ความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการใน โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • มัทนา พรมรักษา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมจิตร เมืองพิล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, ความมั่นคงทางอาหาร, การเข้าถึงอาหาร, ความปลอดภัยของอาหาร

บทคัดย่อ

ปัญหาด้านโภชนาการในระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เป็นปัญหาที่พบมากกว่าหญิงตั้งครรภ์วัยอื่น ๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในระยะตั้งครรภ์ และความต้องการสารอาหารที่มีคุณภาพและปริมาณสูงเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของมารดาและทารกในครรภ์ ขณะที่พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ข้อจำกัดในการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัยของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จะนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางอาหารหรือเกิดภาวะทุพโภชนาการได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่มารับบริการในโรงพยาบาลอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี นับจนถึงวันกำหนดคลอด ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 143 ราย เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามความมั่นคงทางอาหาร ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วยข้อคำถาม จำนวน 33 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ Fisher’s exact Test ผลการวิจัยพบว่า ระดับความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นร้อยละ 79.70 มีความมั่นคงทางอาหารในภาพรวมอยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 49.55 ± 7.22) และปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น พบว่า ช่วงอายุของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ระดับความมั่นคงทางอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  พยาบาลผดุงครรภ์ ควรมีการประเมินติดตาม ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและสนับสนุนช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นตอนต้น ควรมีการศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ

References

World Health Organization [WHO]. Adolescent pregnancy [Internet]. 2020 [cited 2020 Feb 26] Available from: http://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ adolescent-pregnancy.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ เขตสุขภาพที่ 8 รอบที่ 1 ปีงบประมาณ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 ก.พ. 2563] เข้าถึงได้จาก: http://www.rh12.moph.go.th/news/2021-03-17_inspec64/

จิตตระการ ศุกร์ดี, ศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของสตรี ตั้งครรภ์ที่รับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559;1:1-7.

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง, บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, ประกายดาว พรหมประพัฒน์, บรรณาธิการ. คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม; 2558. หน้า 1-15.

Martin JA, Hamilton BE, Osterman MJK, Driscoll AK, Drake P. Births final data for 2016. National Vital Statistics Reports 2016;1:1-55.

สุวิมล ตั้งกิตติถาวร, สุธาดา พุทธรักษ์. ผลลัพธ์จากการตั้งในวัยรุ่น กรณีศึกษาในโรงพยาบาลชลประทาน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557;6:552-8.

ศรุตยา รองเลื่อน. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น: การสำรวจปัญหาและความต้องการ การสนับสนุนในการรักษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศิริราช 2555;1:14-28.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร. ความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก 2559;2:7-11.

รักมณี บุตรชน, ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล, ยศ ตีระวัฒนานนท์. การตั้งครรภ์วัยรุ่นในประเทศไทย ความสัมพันธ์ระหว่างและนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2561;6:1011-22.

ปัทมา พรมมิ, นพวรรณ เปียซื่อ, เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. การจัดการความมั่นคงทางอาหาร ภาวะโภชนาการและภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2559;3:16-30.

ยุพเยาว์ วิศพรรณ์, สมจิต ยาใจ. ผลกระทบด้านสุขภาพด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจจากการตั้งครรภ์ ของแม่วัยรุ่นจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2559;3:1-16.

รัตนาภรณ์ ตามเที่ยงตรง, ศิริวรรณ แสงอินทร์, วรรณี เดียวอิศเรศ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560;1:49-60.

Food and Agriculture Organization of the United Nation. The State of Food Insecurity In The World [Internet]. 2006 [cited 2020 Jan 20] Available from: http://www.fao.org/es/esa/

Grilo SA, Earnshaw VA, Lewis JB, Stasko EC, Magriples U, Tobin J, et al. Food Matters: Food Insecurity among Pregnant Adolescents and Infant Birth Outcomes. Journal of Applied Research on Children [Internet]. 2015 [cited 2020 Jan 20];6:1-14. Available from: https://digitalcommons.library.tmc.edu/childrenatrisk/vol6/iss2/4.

Nguyen PH, Sanghvi T, Tran LM, Afsana K, Mahmud Z, Aktar B, et al. The nutrition and health risks faced by pregnant adolescents: Insights from a cross-sectional study in Bangladesh. PLoS One [Internet]. 2017 [cited 2021 Mar 10];8: e0178878. Available from: https://doi.org/10.1371/journal.pone.0178878.

United States Department of Agriculture. Food security in the United States: Measuring Household Food Security [Internet]. 2000 [cited 2020 Jan 20]. Available from: https://www.ers.usda.gov/topics/food-nutrition-assistance/food-security-in-the-us/

นพวรรณ เปียซื่อ, สุรัตน์ โคมินทร์, สุกัญญา ตันติประสพลาภ, ณัฎฐา สรนันต์ศรี, ศุภร เจริญพานิช. การพัฒนาเครื่องมือคัดกรองความไม่มั่นคงทางอาหาร. จดหมายเหตุทางแพทย์แพทย์สมาคมแห่งประเทศไทย 2560;2:231-7.

สมบูรณ์ บุณยเกียรติ, ผกากรอง จันทร์แย้ม. พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการในสตรีตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์ คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2560;4:270-81.

ฉันท์สุดา พงศ์พันธุ์ผู้ภักดี, รสวันต์ อารีมิตร. การเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายในช่วงวัยหนุ่มสาว. ใน: รสวันต์ อารีมิตร,

สุภิญญา อินอิว, บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์, ศิริไชย หงส์สงวนศรี, สมจิตร์ จารุรัตนศิริกุล, บรรณาธิการ. ตำราเวชศาสตร์วัยรุ่น. นนทบุรี: ภาพพิมพ์; 2559. หน้า 97-113.

เนียรนิภา บุญอ้วน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของสตรีวัยรุ่นตั้งครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2561;2:78-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22