย่อ

บุคคลที่มีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ดีจะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคที่เหมาะสม โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อโวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 350 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นมาจากประชากรทั้งหมด 25 อำเภอ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายคือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยู่ในระดับมาก ได้แก่ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 99.43 ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรค อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 97.14 ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 100 และด้านการรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันโรค ร้อยละ 94.86 และอยู่ระดับน้อย คือ ด้านการรับรู้ต่ออุปสรรคในการป้องกันโรค ร้อยละ 40.86 จากผลการวิจัย สามารถใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมให้ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต่อไป

References

Ji W, Wang W, Zhao X, Zai J, Li X. Cross-species transmission of the newly identified coronavirus 2019-nCoV. Journal of medical virology 2020;92:433-40.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. covid-19 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf

Prompetchara E, Ketloy C, Palaga T. Immune responses in COVID-19 and potential vaccines: Lessons learned from SARS and MERS epidemic. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology 2020;38:1-9.

อมร ลีลารัศมี. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 25 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://tmc.or.th/covid19/download/pdf/tmc-covid19-19.pdf

Rosenstock IM, Strecher VJ, Becker MH. Social learning theory and the health belief model. Health education quarterly 1988;15:175-83.

อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์, นพวรรณ เปียซื่อ, พัชรินทร์ นินทจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555;18:58-69.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. ประกาศจำนวนประชากรประจำปี [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 มี.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.thstat/statnew/statMenu/newStat/sumyear.php.

สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี Ubon Ratchathani Provincial Statistical Report. อุบลราชธานี: สำนักงานสถิติจังหวัดอุบลราชธานี; 2560.

อุมาพร ปุญญโสพรรณ, ผจงศิลป์ เพิงมาก และจุฑามาศ ทองตำลึง. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของสตรีวัยทองใน ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2554;16;3:41-60.

Gibson EG, Gage JC, Castle PE, Scarinci IC. Perceived susceptibility to cervical cancer among African American women in the Mississippi Delta: does adherence to screening matter?. Women's Health Issues 2019;29:38-47.

Sukeri S, Zahiruddin WM, Shafei MN, Hamat RA, Osman M, Jamaluddin TZ, Daud AB. Perceived severity and susceptibility towards leptospirosis infection in Malaysia. International journal of environmental research and public health 2020;17:6362.

ฮูดา แวหะยี. การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขต ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2563;6:158-68.

อรอนงค์ โกเมศ สุดศิริ หิรัญชุณหะ และหทัยรัตน์ แสงจันทร์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรงกับการเฝ้าระวังภาวะเลือดออกในสมองตามการรับรู้ของผู้บาดเจ็บศีรษะเล็กน้อยและผู้ดูแล. วารสารสภาการพยาบาล 2555;25:54-63.

วนิดา นาคศิลา สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และยุวดี ลีลัคนาวีระ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสของชาวนาในจังหวัดชัยนาท. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2557;22:61-72.

ณัฐชยา แก้วโภคา. การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชน แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2561;19:47-60.

Wong LP, Alias H, Wong PF, Lee HY, AbuBakar S. The use of the health belief model to assess predictors of intent to receive the COVID-19 vaccine and willingness to pay. Human vaccines & immunotherapeutic 2553;16:2204-14.

เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2564;4:44-58.

จรีรัตน์ สุทธิพัฒนางกูร, รัตน์ศิริ ทาโต. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของบุคลากร มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2560;28:111-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30